เวลาปวดหัว คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นไมเกรน ซึ่งความจริงแล้วอาจเป็นแค่อาการปวดตึงจากกล้ามเนื้อ แล้วอาการแบบไหนที่เรียกว่าไมเกรน คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้กันค่ะ
อาการปวดไมเกรน จะมีลักษณะของอาการปวดที่รุนแรงมาก ถึงมากจนทนไม่ไหว ปวดแบบไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ต่อได้เลย ส่วนมากจะปวดแบบตุบๆ เพียงด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ นอนพักอาการก็ไม่ดีขึ้น ฯลฯ ไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร
ในทางการแพทย์ไม่พบสาเหตุที่แน่นอนที่ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน แต่จะพบว่าตัวรับรู้ในผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงศีรษะจะไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ และมีผลมาจากปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน เช่น ความเครียด การนอนพักผ่อนไม่พอ ฯลฯ ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน อากาศร้อนหรือแปรปรวน การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม การรับประทานอาหารที่มีสารให้ความหวาน อาหารที่เป็นของหมักดอง ฯลฯ ก็มีส่วนทำให้เกิดไมเกรนได้
สำหรับอาการปวดตึงจากกล้ามเนื้อเกร็งเรื้อรัง มีความต่างจากไมเกรนชัดเจน อาการปวดตึงจะปวดแน่นๆ หนักๆ ทั้งศีรษะมักร่วมกับอาการปวดท้ายทอย คอ บ่า ร้าวเข้ากระบอกตา ร้าวขึ้นศีรษะ ร้าวลงสะบัก และมักร่วมกับการเคลื่อนไหวคอไม่คล่อง บ่าและก้านคอจะหนักๆ ตึงๆ อาการจะเป็นมากเมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อหนัก เช่น ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง หิ้วของหนัก นั่งนานโดยไม่ได้เปลี่ยนท่าทาง อาการจะเบาขึ้นเมื่อนอนพัก อาการปวดตึงส่วนใหญ่จะทำงานหรือกิจกรรมต่อได้ มักเป็นมากช่วงบ่ายๆ เย็นๆ เพราะใช้กล้ามเนื้อมาทั้งวัน
ลักษณะของอาการปวดตึง ส่วนใหญ่มาจากโครงสร้างร่างกายไม่สมดุล พฤติกรรมการใช้ร่างกายที่ผิด เช่น นั่งหลังค่อม คอยื่น ไหล่งุ้มมาก โครงสร้างดังกล่าว จะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตึงเรื้อรัง การปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้สมดุล สร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายก็จะช่วยลดอาการปวดได้
การปวดไมเกรนกับอาการปวดตึงจากกล้ามเนื้อมีความเชื่อมโยงกันจะเห็นได้จาก เมื่อเป็นไมเกรนเรื้อรังมักส่งผลให้กล้ามเนื้อคอบ่า ไหล่ ตึงไปด้วย นานๆ เข้า ส่งผลให้ความรุนแรงของไมเกรนรุนแรงมากขึ้น การคลายกล้ามเนื้อ บริเวณท้ายทอย บ่า และสะบัก จะทำให้ความถี่ และความรุนแรงของการเป็นไมเกรนลดลงได้
การรักษาไมเกรน ส่วนใหญ่จะใช้ยาในการรักษา แต่ก็เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ที่สำคัญคือการดูแลตัวเองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายแบบได้เหงื่อให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยกระตุ้น งดอาหารที่เป็นปัจจัยกระตุ้น หากรู้สึกมีการเกร็งคอ บ่า ไหล่ ควรรักษาหรือคลายกล้ามเนื้อ ปรับท่าทางหรือโครงสร้างร่างกายให้สมดุล เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ที่เป็น เป็นต้น การเป็นไมเกรนมักไม่หายขาด แต่จะพบว่าเมื่อดูแลตัวเองถูกต้องมักทำให้ความถี่ในการเป็นลดลงมาก บางเคสอาจเป็นเพียงปีละ 2-3 ครั้ง จนไม่จำเป็นต้องทานยาแล้ว
สำหรับอากาศที่ร้อนจัด และแปรปรวนอย่างนี้ เป็นตัวกระตุ้นและส่งผลกระทบโดยตรงกับคนที่เป็นไมเกรน ควรหลีกเลี่ยงและเตรียมความพร้อมรับมือกับหน้าร้อนกันด้วยนะคะ..
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ดร. ชานัน ติรณะรัต ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายแพทย์ สกล สุขพรหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว ความสำเร็จของความร่วมมือในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาล "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย" โดยมี นายแพทย์ธิติ
"ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
—
โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...
"Drip & Sip" สร้างกลุ่มผู้รักสุขภาพ ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง VIVID by Verita Health และนิตยสาร Masala
—
วิวิด บาย เวอริตา เฮลธ์ (VIVID by Verita Heal...
นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
—
แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...
เวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทย: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง
—
สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว น...
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ?
—
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...
โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย สคร.12 สงขลา เตือน โดนสัตว์ข่วน-กัด ให้รีบพบแพทย์ แนะ ยึดหลัก 3 ป.
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงข...
ป้องกัน 'แอนแทรกซ์' ระบาด กรมอนามัย แนะ 3 วิธี เลือกซื้อ ปรุงประกอบอาหาร
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน แนะ 3 วิธี ป้องกันการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ...
สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ชวนรู้จักความเชื่อมโยงกับสุขภาพที่คาดไม่ถึง
—
หลายคนมักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดีขึ้น หรือการลดน้ำหนัก แต่อี...
TM แนะนำลูกบอลบริหารกล้ามเนื้อ Massage ball
—
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM โดย ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แนะนำ Massage...