สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ บริษัท โค้ดคิท อินโนเวชั่น จำกัด (Codekit) เปิดตัวแพลตฟอร์ม National Coding Platform ณ คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้าน coding และ Technology รวมถึงพัฒนาศักยภาพ และความรู้ของบุคลากรด้านการศึกษา ทั้งในด้านวิทยาการคำนวณ (Coding), วิชา Internet of Things (IoT) และหลักสูตรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (depa), ดร.จีระพร สังขเวทัย ผู้อำนวยการสาขาเทคโนโลยี สสวท., รศ.ดร. พรฤดี เนติโสภากุล รองคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ หัวหน้าห้องปฏิบัติการพัฒนาระบบอัจฉริยะในทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล, อ.บวรศักดิ์ สกุลเกื้อกูลสุข รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและประธานหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ FIBO สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งนายชวยศ ป้อมคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โค้ดคิท อินโนเวชั่น จำกัด และเสวนาในหัวข้อ "ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้ดีที่สุด ด้วยการต่อยอดระบบ AI อย่างไรให้เข้าไปสู่การเรียนในทุกวิชาที่ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์" พร้อมการจัด Workshop การเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้กับบุคลากรทางการศึกษามากกว่า 100 ราย
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าวถึงภารกิจในการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เติมเต็มกำลังคนดิจิทัลผ่านการ Upskill คนทำงาน เสริมทักษะดิจิทัลให้กับแรงงานทั้งกลุ่มแรงงานสายตรงดิจิทัลและแรงงานทุกสายงานที่ทำงานในระบบเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลง Reskill/ New Skill คนรุ่นใหม่ มุ่งบ่มเพาะทักษะดิจิทัล เติมเต็มกำลังคนดิจิทัล ดึงผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเข้ามาทำงานในประเทศไทย ผ่าน Global Digital Talent Visa
ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล depa กล่าวว่า National Coding Platform เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วย Reskill ด้วยการเสริมทักษะที่เป็นที่ต้องการของโลกอย่างด้านดิจิทัล การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องให้สอดคล้องไปด้วยไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงวิชาคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ควรแทรกซึมในทุกวิชา นอกจากนี้ดีป้ายังสนับสนุนในด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัลผ่านมาตรการต่างๆ ในกลุ่มเทคโนโลยี d-Automation (Robotics Simulation), d-Data (Big data and Analytics Blockchain AI) d-Connectivity (IoT Digital twin Web 3.0), d-Access (Cloud and Edge) การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น HACKaTHAILAND การสนับสนุน Infrastructure สำหรับ coding school รวมถึง Edtech Startups และมาตราการลดหย่อนภาษี 250% สำหรับหลักสูตรด้านดิจิทัล เป็นต้น
นายชวยศ ป้อมคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โค้ดคิท อินโนเวชั่น จำกัด กล่าวว่าทางบริษัท Codekit จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล depa กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีจากกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนักศึกษา สร้างระบบนิเวศด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด
"นักเรียนนักศึกษาของไทยจะโตไปเป็นบุคคลากรด้านเทคโนโลยีที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้นั้น นอกจากหลักสูตรที่ดีแล้ว บุคลากรในวงการการศึกษาก็ต้องได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ อุปกรณ์การเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ Coding ที่มีคุณภาพตั้งแต่ต้น ขอบคุณทาง depa และ อว. ที่ร่วมกันผลักดัน และมอบโอกาสให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศในการเรียนรู้ทางด้าน IT", นายชวยศ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับแพลตฟอร์ม National Coding Platform สถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถเข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งโครงการ Coding for school ซึ่งสามารถนำวิชา Coding ไปสอนร่วมในหลักสูตรของโรงเรียน, โครงการ AI For Future Education ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เทคโนโลยี AI อย่างถูกต้อง, หลักสูตรห้องพิเศษ Advance Placement for TCAS1 หรือหลักสูตรระยะยาว 45 ชั่วโมง เมื่อเด็กเรียนที่เข้าร่วมและสอบผ่านตามเกณฑ์ สามารถเข้าพิจารณาพิเศษรอบ TCAS1 กับมหาวิทยาลัยในโครงการได้ทันที และโครงการ Coding Camp ระยะสั้น 8-16 ชั่วโมง สำหรับนักเรียนที่เตรียมแข่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ https://academy.codekit.co/
โบลท์ (Bolt) แพลตฟอร์มเรียกรถชั้นนำระดับโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สองประการที่ไม่มีมาก่อนในอุตสาหกรรมและประเทศไทย ได้แก่ ผู้ติดต่อฉุกเฉิน (Trusted Contacts) และรหัสรับผู้โดยสาร (Four-Digit Pick-Up Codes) ฟีเจอร์ล่าสุดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านยูโรของโบลท์ ในการพัฒนาเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้ครอบคลุมทั่วทั้งแพลตฟอร์มในช่วงสามปีต่อจากนี้ไป นำเสนอฟีเจอร์ผู้ติดต่อฉุกเฉิน (Trusted Contacts)
เผยภาพแรกภาพยนตร์ "มือปืน" พร้อมจุดชนวนความมันส์! 27 พฤศจิกายนนี้
—
แค่เริ่มก็เตรียมจุดชนวนเดือดกันได้เลย กับภาพแรกของ ภาพยนตร์ "มือปืน" โดยมีนักแสดงอย่าง...
EXIM BANK ขานรับนโยบายรัฐแบ่งเบาภาระภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate เหลือ 6.15% ต่อปี ต่ำที่สุดในระบบ
—
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรม...
Aroma Group เปิดตัวกาแฟแคปซูลใหม่ 8 สูตร มอบประสบการณ์กาแฟพรีเมียมที่บ้าน
—
Aroma Group ผู้นำด้านธุรกิจกาแฟครบวงจรในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกาแฟค...
มาห์เล เตรียมจัดแสดงโซลูชันอี-โมบิลิตี้พร้อมรับอนาคต ที่งานซับคอน ไทยแลนด์ 2025
—
แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนขอ...
MAHLE to showcase future-ready e-mobility solutions at SUBCON Thailand 2025
—
Bionic battery cooling plate enhances battery performance and sustainability...
THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ
—
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมแ...
THANARA: A Microbiome-Based Skincare Innovation Featuring 4P-Biotics Technology by AL-DNA
—
A professor from Chulalongkorn University's Faculty of Science...
ใครกำลังเบื่อฮ่องกงมุมเดิมๆ…ขอแนะนำ 'ไคตั๊ก' ย่านใหม่แกะกล่อง!
—
ย่านเดียวจบครบทุกแลนด์มาร์ก…ถ่ายรูปเช็คอิน กิน เล่น ช็อปฯ สนุกได้ทั้งคนฉายเดี่ยวและไปกับค...