สศท. ชื่นชมไอเดียหัตถกรรมคนรุ่นใหม่ นำเทคนิค Ice Tie Dye ต่อยอดจากภูมิปัญญาการมัดย้อม สร้างสรรค์เป็นงานคราฟต์ร่วมสมัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เฟ้นหาผู้สร้างสรรค์งานคราฟต์รุ่นใหม่ ยกย่องให้เป็น "ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่" (New Young Craft) พร้อมชื่นชมผลงานที่สร้างสรรค์ผืนผ้าให้อิงกับธรรมชาติ พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของการย้อม "คราม" ผสมผสานเทคนิคใหม่ ๆ Ice Tie Dye สร้างเสน่ห์ให้ลายผ้า ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์งานคราฟต์ร่วมสมัย สร้างเอกลักษณ์ให้งานผ้าย้อมคราม สวยงาม มีชีวิตชีวา

สศท. ชื่นชมไอเดียหัตถกรรมคนรุ่นใหม่ นำเทคนิค Ice Tie Dye ต่อยอดจากภูมิปัญญาการมัดย้อม สร้างสรรค์เป็นงานคราฟต์ร่วมสมัย

จากความคิดที่ว่า "ทำอย่างไรให้งานผ้าย้อมครามธรรมชาติ ดูมีชีวิตชีวา และสามารถเอาใจคนรุ่นใหม่ได้" จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ นางสาววนิดา ขุนพรมเกสรา ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่" (New Young Craft) จากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ได้ลองผิดลองถูกนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อจะหาความลงตัวให้กับงานผ้าย้อมคราม ที่เป็นทั้งงานผ้าที่มาจากสีสันของธรรมชาติ แต่งแต้มลวดลายให้ดูสดใสตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้น จึงเกิดเป็นผลงาน "ผ้ามัดย้อมสีครามธรรมชาติ" จากแบรนด์ "ห่มรัก" ที่หนึ่งลวดลาย จะมีเพียงแค่ตัวเดียว

นางสาววนิดา กล่าวว่า เพราะอยากให้งานผ้าย้อมครามมีความสนุก มีชีวิตชีวามากขึ้น จึงได้มีการปรับรูปแบบให้เสื้อผ้าย้อมครามจากแบรนด์ห่มรัก เป็นเสื้อผ้าที่สร้างสรรค์จากสีครามธรรมชาติ และเป็นชุดที่คนวัย 20+ มองแล้วจะรู้สึกชอบ และอยากใส่ จึงได้เรียนรู้ต่อยอดจากองค์ความรู้ในเรื่องการย้อมคราม มาสู่การสร้างสรรค์เป็นผ้ามัดย้อม ที่แต่งแต้มลวดลายให้ดูคล้ายแสงของแมงกะพรุนที่มีความแวววาวในท้องทะเล โดยนำเอาเทคนิค Ice Tie Dye หรือที่เรียกว่าการมัดย้อมผ้าด้วยน้ำแข็งมาใช้ จากนั้นทดลองนำมาใช้กับผ้าหลากหลายชนิด จนพบว่า คุณสมบัติผ้าที่ต่างกัน จะช่วยเร่งสี แสง และเงาบนผืนผ้าแตกต่างกัน ซึ่งในการมัดย้อมด้วยเทคนิคดังกล่าวบนผ้าสปันจะได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า เนื่องจากลวดลายจากการมัดจะเกิดเป็นสีที่มีความชัด ดูมีแสงและเงาของการตัดขอบของลวดลาย มีความชัดเจน ทำให้สีสัน ลวดลายที่อยู่บนผืนผ้าดูมีเสน่ห์ ละมุนตา มีเอกลักษณ์ ผสานการออกแบบดีไซน์เสื้อผ้าให้สอดคล้องกับ Urban Lifestyle เพื่อมุ่งให้ผลงานจากแบรนด์ห่มรัก เป็นงานคราฟต์ที่คนรุ่นใหม่ก็ใส่ได้ หรือคนที่ชอบงานผ้าจากธรรมชาติได้สวมใส่ ก็จะต้องรู้สึกหลงรักเช่นกัน

นอกจากนี้ การทำงานของแบรนด์ห่มรัก ยังเป็นการสร้างสรรค์งานผ้ามัดย้อมที่ทำร่วมกับคนในชุมชน เพราะนอกจากจะส่งต่อคุณค่าของงานคราฟต์แล้ว ก็ยังเป็นการส่งต่อโอกาสให้คนเบื้องหลังของผืนผ้าที่นำมาตัดเย็บ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างเช่น คุณป้าที่ต้องคอยดูแลผู้ป่วยติดเตียง จากที่ขาดรายได้เพราะต้องดูแลคนป่วย ก็กลับได้มีอาชีพ มีรายได้ เพราะเป้าหมายของแบรนด์ห่มรัก คือการส่งความรักไปถึงกันและกันนั่นเอง


ข่าวสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย+สถาบันส่งเสริมวันนี้

SACIT ประกาศเดินหน้าโครงการ SACIT Craft Collection 2025 สร้างความเชื่อมั่นงานคราฟต์ไทยในเวทีโลก

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ (คนกลาง) ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์กรมหาชน) หรือ SACIT เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ SACIT Craft Collection คัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยจากครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปะหัตกรรม สมาชิก สศท. และ New Yong Craft ทั่วประเทศ ให้เป็นแม่แบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่นำเสนอความโดดเด่นของทักษะเชิงช่าง การผสมผสานความดั้งเดิมด้วยความคิดสร้างสรรค์ และบอกเล่าเรื่องราวของความยั่งยืนที่สอดรับกับทิศทางและรูปแบบการใช้งานในชีวิตประจำวัน

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรม...

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหา... "หุ่นกระติบ" งานหัตถกรรมถิ่นอีสาน จากภูมิปัญญาครูหมอลำหุ่นกระบอก — สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกร...