สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ตอกย้ำบทบาท "นักปั้น" ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของช่างหัตถศิลปไทย นำนวัตกรรมงานฝีมือร่วมสมัยจากครูช่างและทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เข้าร่วมจัดแสดงในงาน "London Craft Week 2025" ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ภายในงาน SACIT ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าชมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีผู้เข้าชมนิทรรศการมากกว่า 1,000 รายตลอด 7 วัน ซึ่งไม่เพียงสร้างการรับรู้ในศิลปหัตถกรรมไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี และยังมียอดสั่งซื้อล่วงหน้าอีกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้รับความสนใจจากนักออกแบบชั้นนำ กลุ่มผู้ค้าปลีก และผู้จัดจำหน่ายจากนานาประเทศ
ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า การเข้าร่วมงาน "London Craft Week 2025" นับเป็นอีกก้าวสำคัญ SACIT มีความภาคภูมิใจที่ได้ดำเนินบทบาทตามนโยบายขององค์กรในการ "สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม" งานหัตถกรรมไทย โดยการนำเอาอัตลักษณ์ความเป็นไทยร่วมแสดงในนิทรรศการ "Chud Thai Through the Ages: Weaving History, Craft, and Identity" ซึ่งได้จัดแสดงฉลองพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา อันได้แก่ ฉลองพระองค์ชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบ ฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยร่วมสมัย และชุดผ้าไทยที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชั้นนำของประเทศไทย ที่สะท้อนความประณีตของผ้าไทยที่มีหลากหลายชนิด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้ายก ผ้าแพรวา ผ้าใยกัญชง เป็นต้น
"นิทรรศการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ "London Craft Week 2025" จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานหลายภาคส่วน อาทิ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ แกลเลอรีร่วมสมัย ตลอดจนกลุ่มดีไซเนอร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานออกแบบงานคราฟต์กว่า 1,000 รายจากทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานสอดคล้องกับ SACIT ที่มีบทบาทเป็นนักปั้น และส่งเสริมผู้สร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมไทย พร้อมกันนี้เนื่องในวาระเฉลิมฉลอง 170 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหราชอาณาจักร SACIT ยังได้คัดสรรนำเอาผลงานของครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย ร่วมจัดแสดงในบริเวณพื้นที่นิทรรศการ"
ภายในงาน SACIT ได้นำนวัตกรรมงานฝีมือร่วมสมัยจากครูช่างและทายาทช่างศิลปหัตถกรรมไทย อาทิ เครื่องเบญจรงค์ร่วมสมัย และงานจักสานย่านลิเภาดีไซน์หรู ร่วมจัดแสดงและสาธิตภายในนิทรรศการ
ครูพนิดา แต้มจันทร์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 ด้านงานเบญจรงค์ ของ SACIT เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี ได้รับการสนับสนุนจาก SACIT โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมองค์ความรู้งานหัตถศิลป์ผ่านโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพครูช่าง ทำให้มีโอกาสต่อยอดทักษะความรู้เชิงวิชาการ เทคนิคพิเศษในเชิงปฏิบัติ ตลอดจนการปรับภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์งานคราฟต์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบจาก "ศ.หลังสวนเบญจรงค์" สู่การปั้นแบรนด์ "Hearterpiece" ที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์งานเบญจรงค์ที่มีดีไซน์ร่วมสมัย สอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คน และสามารถใช้งานได้จริง อาทิ ชุด Afternoon Tea ของตกแต่งบ้านชิ้นเล็ก ตลอดจนจาน-ชาม หรือ Dinner Set สำหรับการจัดโต๊ะอาหารสไตล์ตะวันตก เป็นการสะท้อนอารยธรรมความเป็นไทยผ่านเสน่ห์ของงานหัตถศิลปอันทรงคุณค่าสากล
SACIT ยังให้การสนับสนุนด้านโอกาส และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานเบญจรงค์ผ่านช่องทาง SACIT Shop รวมถึงส่งเสริมโอกาสในการออกร้านงานแฟร์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้ปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติ อาทิประเทศ ญี่ปุ่น จีน และ เกาหลีใต้ เป็นต้น
อีกหนึ่งผลงานอันโดดเด่น ที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้คือผลงานของ นางสาวนภารัตน์ ทองเสภี ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทรุ่นที่ 3 ของ SACIT ของงานจักสานย่านลิเภา จากตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช รังสรรค์ผลงานหัตถกรรมจักสานย่านลิเภาในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย เป็นทั้งเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มีความประณีต ละเมียดละไม สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์
นางสาวนภารัตน์ เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้รับการคัดเลือกจาก SACIT ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนคนไทย ที่ได้นำเอาผลงานหัตถศิลปถ่ายทอดสู่สายตาชาวต่างชาติ ในงาน "London Craft Week 2025" เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ผลงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มงานจักสานย่านลิเภา ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงโดดเด่นของภาคใต้ โดย "ลิเภา" เป็นพืชไม้เลื้อยตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว แข็งแรงและยืดหยุ่น เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นวัสดุหลักในการทำเครื่องจักสานซึ่งได้พัฒนารูปแบบงานจากกระเป๋าจักสานย่านลิเภาแบบโบราณ สู่งานร่วมสมัยและดีไซน์การออกแบบที่ให้ความหรูหรา เพิ่มมูลค่าวัสดุธรรมชาติด้วย "เครื่องถมเมืองนคร" สีทองอร่าม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวภายใต้แบรนด์ "Lipao Handicraft NAPARAT"
นางสาวนภารัตน์ ได้ศึกษาทักษะองค์ความรู้จาก SACIT ผ่านโครงการฝึกอบรมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อต่อยอดรูปแบบของการสร้างสรรค์ผลงานจากย่านลิเภาแตกแขนงเป็นกลุ่มสินค้าหมวดไลฟ์สไตล์ประเภทอื่น ๆ ให้ยังสามารถคงอยู่คู่วิถีชีวิตของผู้บริโภคในยุคใหม่ และมีความเป็นสากลยิ่งขึ้น อาทิ กระเป๋าย่านลิเภา เครื่องประดับ และภาชนะสำหรับใช้บนโต๊ะอาหาร กระเช้าผลไม้ รวมถึงกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้าน เป็นต้น
"การเข้าร่วมในครั้งนี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อผลักดัน ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ผ่านงานศิลปหัตถกรรม พร้อมเชิดชูบทบาท SACIT ในฐานะ "นักปั้น" ผู้สร้างและส่งเสริมช่างฝีมือไทยสู่เวทีนานาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจฐานราก สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยไม่ให้สูญหาย โดย SACIT ได้เชิดชูเกียรติผู้สร้างสรรค์และสืบทอดงานหัตกรรมไทยตั้งแต่ระดับครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทศิลปหัตถกรรม และคนรุ่นใหม่ ซึ่ง SACIT ยังมุ่งเน้นการส่งเสริม ผลักดันโอกาสการเพิ่มพูนมูลค่าของตลาดงานคราฟต์ไทยให้เติบโตทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งนี้การเข้าร่วม "London Craft Week 2025" ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงพลังซอฟต์พาวเวอร์ของไทย แต่ยังสะท้อนศักยภาพของ "คน" ซึ่งก็คือครูช่างและทายาทผู้สืบทอดภูมิปัญญา ที่สามารถเปลี่ยนงานฝีมือดั้งเดิมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยที่ตลาดโลกยอมรับได้อย่างภาคภูมิ " ผศ.ดร.อนุชา กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข้อมูลข่าวสารของสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ได้ที่เว็บไซต์ https://sacit.or.th/th เฟซบุ๊กออฟฟิเชียล SACIT https://www.facebook.com/sacitofficial หรืออัปเดตกิจกรรมงานคราฟต์ต่าง ๆ ได้ทาง TikTok SACIT Official https://www.tiktok.com/@sacit_official
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ยกย่องเชิดชู นายพงศธร เจียรศิริ เป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2567 ประเภทเครื่องโลหะ ผู้สืบสานและส่งต่อมรดก ทางภูมิปัญญาในงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า "งานคร่ำ งานถม" ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีความร่วมสมัย แต่ยังเติมเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความงดงาม และเสน่ห์แห่งงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า นายพงศธร เจียรศิริ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2567 กล่าวว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวของช่างหัตถศิลป์ที่ทำงานงานคร่ำ งานถม ซึ่งได้แก่ ครูอุทัย
สานต่อคุณค่างานหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ “มละบริ” สู่งานคราฟต์เอาใจคนรักธรรมชาติ
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. สืบสานและส่งต่อภูมิ...
SACIT Universal Craft Market เชิญชวนผู้จัดจำหน่ายเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน...
SACIT Universal Craft Market เชิญชวนผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค...
SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่านักออกแบบร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ได้ดำเนินการจั...
SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่าผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ไ...
"SACIT" เสริมจุดแข็งงานศิลปหัตถกรรมไทยโกอินเตอร์ ชูโครงการสำคัญ เชื่อมโยงตลาด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตั้งเป้าสร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ
—
สถาบันส่งเสริม...
สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรม...