ดีอี – ดีป้า ลุยขอนแก่น หนุนอินฟลูฯ อีสาน อัปสกิลดิจิทัลปั้นซอฟต์พาวเวอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กระทรวงดีอี และ ดีป้า จัดกิจกรรม Digital Content-Driven E-Commerce Workshop ในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เร่งเครื่องอัปสกิลดิจิทัล ปั้นอินฟลูเอนเซอร์สร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ ผลักดันและสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าและบริการชุมชน ชูจุดเด่นภาคอีสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทย เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทยใช้อีคอมเมิร์ซเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

ดีอี – ดีป้า ลุยขอนแก่น หนุนอินฟลูฯ อีสาน อัปสกิลดิจิทัลปั้นซอฟต์พาวเวอร์

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมด้วย นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และ ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เยี่ยมชมกิจกรรม Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการ CONNEXION ส่งเสริมการยกระดับองค์ความรู้และชุดทักษะใหม่ด้านดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมร่วมพูดคุยกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึง คุณเบลล์ หรือ นายพิชิตชัย โพธิ์ศิริ และกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ด้านการตลาดและการเพิ่มยอดขายบน TikTok ร่วมให้ความรู้แบบเจาะลึก ดีอี – ดีป้า ลุยขอนแก่น หนุนอินฟลูฯ อีสาน อัปสกิลดิจิทัลปั้นซอฟต์พาวเวอร์

นายประเสริฐ กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า คือการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติของการยกระดับสู่อาชีพใหม่ เช่น ดิจิทัลอินฟลูเอนเซอร์ และ ดิจิทัลคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยหนึ่งในมิติของการส่งเสริมคือ การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการไทยให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพี่อเพิ่มศักยภาพการสร้างยอดขาย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน ตลอดจนการเรียนรู้การใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยในการวิเคราะห์ทิศทางและกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเหมาะสม สอดรับกับแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศของกระทรวง

“จากการหารือร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ สินค้าและบริการของพี่น้องภาคอีสานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทยได้เลย และเป็นจุดแข็งของที่นี่ แต่ในมุมของผู้ประกอบการท้องถิ่นได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาหลายด้าน ทั้งการเข้าถึงตลาดออนไลน์ที่ยังไม่กว้างขวางเพียงพอและการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้บริโภค นอกจากนี้ การปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์และระบบดิจิทัลก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคใหญ่ ผู้ประกอบการท้องถิ่นหลายรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัล เพื่อการเพิ่มยอดขายและการวางแผนทางการตลาด” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

ด้าน ดร.ชินาวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรม Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการ CONNEXION มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในท้องถิ่นต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่สนใจทำธุรกิจ โดยส่งเสริมให้เกิดการยกระดับทักษะ สร้างความเข้าใจการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ เช่น เทคนิคการถ่ายภาพสินค้า การสร้าง Storytelling การ Live ขายสินค้า การเปิดร้านค้าใน Social Commerce อย่าง TikTok และ Facebook เพื่อผลักดันสินค้าและบริการท้องถิ่นสู่ตลาดโลก การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์ม eTailligence รวมถึงเป็นการสร้าง Micro Influencer หน้าใหม่ให้กับท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ เพิ่มยอดขายสินค้าและบริการของชุมชน

สำหรับกิจกรรม Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องใน 5 ภูมิภาค โดยดำเนินการไปแล้ว 4 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะปิดท้ายที่ภาคกลาง โดยผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมกิจกรรม Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ ได้ที่ Facebook Page: depa Thailand และ LINE OA: depaThailand


ข่าวกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม+กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจวันนี้

NT นำคลาวด์หนุนแพลตฟอร์มกันลวง ร่วมลงนาม MOU DE-fence ระหว่างกระทรวงดีอีและหน่วยงานพันธมิตรพร้อมเปิดใช้งาน 1 พฤษภาคมนี้

ดร.ณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงสนับสนุนโครงการ "DE-fence platform" หรือแพลตฟอร์มกันลวงเพื่อป้องกัน "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" โทรหรือส่ง SMS หลอกลวงประชาชน ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล... สคส. จับมือ Meta เปิดตัว DPA Casework Channel ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล — สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ผนึกกำลัง Met...

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงค... นายกฯ แพทองธาร เผย ODOS Summer Camp พร้อมเปิดรับสมัคร 24 มี.ค.นี้ — นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ ODOS Summer Camp โ...

(วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จ... 7 กระทรวง ร่วมลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ — (วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมน...

นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Produ... กรุงไทย รับมอบโล่เชิดชูเกียรติ "องค์กรต้นแบบ" ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล — นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Product & Business Solutions ธนาคารกรุง...