เมื่อความวิตกกังวล ความกลัว กลายเป็นโรคแพนิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ชีวิตที่เคยสงบสุข อาจต้องสะดุดเพราะ "โรคแพนิค" เป็นโรคที่ทำให้คุณรู้สึกกลัวและวิตกกังวลอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันนายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคแพนิค (Panic Disorder) มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลและความเครียดที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการตื่นตระหนกอย่างฉับพลันโดยบางครั้งไม่มีสาเหตุมากระตุ้นชัดเจน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่ออาการของโรคแพนิคมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีอาการอยู่นาน 1 - 10 นาที บางรายอาจมีอาการนาน 30 นาที - 1 ชั่วโมง หากมีอาการซ้ำภายในสัปดาห์หลายครั้ง ควรรีบมาพบจิตแพทย์ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

เมื่อความวิตกกังวล ความกลัว กลายเป็นโรคแพนิค
  • หัวใจเต้นแรง
  • เหงื่อออกมาก
  • ตัวสั่น
  • หายใจไม่ออก หรือมีอาการคล้ายขาดอากาศหายใจ
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ หรือท้องเสีย
  • เวียนศีรษะ หรือรู้สึกอ่อนแรง
  • ผิวหนังเย็น หรือร้อนวาบ
  • รู้สึกชาหรือร่างกายไม่ค่อยรับความรู้สึก
  • กลัวการสูญเสียการควบคุม หรือกลัวตาย

สาเหตุของโรคแพนิคอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง, มีคนในครอบครัวเป็นแพนิค, ประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีต, ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงหรือกระทบต่อจิตใจอย่างหนัก, และเจอเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง การรักษาโรคแพนิคสามารถทำได้หลายวิธี โดยจิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น

  1. การใช้ยา: ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิคมักจะเป็นยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และยาคลายความวิตกกังวล (Anxiolytics) ยาเหล่านี้ช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับความกลัวและความวิตกกังวล
  2. การบำบัดทางจิตวิทยา: การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความกลัวและอาการที่เกิดขึ้น และเรียนรู้วิธีการจัดการกับอาการเหล่านั้น
  3. การฝึกหายใจและการผ่อนคลาย: การฝึกหายใจลึกๆ และการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดอาการตื่นตระหนกและทำให้รู้สึกสงบลงได้
  4. การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับเพียงพอ และการหลีกเลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการแพนิคได้

อย่างไรก็ตาม โรคแพนิคถึงแม้จะไม่ได้อันตรายต่อชีวิต แต่อาจส่งผลกระทบชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะฉะนั้นหากมีอาการเข้าข่ายควรรีบมาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health


ข่าวโรงพยาบาล+จิตแพทย์วันนี้

สุขภาพดีเริ่มต้นที่การป้องกัน! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี สำหรับผู้ประกันตนโรงพยาบาลหัวเฉียว อายุ 50 ปีขึ้นไป

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดความรุนแรงลดอัตราการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกันตนโรงพยาบาลหัวเฉียว มาตรา 33 และ 39 ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (เกิดก่อน พ.ศ. 2518)เข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เข้ารับบริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 31 สิงหาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08:00 15:00 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกประกันสังคม โทร. 0-2223-1351 ต่อ

ครบรอบ 87 ปี โรงพยาบาลหัวเฉียว มอบสุขภาพด... ฉลองครบรอบ 87 ปี มอบสุขภาพดีด้วย.. ชุดตรวจสุขภาพและวัคซีนป้องกันโรค — ครบรอบ 87 ปี โรงพยาบาลหัวเฉียว มอบสุขภาพดีด้วยชุดตรวจสุขภาพ และแพ็กเกจวัคซีนป้องกันโ...

บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)... SiS ใส่ใจสุขภาพพนักงาน จัดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี 2568 — บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SiS เดินหน้านโยบายดูแลสุข...

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Hea... รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร — โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคั...

โครงการธรรมโอสถ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดบรรย... โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง "ทำงานอย่างไรให้มีความสุข" — โครงการธรรมโอสถ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดบรรยายธรรมะเรื่อง "ทำงานอย่างไรให...

โครงการธรรมโอสถ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดบรรย... โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง "ทำงานอย่างไรให้มีความสุข" — โครงการธรรมโอสถ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดบรรยายธรรมะเรื่อง "ทำงานอย่างไรให...

โรงพยาบาลธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิ... รพ.ธนบุรี ปลื้ม! ผ่านการรับรองมาตรฐาน HA ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 — โรงพยาบาลธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...

ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ หากตามีอาการมัว... อาการดวงตาที่เป็นสัญญาณเตือน..ต้องรีบมาพบแพทย์ — ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ หากตามีอาการมัวในมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือมองเห็นเป็นภาพเบลอ แม้มีอาการเพียง...