เตือนนาข้าวนอกพื้นที่น้ำท่วม เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าว ที่อาจเข้าทำลายนาข้าวจนได้รับความเสียหาย แม้ว่าขณะนี้หลายพื้นที่การเกษตรกำลังเผชิญกับผลกระทบจากอุทกภัย แต่ยังคงมีบางพื้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตประสบภัยพิบัติ เนื่องจากประเทศไทยเคยเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของแมลงดำหนามข้าวในปี 2565 จึงได้เฝ้าระวังและย้ำเตือนให้เกษตรกรติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้เป็นระยะใกล้เก็บเกี่ยวข้าวตามฤดูกาล "ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ" ซึ่งเป็นช่วงท้ายของการปลูกข้าวนาปี ขณะนี้เริ่มสำรวจพบแมลงดำหนามข้าวแล้ว แต่ยังไม่รุนแรงในระดับการระบาด ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดไม่ให้เกิดการระบาดรุนแรง ลักษณะการทำลาย แมลงดำหนามข้าว เป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ตัวหนอนมีลักษณะลำตัวแบนสีขาว ส่วนตัวเต็มวัยมีสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวได้ประมาณ 50 ฟอง โดยตัวเต็มวัยจะกัดกินและแทะผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เป็นรอยขูดเป็นทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ส่วนตัวหนอนจะชอนใบข้าวเห็นเป็นรอยแผ่นสีขุ่นมัวขนานกับเส้นใบ นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรง ใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาลเหมือนถูกไฟไหม้

เตือนนาข้าวนอกพื้นที่น้ำท่วม เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าว

การป้องกันกำจัด นอกจากจะต้องหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ควรกำจัดวัชพืชรอบแปลงนา ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เมื่อเริ่มพบแมลงดำหนามข้าว พ่นเชื้อราเมตตาไรเซียม อัตรา 250 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง และพ่นให้เชื้อราสัมผัสกับตัวแมลงมากที่สุด โดยพ่นทุก 3 - 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก โดยใช้สารเคมีกลุ่ม 2B ได้แก่ ฟิโพรนิล หรือสารเคมีกลุ่ม 4A เช่น ไทอะมีทอกแชม อิมิดาโคลพริด โคลไทอะนิดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน เตือนนาข้าวนอกพื้นที่น้ำท่วม เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าว


ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร+กรมส่งเสริมวันนี้

กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าเตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรตามความเปราะบางของแต่ละพื้นที่ เสริมแผน 4 ระยะ ลดผลกระทบเกษตรกร

ประเทศไทยมีพื้นที่เขตเกษตรกรรมประมาณ 153.18 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 48 ของพื้นที่ประเทศ รองรับเกษตรกรกว่า 5.8 ล้านครัวเรือน เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารสำคัญภายในประเทศ และสำหรับการส่งออก สร้างความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของประเทศ รวมถึงลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) ทำให้พื้นที่เกษตรในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ส่งผลให้เกษตรกรต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบทางการผลิตที่อาจเกิดขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

กรมส่งเสริมการเกษตร ลงนามบันทึกความเข้าใจ... เกษตรฯ ผนึกกำลังรัฐ-เอกชน ยกระดับกาแฟไทย ดันรายได้เกษตรกรโตอย่างยั่งยืน — กรมส่งเสริมการเกษตร ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่...

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปล... เตือนชาวนาระวังหนอนกอข้าวระยะแตกกอ — กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังหนอนกอข้าว แมลงศัตรูข้าวระยะแตกกอ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าว...

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือภาคีเครือข่ายเร... เกษตรฯ ส่งมอบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านโรคใบด่างฯ หนุนเกษตรกรผลิตได้มั่นใจมากขึ้น — กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือภาคีเครือข่ายเร่งส่งมอบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพ...

นายพีรพันธ์ คอทองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษต... เกษตรฯ เผยแนวทางจัดการน้ำท่วมภาคเกษตรไทย 4 ระยะ — นายพีรพันธ์ คอทองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปี 2568 ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อวันที่ 15 ...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... 3 ปี ผลสำเร็จแปลงใหญ่ทุเรียนหนองโสน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วรวมกว่า 23.79 ล้านบาท — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กร...