"แจกเงินหมื่น" ชาวเน็ตเสียงแตก กระตุ้นเศรษฐกิจหรือแค่ยาชา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โครงการแจกเงิน 10,000 บาท ให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจาก "ดิจิทัล วอลเล็ต" ได้ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงในสังคมออนไลน์ มีทั้งฝ่ายที่มองว่าเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและยกระดับคุณภาพชีวิต ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่าเป็นเพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นไม่ยั่งยืนพร้อมทั้งกังวลถึงผลกระทบระยะยาว โซเชียลมีเดียกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างคึกคัก สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจอย่างมากของผู้คนที่มีต่อนโยบายนี้

"แจกเงินหมื่น" ชาวเน็ตเสียงแตก กระตุ้นเศรษฐกิจหรือแค่ยาชา

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ในช่วงวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม 2567 ถึงประเด็นเกี่ยวกับ "โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้พิการ" พบว่ามีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างคึกคักในโลกออนไลน์ โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ทั้งการวิจารณ์ตัวนโยบาย และการแบ่งปันไอเดียการใช้เงินที่ได้รับว่าจะนำเงินไปใช้จ่ายกับอะไรบ้าง? สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างของประชาชนที่มีต่อมาตรการนี้ "แจกเงินหมื่น" ชาวเน็ตเสียงแตก กระตุ้นเศรษฐกิจหรือแค่ยาชา

ส่องไอเดียโซเชียลใช้ "เงินหมื่น" ไปกับอะไร ? "แจกเงินหมื่น" ชาวเน็ตเสียงแตก กระตุ้นเศรษฐกิจหรือแค่ยาชา

จากข้อมูลที่รวบรวมได้ในโซเชียลมีเดีย พบว่าประชาชนส่วนใหญ่วางแผนจะนำเงินไปใช้จ่ายค่อนข้างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะนำเงินไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด รองลงมาคือนำเงินที่ได้รับไปชำระหนี้ การต่อยอดลงทุนโดยเฉพาะการซื้ออุปกรณ์ที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม และอื่น ๆ โดยสามารถแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายได้ดังนี้: 

  1. สินค้าอุปโภคบริโภค: 47.8%
    1. อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในครัวเรือน ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องปรุง
    1. สินค้าเพื่อการเกษตร (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์การเกษตร พันธุ์พืช สัตว์เลี้ยง)
    1. เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    1. เสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย
  2. ชำระหนี้สิน: 17.4%
    1. ใช้หนี้ จ่ายหนี้ ชำระหนี้ต่างๆ
  3. ลงทุน: 9.6%
    1. ซื้อทอง เก็บเงิน ลงทุนในอุปกรณ์ทำมาหากิน ซื้อสลากออมสิน
  4. เงินสำหรับการรักษาและซ่อมบำรุง: 8.7%
    1. ค่ารักษาพยาบาล ยา อุปกรณ์การแพทย์ ทำฟัน
    1. วัสดุซ่อมแซมบ้าน
  5. อื่นๆ: 16.5%
    1. ชำระค่าสาธารณูปโภค
    1. ทำบุญ/บริจาค
    1. ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา

ชาวโซเชียลคิดเห็นอย่างไร ? กับนโยบายแจกเงินหมื่น

ความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายนี้มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังและข้อกังวลที่มีต่อผลกระทบในระยะยาว โดยสามารถแบ่งความคิดเห็นออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย: 51.8%

  • กังวลเรื่องภาระหนี้สาธารณะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลัง เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและภาระทางการคลังแก่คนรุ่นต่อไป
  • มองว่าการคัดกรองผู้ได้รับสิทธิ์ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนที่ไม่ได้เดือดร้อนจริงได้รับเงิน ในขณะที่คนที่เดือดร้อนไม่ได้รับ สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมและความล้มเหลวในการบริหารจัดการข้อมูล
  • เห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน และอาจสร้างวัฒนธรรมการพึ่งพารัฐบาลมากเกินไป ทำให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองและพึ่งพาตนเอง
  • วิพากษ์วิจารณ์การใช้จ่ายเงินอย่างไม่เหมาะสมของผู้ได้รับ เช่น เล่นการพนัน ซื้อของฟุ่มเฟือย
  • ต้องการให้นำงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือการลงทุนระยะยาวแทน เนื่องจากมองว่ามีความยั่งยืนต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า

กลุ่มที่เห็นด้วยกับนโยบาย: 33.2%

  • มองว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริง ๆ เพราะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อยและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้
  • เห็นว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและร้านค้าท้องถิ่นได้รับประโยชน์ 
  • เชื่อว่าเป็นการคืนภาษีให้ประชาชน และรัฐบาลมีความตั้งใจดีในการช่วยเหลือประชาชน แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของประชาชน
  • มองว่าการให้เป็นเงินสดดีกว่า เพราะประชาชนสามารถนำไปใช้ได้ตามความจำเป็น ให้อิสระในการบริหารจัดการเงินตามสถานการณ์ของแต่ละครอบครัว
  • สนับสนุนให้มีนโยบายแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ตรงจุดและเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

กลุ่มที่เป็นกลาง: 15.0%

  • เข้าใจความจำเป็นในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อน แต่เสนอให้มีการปรับปรุงระบบการคัดกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือถึงมือผู้ที่ต้องการจริงๆ และลดความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร
  • มองว่าควรมีการติดตามและประเมินผลนโยบายอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาทั้งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อเศรษฐกิจและสังคม
  • เสนอให้มีมาตรการควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย เช่น การกำหนดประเภทสินค้าและบริการที่สามารถใช้จ่ายได้ หรือการให้เป็นเครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นเท่านั้น
  • แนะนำให้พิจารณาทางเลือกอื่นๆ ในการช่วยเหลือประชาชน เช่น การสร้างงาน หรือการพัฒนาทักษะ ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ยั่งยืนกว่าในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • เห็นว่าควรมีการสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและครอบครัว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความคิดเห็นต่อนโยบายนี้จะแตกต่างกัน แต่ยังมีประชาชนจำนวนมากที่รอคอยและหวังจะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ และประชาชนยังให้ความสนใจเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินนโยบายอย่างชัดเจน และการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนานโยบายให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมข้อมูลจาก DXT360 (Social Listening and Media Monitoring Platform) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่  25 กันยายน - 1 ตุลาคม 2567

เกี่ยวกับ DXT360

DXT360 เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้ทั้งจากโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ สื่อบรอดคาสท์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงของผู้บริโภค (Consumer Voices) คอนเทนต์จาก Influencers และ KOLs ไปจนถึงข่าวจากสื่อมวลชน ที่รวบรวมเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Dashboard ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละราย (Customizable Dashboard) จึงทำให้เข้าใจและเห็น Insight ในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้เห็นทิศทางการสื่อสารของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข่าวดาต้าเซ็ต+เศรษฐกิจวันนี้

การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกเปิดฉาก ณ เมืองซูโจว เงินสะพัดกว่า 3.4 แสนล้านหยวน

การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกเมืองซูโจว ประจำปี 2568 ซูโจว จีน, 29 เม.ย. 2568 /ซินหัว-เอเชียเน็ท/ดาต้าเซ็ต การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกเมืองซูโจว (Suzhou Global Investment Conference) ประจำปี 2568 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารระดับสูงและนักธุรกิจชั้นนำกว่า 1,200 คนจากบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 (Fortune 500) บริษัทข้ามชาติ และบริษัทยูนิคอร์นเข้าร่วม ภายในงานมีการลงนามโครงการลงทุนรวม 417 โครงการ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 3.4157 แสนล้านหยวน เมืองซูโจวในมณฑล

จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ริกเตอร์ท... โซเชียลจับตา "ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก" ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว — จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่ง...

"ซูชิ" อาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่ครองใจคนไทยม... เจาะเทรนด์ "ซูชิ" เมนูฮิตติดกระแส คนแชร์สนั่นรีวิวแน่น — "ซูชิ" อาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่ครองใจคนไทยมาทุกยุค ตั้งแต่โอมากาเสะสุดหรู ร้านเชนในห้างสรรพสินค้าไป...

" มัทฉะ " กลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่ถูก... "มัทฉะ" ฟีเวอร์! แบรนด์ไหน โซเชียลเลิฟ — " มัทฉะ " กลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดียด้วยยอดเอ็นเกจเมนต์ ( Engagement)...

" ตรุษจีน " เป็นหนึ่งในเทศกาลที่คนไทยให้ค... ส่องแนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายเทศกาลตรุษจีน — " ตรุษจีน " เป็นหนึ่งในเทศกาลที่คนไทยให้ความสำคัญ และเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการจับจ่ายใช้สอยมากในรอบปี ...

ภูมิทัศน์สื่อไทยในปี 2568 เป็นปีที่มาพร้อ... เปิดทิศทางสื่อไทยปี 2568: Niche คอนเทนต์และอินฟลูเอนเซอร์มาแรง สตรีมมิ่งแข่งเดือด — ภูมิทัศน์สื่อไทยในปี 2568 เป็นปีที่มาพร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ...

Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน ส... "Pet Parent" บูม! เจ้าของเปย์หนัก! ดันตลาดสัตว์เลี้ยงพุ่ง — Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให...

"หมูเด้ง" ฮิปโปเซเลปจากสวนสัตว์เปิดเขาเขี... "หมูเด้ง" เด้งยังไงให้ดังเว่อร์! ถอดรหัส Social Media Marketing — "หมูเด้ง" ฮิปโปเซเลปจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สร้างกระแสไวรัลไปทั่วโลก จนกลายเป็นแรงบันดาล...