มหาวิทยาลัยมหิดล เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์ MU Synergy ต่อยอดความสำเร็จทางการศึกษาและงานวิจัยที่เป็น Real World Impact และ Academic Impact บทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยที่จะต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก บนแนวทางการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การต่อยอดการศึกษาและการวิจัย ไปสู่ความสำเร็จใน Real World Impact ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic well-being) ในระดับโลกเป็นโจทย์สำคัญ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด รวมถึงภาคสังคมที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) จึงจำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม Health Aging และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรคใหม่ หรือการเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อ NCDs ดังนั้น จากจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีอยู่ 37 คณะ จัดการเรียนการสอนใน 3 ส่วนคือ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์มนุษยวิทยาและการจัดการ ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลในความเชี่ยวชาญที่ครบถ้วนในสหสาขาวิชา จึงมีหน้าที่นำโจทย์ต่าง ๆ มาคิดและหาคำตอบโดยใช้ระเบียบการวิธีการวิจัยและข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อหาทางออกให้กับสังคมในด้านต่าง ๆ จึงได้สร้างกลไกเชื่อมโยงและกำหนดทิศทางการประสานความร่วมมือ ทั้งในด้านสานภารกิจวิจัย (Synergy Research) เพิ่มอำนาจผู้เรียน (Empowering Learners) และขยายผลสัมฤทธิ์ (Amplifying Operation) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งการจะทำให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือและบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนับสนุนการทำงานให้ก้าวหน้าได้อย่างมั่นคงและเกิดประโยชน์กับสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
จากมหาวิทยาลัยสู่ศูนย์กลาง สร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ
รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ iNT ชูจุดยืนและเป้าหมายที่ชัดเจนให้ฟังว่า "เราเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการต่อยอดเชิงพาณิชย์ งานบริการวิจัยและวิชาการ ส่งเสริมการสร้าง Entrepreneurial Ecosystem รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและบ่มเพาะให้เกิดงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและพาณิชย์ ซึ่งการจัดตั้งสถาบันฯ เป็นการสร้างกลไกที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยให้สามารถช่วยเหลือสังคมและชุมชน ผ่านการต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม บริหารจัดการเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน"
ฟันเฟืองสำคัญ ผลักดัน ขับเคลื่อน เชื่อมโยง
ถ้าจะโฟกัสให้เห็นภาพ จะเห็นว่า iNT ทำหน้าที่เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย หากจะมองมวลรวมความสำเร็จกับผลงาน 4 ปีที่ผ่านมาของ iNT (2564 - 2567) กับ การบ่มเพาะ Startup / Spin-Off กว่า 120 ทีม จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัย สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า รวมกว่า 2,800 ผลงาน รายได้จากผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาจากการอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ มูลค่ารวมกว่า 120 ล้านบาท และโครงการบริการวิจัยและให้บริการทางวิชาการ มากกว่า 1,300 ล้านบาท
ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย แต่เป็นที่สร้าง Real World Impact
iNT ชูยุทธศาสตร์ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าเราไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย แต่เป็นที่สร้าง Real World Impact เตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผลักดันสร้างสรรค์โครงการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โครงการ iNT Accelerate จากการสนับสนุนของ บพข. เพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม โดยเฉพาะ Deep Tech ผ่านกระบวนการ Acceleration Program โดยจะโฟกัสทางด้าน Health and Wellness โครงการ Mahidol Entrepreneurship Technology & Innovation (METI SCHOOL) สนับสนุนการพัฒนาทักษะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โครงการ Mahidol Innovation Valley การพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรม เชื่อมโยงความร่วมมือ เกิดการผลิตและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งใหม่ต่อไป
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จะร่วมผลักดันการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ สร้าง Real World Impact สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนและโลกยุคใหม่ในอนาคตต่อไป
มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัดกิจกรรม "การประชาสัมพันธ์โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช. ประจำปี 2568" โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช.พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ร่วมแถลงเป้าหมาย แนวทาง
เสวนาทิศทางไลฟ์สไตล์เพื่อสังคมสู่ความยั่งยืน
—
อ.ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล...
INT ม.มหิดล เปิดเวที "INT Accelerate Demo Day" โชว์ศักยภาพสตาร์ตอัปสาย Healthcare-Oriented Deep Tech
—
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (INT) มหาวิท...
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
ซีเอ็มเอ็มยูเปิดขุมทรัพย์และอานิสงส์สมรสเท่าเทียม โอกาสอัพจีดีพีไทยโต 0.3% กางผลวิจัย "Love Wins Marketing" ถอดรหัสตลาดหัวใจหลากสี
—
ถอดรหัสการตลาดหลัง พ....
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้ง มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัสดุรีไซเคิลจากกระดาษลูกฟูก 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้...
เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...