การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะกับช่วงวัยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุนั้น ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีความเสื่อมตามวัย ทำให้สมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ส่งผลให้การนำพลังงานไปใช้มีประสิทธิภาพต่ำลง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลายด้าน ดังนี้
1. ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพลดลง ตั้งแต่สุขภาพปากฟัน ผู้สูงอายุมักมีปัญหาฟันผุหรือไม่มีฟัน รวมทั้งต่อมน้ำลายทำงานลดลงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำลาย ทำให้การบดเคี้ยวไม่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุบริโภคเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ลดลง อีกทั้งการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลงทำให้ท้องผูกและอิ่มนาน รับประทานอาหารได้น้อย
2. การทำงานของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลดลง ได้แก่ ต่อมรับรส รับกลิ่น มองเห็น ได้ยินและการสัมผัสเสื่อมถอยลง ทำให้มีความอยากอาหารลดลง โดยเฉพาะการทำงานของต่อมรับรสที่เสื่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุไวต่อการรับรสเปรี้ยวและขม การรับรสหวานและเค็มลดลง ต้องขอปรุงรสเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียต่อการควบคุมปริมาณการบริโภคโซเดียม น้ำตาล จึงทำให้การควบคุมโรคเรื้อรังอาจทำได้ยากขึ้น และอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้
3. การทำงานของไตที่เสื่อมลงและการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ทำให้การขับของเสียมีปัญหา ความกระหายน้ำลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกกระหายน้ำแม้ร่างกายขาดน้ำ
4. การมีโรคประจำตัวและการใช้ยา โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ทำให้มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยาบางตัวมีผลต่อความอยากอาหารหรือการดูดซีมสารอาหาร
จากปัญหาความเสื่อมถอยที่กล่าวมาข้างต้น จะนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า "ทุพโภชนาการ" หรือ ภาวะขาดสารอาหาร คือการที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สาเหตุเกิดจากภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เบื่ออาหาร เคี้ยวกลืนลำบาก สำลักอาหาร การขาดน้ำ เป็นต้น ส่งผลต่อเนื่องกับร่างกายตามมาคือ น้ำหนักลด ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง มีอาการท้องเสีย ท้องผูก และร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจส่งผลด้านลบต่อการควบคุมโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษา
ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
นอกจากนี้ "สภาพจิตใจ" ก็มีส่วนสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ การได้รับประทานอาหาร ทำกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมหน้ากันในครอบครัว จะช่วยให้ผู้สูงอายุเจริญอาหารได้ เพราะผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการป้องกันโรคและคุณภาพชีวิต โภชนาการที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนใกล้ชิดต้องดูแล เอาใจใส่เป็นอย่างดี
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ตลาดแรงงานของประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายจากประชากรวัยแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กำลังแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานจะยิ่งหายากยิ่งขึ้นจากอัตราการเกิดที่ลดลง การพัฒนาศักยภาพและรักษาพนักงานรุ่นเก่าให้กับองค์กรไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อทดแทนกำลังแรงงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ทว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
รู้เท่าทัน ป้องกันภาวะสมองเสื่อม
—
ซึ่งกลุ่มอาการนี้เกิดมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กันแบบค่อยเป็นค่อยไป ...
กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด "กิฟฟารีน ไบโอ แมกนีเซียม พลัส" ที่มีจุดเด่นเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายไม่ควรขาด
—
บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด แนะนำไอเท...
ผู้บริหาร TM และ THE PARENTS ดูงานด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
—
ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) ห...
TM จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
—
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ...
Ageing Thailand 2025 มหกรรมสุขภาพ เทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในประเทศไทย
—
โลกปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการมีอายุย...
GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็...
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน-หลอดเลือดสมอง 3 โรคร้าย ทำลายสมองแบบไม่รู้ตัว!!! เตือนคนไทยอย่าชะล่าใจ "สมองป่วยได้" และอาจเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต
—
"สมอง" จะเป็นอวัย...
เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : หิดที่อวัยวะเพศชายหิด (Scabies)
—
หลายคนอาจะเคยได้ยินเกี่ยวกับหิดมาบ้างว่าส่วนใหญ่เป็นที่มือ แต่จริงๆ แล้วหิดสามารถติดที่...
กรมอนามัย ร่วมงาน เวที "สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัยไปด้วยกัน"
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิ...