เคยสังเกตคนใกล้ตัวบ้างไหม ? เดี๋ยวก็อารมณ์ดี เดี๋ยวก็โวยวาย โมโห หรือบางทีก็เศร้า แต่พอผ่านไปสักพักอารมณ์กลับเปลี่ยนแปลงไป ทำอะไรสุดโต่งที่ผิดปกติไปจากตัวตน จริง ๆ แล้วอาการเหล่านี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ หรือ อาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยที่เรียกว่า "โรคไบโพลาร์" หรือ "โรคอารมณ์สองขั้ว"
โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคไบโพลาร์(Bipolar Spectrum Disorders)
คือโรคที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ผิดปกติอย่างเด่นชัด เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะเผชิญกับช่วงเวลาที่มีอารมณ์สุดขั้วสองขั้ว เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรุนแรง คือช่วงอารมณ์ร่าเริง (Mania) และช่วงภาวะซึมเศร้า (depression) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ใช่เพียงแค่การขึ้นลงของอารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ และความสามารถในการทำงาน
ลองเช็คอาการหรือพฤติกรรม ที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไบโพลาร์คืออารมณ์สองขั้ว มีดังนี้
อาการคลุ้มคลั่ง
อาการในช่วงซึมเศร้า
อาการแบบผสม
ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจมีอาการทั้งช่วงคลุ้มคลั่งและช่วงซึมเศร้าพร้อมกัน ซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยซับซ้อนอาการเหล่านี้จะต้องส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ จึงจะสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วได้
ระยะเวลาของอาการ
อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏในทุกราย แต่เป็นสิ่งที่ควรสังเกตกับตนเอง หรือคนรอบตัว หากคิดว่าเรามีพฤติกรรมที่เข้าข่าย และไม่มั่นใจในพฤติกรรมที่ผ่านมาของเรา ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้ได้การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว มีอยู่จำนวนมาก และขาดการดูแลจนส่งผลกระทบต่อผู้ที่ทำงานด้วยจำนวนมาก โดยคนที่ป่วยเป็นไบโพลาร์ มีจำนวนมาก แต่หลายคนไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา ขณะที่หลายคนปฏิเสธรักษา เพราะกลัวถูกมองว่าเป็นคนบ้า ทั้งที่จริงเป็นความผิดปกติด้านอารมณ์ ที่เรียกว่าอารมณ์สองขั้ว เพราะด้านหนึ่งเป็นอารมณ์ซึมเศร้า อีกขั้วเป็นอาการคลุ้มคลั่ง
ดังนั้น การทำความเข้าใจ สังเกตพฤติกรรมของตนเอง และคนรอบข้าง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่มีอาการลุกลาม จนสร้างผลกระทบต่อคนอื่นๆ ในวงกว้าง. เพราะการเข้าใจโรคไบโพลาร์และอาการที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนสำคัญในการรับมือและการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การรักษาโรคไบโพลาร์ หลัก ๆ คือการใช้ยา ซึ่งยาที่ใช้รักษา ได้แก่ กลุ่มยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต และยาต้านเศร้า ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ การรักษาอาจใช้ยาควบคู่กับการทำจิตบำบัด ปรับพฤติกรรม หรือการรักษาด้วยไฟฟ้าในกรณีที่มีอาการรุนแรง และต้องการผลการรักษาที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป้าหมายของการรักษาโรคไบโพลาร์ คือการที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานเป็นคนเดิม และใช้ชีวิตในสังคมได้ แต่การรักษาอาจไม่หายขาด วันดีคืนดีอาจกลับมามีอาการอีก โดยเฉพาะในรายที่มีจาก อาการป่วยมาหลายครั้งหรือค่อนข้างถี่ แต่ละครั้งอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาอีก
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental health Hospital
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ดร. ชานัน ติรณะรัต ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายแพทย์ สกล สุขพรหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว ความสำเร็จของความร่วมมือในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาล "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย" โดยมี นายแพทย์ธิติ
"ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
—
โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...
"Drip & Sip" สร้างกลุ่มผู้รักสุขภาพ ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง VIVID by Verita Health และนิตยสาร Masala
—
วิวิด บาย เวอริตา เฮลธ์ (VIVID by Verita Heal...
นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
—
แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...
เวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทย: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง
—
สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว น...
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ?
—
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...
โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย สคร.12 สงขลา เตือน โดนสัตว์ข่วน-กัด ให้รีบพบแพทย์ แนะ ยึดหลัก 3 ป.
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงข...
ป้องกัน 'แอนแทรกซ์' ระบาด กรมอนามัย แนะ 3 วิธี เลือกซื้อ ปรุงประกอบอาหาร
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน แนะ 3 วิธี ป้องกันการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ...
สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ชวนรู้จักความเชื่อมโยงกับสุขภาพที่คาดไม่ถึง
—
หลายคนมักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดีขึ้น หรือการลดน้ำหนัก แต่อี...
TM แนะนำลูกบอลบริหารกล้ามเนื้อ Massage ball
—
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM โดย ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แนะนำ Massage...