เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2568

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์ (Japan Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา โดย ศ.รัสเซล ดีน ดูปุยส์ (Russell Dean Dupuis) จากสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลเจแปน ไพรซ์ สาขาวิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต และ ศ. การ์ลอส เอ็ม ดัวร์เต (Carlos M. Duarte) จากสเปน ได้รับรางวัลเจแปน ไพรซ์ สาขาการผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม

- สาขาที่มอบรางวัล: วิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต

ศ.รัสเซล ดีน ดูปุยส์

รูปภาพ: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202501152911/_prw_PI1fl_tS7bGu5Q.jpg

- สาขาที่มอบรางวัล: การผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม

ศ. การ์ลอส เอ็ม ดัวร์เต

รูปภาพ: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202501152911/_prw_PI2fl_75vq5Xm9.jpg

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปีนี้ ศ.ดูปุยส์ได้รับการยกย่องจากผลงานอันโดดเด่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีสะสมไอสารเคมีโลหะอินทรีย์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์จากสารกึ่งตัวนำแบบผสม รวมถึงการบุกเบิกที่นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในสเกลใหญ่ ส่วน ศ.ดัวร์เตได้รับการยกย่องจากการอุทิศตนในการศึกษาระบบนิเวศทางทะเลภายใต้สภาพโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยบุกเบิกด้านบลูคาร์บอน (Blue Carbon)

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ปี 2568 ทางมูลนิธิฯ ได้ขอให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีชื่อเสียงประมาณ 15,500 คนทั่วโลก ร่วมเสนอชื่อนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสาขาประจำปีนี้ โดยได้รับการเสนอชื่อ 149 รายในสาขาวิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต และได้รับการเสนอชื่อ 72 รายในสาขาการผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ชนะประจำปีนี้ได้รับเลือกจากผู้ชิงรางวัลรวม 221 ราย

เกี่ยวกับเจแปน ไพรซ์

เจแปน ไพรซ์ (Japan Prize) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างสรรค์รางวัลระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลก และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคมากมาย ในที่สุดมูลนิธิเจแปน ไพรซ์ ก็ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีในปี 2526

เจแปน ไพรซ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์และน่าทึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับสาขาของตนเอง ตลอดจนสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาล้วนมีสิทธิ์ได้รับรางวัล ซึ่งในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัลสองสาขาโดยพิจารณาจากแนวโน้มการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยหลักการแล้วจะมีผู้ชนะรางวัลสาขาละหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และเงินรางวัล นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐบาลทั้งสามฝ่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลในแต่ละครั้งด้วย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการ: https://www.japanprize.jp/en/index.html

ที่มา: มูลนิธิเจแปน ไพรซ์


ข่าวสหรัฐอเมริกา+เจแปน ไพรซ์วันนี้

ทำไมกราโนล่าถึงเป็นมื้อเช้าและอาหารว่างยอดฮิต ร่วมหาคำตอบกับ เนเจอร์ เซ็นเซชั่น

กราโนล่า มีส่วนผสมหลักคือ ธัญพืช ซึ่งส่วนมากจะเป็นข้าวโอ๊ต ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมกับ ผลไม้อบแห้ง ถือเป็นอาหารยอดฮิตในใจของใครหลายคน ไม่ว่าจะด้วยรสชาติความอร่อยหรือความสะดวกในการรับประทาน มีให้เลือกทั้งในรูปแบบอัดแท่งและแบบซีเรียลทั่วไป กราโนล่ามีต้นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกาในปี 1863 โดยแพทย์ที่ชื่อว่า James Caleb Jackson ที่ได้คิดค้นอาหารเช้าจากแป้งเกรแฮมและเรียกว่า "กรานูล่า" ซึ่งต้องหักออกเป็นชิ้น ๆ เพื่อรับประทาน แต่เนื่องจากมีความแข็งมาก จึงต้องนำไปแช่นมข้ามคืน ภายหลัง John Harvey Kellogg ได้สร้าง

รุกขยายส่งออกตลาดทั่วโลก ลดต้นทุนเสริมแกร... SCGD เผยไตรมาส 1 ปี 2568 ดีขึ้นต่อเนื่อง พร้อมสู้สงครามการค้า มุ่งดูแลรักษาลูกค้าเดิม — รุกขยายส่งออกตลาดทั่วโลก ลดต้นทุนเสริมแกร่งแข่งขัน เพิ่มโอกาสนำเข้...

SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุข... นักศึกษาแพทย์ SGU กว่า 1,000 คน คว้าตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในสหรัฐฯในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025 — SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่ส...

เพิ่มขีดความสามารถของผู้ส่งออกในประเทศในก... เฟดเอ็กซ์ ยกระดับบริการและการเชื่อมโยงธุรกิจไทยสู่สหรัฐอเมริกา — เพิ่มขีดความสามารถของผู้ส่งออกในประเทศในการเข้าถึงและเชื่อมต่อกับตลาดสหรัฐอย่างมีประสิทธิ...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิ... SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน — ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผัน...