มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 14 หัวข้อ บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนานักจัดการเชิงพื้นที่ "University role for Area Manager Development" เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 24 มกราคม 2568 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา
วันที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 13.30 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก นายกสภามหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 14 โดยการจัดงานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในการนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ทันสมัยโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการนำผลงานวิจัย นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศ และสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเ
ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการฯ ให้เป็นลักษณะ Hybrid โดยมีทั้งการนำเสนอแบบ Onsite Conference ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และ Online Conference มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 154 ผลงาน ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 25 ผลงาน กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 72 ผลงาน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 57 ผลงานและการประชุมวิชาการในครั้งนี้ยังมีกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย นิทรรศการจากมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานร่วมจัด กิจกรรมประกวดนิทรรศการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม กิจกรรมแสดงผลงาน "พะเยา : ชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Phayao: Community Innovation for Sustainable Development Goals)" และกิจกรรม "การประกวดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีความโดดเด่น ประจำปี 2567" โดยได้จัดให้มีการมอบรางวัลให้กับนักวิจัยแบ่งเป็น 4 รางวัล
รางวัลนักวิจัยดีเด่นมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีผลงานการตีพิมพ์สูงสุด ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มสาขา ประกอบด้วย
ประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงชุมชนรางวัลดีเด่น
รองศาสตราจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติด้วยผลงาน : การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำ หรับยกระดับกลไกการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของการผลิตและการตลาดสัตว์เคี้ยวเอื้องร่วมกับเครือข่ายนวัตกรรมชุมชนรางวัลดีมาก- ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ด้วยผลงาน : การขยายผลการจัดการกลุ่มผ้าทอสีย้อมผ้าแม่อิงชิโบริสู่ความยั่งยืน- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพารัตน์ โพธิเศษ สาขาความปลอดภัยทางอาหาร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติด้วยผลงาน : การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำ หรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายเกษตรกรในสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา- ดร.จารุวรรณ โปษยานนท์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ด้วยผลงาน : การวิจัยเพื่อพัฒนาฝ้ายท้องถิ่นภาคเหนือด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมชุมชนประเภทผลงานการวิจัยที่สรร้างประโยชน์เชิชิงพาณิชย์รางวัลชมเชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง วิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ด้วยผลงาน : ตำ รับยาทำ ให้อดฝิ่น (ยาอดยาบ้า) ชนิดเม็ด/เม็ดฟู่รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นในภาค Oral Presentation และ Poster Presentation
วันที่ 27 ตุลาคม 2566 : รองศาสตราจารย์กัลยาภรณ์ ปานมะเริง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นประธาน เปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประจำปีการศึกษา 2566 (SPUCON 2023) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ รองอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิจัย จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นเกียรติในงาน ภายในงานได้จัด
CIBA DPU ลงนามความร่วมมือกับ ฟอร์ท คอร์ปฯ เจ้าของแบรนด์ดัง "เต่าบิน" เปิดประตูสู่การฝึกงานด้านนวัตกรรม พร้อมโอกาสร่วมงานในอนาคต
—
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก"
—
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...
วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาส...
วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
—
ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่ากา...
สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม "ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม" หนุนระบบบุคลากร
—
สกสว. สวทช. รุกปั้นกลุ่ม "ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม" หนุนระบบบุคลากร วิทย์ไ...
"CelloPower : เซลลูโลสเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม สู่นวัตกรรมวัสดุปิดแผลเส้นใยนาโน"
—
ผลงานแนวคิดรางวัลชนะเลิศกิจกรรม Hackathon งานประชุมเครือข่ายบุคลากร...
มทร.ธัญบุรี พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรม งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุร...