เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีความยินดีที่จะประกาศความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และร่วมผลักดันการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านความยั่งยืนและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เหมาะกับสังคมไทย มุ่งสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ในการขับเคลื่อนสังคมและธุรกิจทุกระดับสู่ความยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations' Sustainable Development Goals: UN SDGs)
ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการเชื่อมโยงเพื่อสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ ในการจัดการความท้าทายด้านความยั่งยืนที่มีความซับซ้อน การผสานความเชี่ยวชาญด้านวิชาการจากคณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในภาคธุรกิจจากเคพีเอ็มจีในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันเพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) ในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองหน่วยงานได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยน และพัฒนาองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนผ่านแนวทางทางหลัก 3 ประการ ได้แก่
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "ความร่วมมือกับทางบริษัทเคพีเอ็มจีครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและดำเนินงานทางวิชาการ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความยั่งยืน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน ESG การพัฒนาศักยภาพนิสิตของคณะวิศวฯ ที่ครอบคลุมทุกมิติของ ESG ให้สามารถไปสู่การเป็นเป็นวิศกรระดับโลก อันเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย"
เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมา และลาว กล่าวเสริมว่า "การร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเคพีเอ็มจีในการส่งเสริมศักยภาพประเทศไทยเพื่อรับมือความท้าทายด้านความยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการผสานความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกของเคพีเอ็มจีเพื่อช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวก ไม่เพียงแต่สำหรับภาควิชาการและภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์กับภาคส่วนอื่นและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจอีกด้วย เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือครั้งนี้จะมีส่วนพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย"
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial Intelligence (AI) ต่อกลยุทธ์การตลาดและการ มีส่วนร่วมของลูกค้า โดย Professor Pau Virgili ในวันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 12:00-13:00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารศศปาฐศาลา ห้อง 201 ชั้น 2 เหมาะสำหรับนักวิจัย นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจการตลาดยุคใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/xwbXJPGhbdWEdS7N8อย่าพลาดโอกาสดี ๆ ที่จะเข้าใจโลกการตลาดในยุค AI
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...
Chulalongkorn Business School คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลัง ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ ประกาศความสำเร็จ HIT PROGRAM ปี 2
—
Chulalongko...
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"
—
แพลตฟอร์ม O...
"MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
—
แพลตฟอร์ม Onlin...
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุน iCreator Camp Gen 2 Presented by Sony
—
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสต...