3 องค์กร ร่วมจัดงาน "สิทธิในการซ่อม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Right to Repair) ในบริบทของประเทศไทย" เพื่อสนับสนุนสิทธิของผู้บริโภคและลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และมหาวิทยาลัยรังสิต จัดงานเปิดตัวรายงาน "เรื่องสิทธิในการซ่อม" อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Right to Repair) ในบริบทของประเทศไทย" เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญเร่งด่วนในการนำกฎหมายสิทธิในการซ่อม (R2R) มาใช้ในประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมซ่อม ที่อาจลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยที่มีปริมาณมากถึง 450,000 ตันต่อปี รวมถึงส่งเสริมแนวทางการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยมีนายเอ็ดเวิร์ด แรตคลิฟฟ์ [คนแรกจากขวา] กรรมการบริหาร สถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร.ถนอมลาภ รัชวัตร์ [คนที่ 6 จากซ้าย] นักวิจัยอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิต และดร. กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ [คนที่ 2 จากซ้าย] คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนไหวทางนโยบายที่สำคัญในขณะที่ร่างกฎหมาย 'Lemon Law' ของประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการทบทวน

3 องค์กร ร่วมจัดงาน "สิทธิในการซ่อม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Right to Repair) ในบริบทของประเทศไทย" เพื่อสนับสนุนสิทธิของผู้บริโภคและลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายกฤช เอื้อวงศ์ [คนที่ 7 จากซ้าย] ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน ณ ห้องประชุมมารุต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ห้อง 211 (ห้องศาลจำลอง มารุต บุนนาค) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทั้งนี้ รายงานที่เพิ่งเผยแพร่ได้เปิดเผยว่า 54% ของร้านซ่อมอิสระไม่มีการเข้าถึงคู่มือการซ่อม และ 96% ของร้านซ่อมพบความยากลำบากในการหาชิ้นส่วนจากผู้ผลิต ซึ่งสะท้อนถึงอุปสรรคที่ผู้บริโภคและธุรกิจซ่อมแซมต้องเผชิญ ด้วยจำนวนสมาร์ทโฟนที่จัดส่งในปี 2023 ถึง 14 ล้านเครื่อง และคาดการณ์ว่านำเข้าสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นเป็น 97% ภายในปี 2029 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการซ่อมแซมและการบริโภคที่ยั่งยืน


ข่าวสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย+สถาบันนโยบายสาธารณะวันนี้

เลมอน ลอว์ (Lemon Law) ของประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติที่แท้จริงสำหรับสิทธิในการซ่อมเพียงพอแล้วหรือไม่

โดย นายเอ็ดเวิร์ด แรตคลิฟฟ์ กรรมการบริหาร สถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร.ถนอมลาภ รัชวัตร์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และ ดร. กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเทศไทยกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในการปกป้องผู้บริโภคและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เลมอน ลอว์" (Lemon Law) ของประเทศไทย กำลังอยู่ในขั้นตอนการรอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย อย่าง

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล... เปิดอบรมฟรี!! DCCE ผสาน TEI ส่งเสริมการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ — กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) ผสานกำลั...

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ในฐานะองค์ก... สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เผย ผลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย โลกร้อนมาเป็นอันดับ 1 — สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อน...

สมาคมดินโลก โดยนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสม... สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน — สมาคมดินโลก โดยนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ได้ร่วมกับ 4 ห...