เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงนามสัญญาทดสอบทางคลินิกผลิตภัณฑ์ OSSICURE Bone Graft เพื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยกับผลิตภัณฑ์อ้างอิง Infuse Bone Graft ในการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธานร่วมพร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและรองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการเอ็มเทค ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OSSICURE Bone Graft สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประเทศ การทดสอบทางคลินิกครั้งนี้เป็นผลจากความร่วมมือระหว่างความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของ สวทช. และศักยภาพด้านการแพทย์ของศิริราช ซึ่งมีบุคลากรและจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอสำหรับการทดสอบ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศในระยะยาว เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหากระดูกสันหลัง โดยเฉพาะโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของประชากรไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังเรื้อรัง โดยจากสถิติพบว่ามีประชากรทั่วโลกกว่า 403 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากถึง 104 ล้านคน การรักษาส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ในบางกรณีต้องใช้การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งปัจจุบันใช้กระดูกจากผู้ป่วยเองหรือจากผู้บริจาค อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อจำกัดทั้งเรื่องต้นทุน ความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาพักฟื้นที่ยาวนาน การพัฒนา OSSICURE Bone Graft จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์นี้สามารถ ใช้ทดแทนกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการศึกษาในห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง พบว่ามีความปลอดภัย และผลข้างเคียงใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก U.S. FDA ซึ่งนับจากนี้ทางโครงการจะดำเนินการทดสอบทางคลินิกเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งานจริง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยไทยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ และยังเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล

รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานของคนไทยส่งผลให้ปัญหากระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่ความจำเป็นในการรักษาด้วยการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาดังกล่าวยังมีข้อจำกัด ทั้งในเรื่องภาวะแทรกซ้อนและระยะเวลาพักฟื้นที่ยาวนาน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เอ็มเทค สวทช. จึงพัฒนา OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ฝังใน ที่ช่วยลดการใช้กระดูกของผู้ป่วยเอง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าวยังมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า สวทช. มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรสำคัญ เช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งร่วมงานกันมาตั้งแต่ปี 2543 โดยมีผลงานสำคัญ เช่น การพัฒนาวัคซีนเด็งกี่ และชุดตรวจแยกซีโรทัยป์ของไวรัสเด็งกี่ ชุดตรวจภูมิแพ้กุ้ง งานวิจัยทางด้านพันธุกรรมของมนุษย์ งานวิจัยพื้นฐานทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา Precision Medicine ใน Genomics Thailand เป็นต้น ทั้งนี้ ความร่วมมือได้รับการยกระดับผ่าน MU-NSTDA Research Consortium ที่มุ่งส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ สาธารณะ และนโยบาย โดย OSSICURE Bone Graft เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาสู่ระดับอุตสาหกรรมและการใช้งานจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ

ความร่วมมือระหว่างเอ็มเทค สวทช. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการทดสอบทางคลินิกของ OSSICURE Bone Graft ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดภาระการใช้กระดูกของผู้ป่วยแต่ยังสะท้อนถึงศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล


ข่าวคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล+อภิชาติ อัศวมงคลกุลวันนี้

ศิริราชมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2566 และ 2567 ให้แก่ นพ.มนตรี หนองคาย และ นพ.วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานประกาศผลพร้อมมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2566 และ 2567 โดยมี ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผศ. นพ.สมุทร จงวิศาล ประธานคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ดีเด่นในชนบท นพ.มนตรี หนองคาย แพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2566 และ นพ.วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา แพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2567 ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมคณะฯ ตึกอำนวยการ ชั้น 2 รพ.ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดตั้ง "รางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท" ตั้ง

ศิริราชกับความสำเร็จระดับโลกครั้งแรกในการ... ศิริราชกับความสำเร็จระดับโลก ครั้งแรกในการผลิตกระดูกเบ้าสะโพกไทเทเนียมเฉพาะบุคคล — ศิริราชกับความสำเร็จระดับโลกครั้งแรกในการผลิตกระดูกเบ้าสะโพกไทเทเนียมเฉ...

ศิริราชพยาบาล จัดกิจกรรม วันไตโลก ปี 2568

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันไตโลก ปี 2568 "หมั่นดูแลไต ใส่ใจคัดกรอง ป้องกันโรคไต" ในวันพุธที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 15.30 น. ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โรงพยาบาลศิริราช โดยมี ศ. นพ.อภิชาติ...

คณะผู้บริหารและทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริ... เพอเซ็ปทรา โชว์ศักยภาพ AI ทางการแพทย์ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) 2025 — คณะผู้บริหารและทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยา...