เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย มอบหมายให้ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประชุมร่วมกับคณะผู้แทนไทย เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการเจรจาในช่วงสัปดาห์แรก เตรียมพร้อมก่อนเข้าร่วมการประชุมระดับสูง (Resumed high-level segment) ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ระหว่างวันที่ 19 - 20 พ.ย. 2567 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
โดยคณะผู้แทนไทยได้รายงานความก้าวหน้าผลการเจรจาในสัปดาห์แรกของการประชุม COP29 มีประเด็นสำคัญ 10 ประเด็น ดังนี้
1) เป้าหมายทางการเงินครั้งใหม่ (New Collective Quantified Goal: NCQG) เพื่อระบุจำนวนเงินต่อปีที่ชัดเจนความโปร่งใสของการสนับสนุน และการเข้าถึงได้ง่ายของประเทศกำลังพัฒนา 2) การทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) เพื่อจัดทำในครั้งที่ 2 และเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่การจัดทำ NDC 2035 และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิก 3) การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายระดับโลก 4) การเร่งสร้างกติกาและกลไกดำเนินงานของกองทุนจัดการความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) 5) การหาข้อสรุปให้เกิดความร่วมมือและกลไกที่เอื้ออำนวยการดำเนินงานระหว่างภาคีด้านคาร์บอนเครดิตภายใต้ความตกลงปารีส 6) การสร้างช่องทางออนไลน์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภาคเกษตรด้านวิชาการและสนับสนุนทางการเงิน 7) การเสริมพลังเครือข่ายขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ (Action for Climate Empowerment: ACE) 8) การกำหนดสาระของรายงานผลความคืบหน้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสองปี ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องจัดส่งภายในสิ้นปี ค.ศ. 2024 9) การขับเคลื่อนศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนทางการเงินจากประเทศพัฒนาแล้ว และ 10) การสร้างกลไกขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยจะติดตามประเด็นต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบกับประเทศไทย ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการจัดทำนโยบาย การดำเนินงาน และการรับการสนับสนุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งรวบรวมและจัดทำสรุปผลการประชุม COP29 เพื่อเผยแพร่ในวันสิ่งแวดล้อมไทย วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ต่อไป
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมด้วย นางสาวปรีญาพร สุวรรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบริษัท เอสชีซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บันทึกข้อตกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายใต้โครงการ "บูรณาการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวัดกลิ่นด้วยระบบ Electronic Nose" ณ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งบริหารจัดการน้ำถึงมือประชาชน มุ่งฟื้นฟูวิกฤตภัยแล้ง จ.ร้อยเอ็ด
—
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม
—
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...
อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"
—
นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...
กลุ่มสยามกลการ รับประกาศนียบัตร 'Climate Action Leaders Recognition' บนเวที UN ประเทศไทย ตอกย้ำดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนระดับสากล
—
เมื่อเร็วๆ นี้ ...
DMT สุดปลื้ม คว้าเกียรติบัตรสำนักงานสีเขียวระดับดีเยี่ยม จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมครบทุกพื้นที่สำนักงานด่าน
—
นางอโนมา อุฤทธิ์ รองก...
UMI ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) จาก โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
—
บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหา...