นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ Nurse case manager คลินิกส่งเสริมการมีบุตร ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พร้อมด้วย ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย เผยยังคงผลักดันส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เป็นวาระแห่งชาติ ขณะนี้ มีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรในโรงพยาบาลสังกัด สธ. จำนวน 901 แห่ง เดินหน้าพัฒนา Nurse case manager ให้ทุกคลินิกมีคุณภาพ
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ประเทศไทยประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติสาธารณสุข ปี 2565 พบว่า มีเด็กเกิดใหม่เหลือเพียง จำนวน 485,085 ราย ต่ำที่สุดในรอบกว่า 70 ปี และจำนวนการเกิดน้อยกว่าการตาย เท่ากับว่า จำนวนประชากรของไทยลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน นับจากปี 2564 นอกจากนี้ ยังพบว่า อัตราเจริญพันธุ์รวม (หรือค่า TFR : Total Fertility Rate) ของประเทศไทยลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก เหลือเพียง 1.08 ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทนและมีแนวโน้มที่จะลดลงอีก หากประเทศไทยไม่มีการออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ จำนวนประชากรที่ลดลง อาจหมายถึงจำนวนแรงงานที่น้อยลง ซึ่งส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการของประเทศ การกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การจัดเก็บภาษีรายได้ที่ลดลง ภาระทางด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น ปัญหาความมั่นคงในด้านต่าง ๆ ของประเทศ และการเพิ่มขึ้นของอัตราการพึ่งพิง หรือภาระของประชากรวัยทำงานจะเพิ่มขึ้น และก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์
"กระทรวงสาธารณสุขยังคงเดินหน้าโครงการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประชากรและทุนมนุษย์ โดยในปี 2568 นี้ ให้ความสำคัญ เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนมีคู่และก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงบริการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง คือ 1) ส่งเสริมคนโสดและคนที่มีคู่ ได้ตรวจคัดกรองสุขภาพและได้รับการให้คำปรึกษา เพื่อวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ อาทิ คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเสพสารเสพติด บริการให้คำปรึกษาและคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก และการคุมกำเนิด โดยสามารถรับบริการได้ ที่คลินิกส่งเสริมการมีบุตร ระดับที่ 1 ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัด / กระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตร และลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ 2) ผลักดันให้มีโรงพยาบาลที่จัดบริการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกโดยตรง หรือ IUI ได้ครบทุกจังหวัด และ 3) ให้มีโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จัดบริการ การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือ IVF ได้ครบทุกภาค" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าว
ดร.นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัยเป็นอีกหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว มีเป้าหมาย คือ 1) ผลักดันให้ประเด็นส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 2) ส่งเสริมการจัดบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง หลังจากทุกฝ่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อน การดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสารณสุข ผลการดำเนินงานการจัดตั้งคลินิก ส่งเสริมการมีบุตรในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ครบทุกแห่ง จำนวน 901 แห่ง โรงพยาบาลที่จัดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IUI (การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก) จำนวน 83 แห่ง ใน 58 จังหวัด และโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการ IVF (การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
"ทั้งนี้ ในปี 2567 มีผู้เข้ารับบริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร จำนวน 16,909 คน และจำนวนตั้งครรภ์สะสม จำนวน 433 ราย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรระดับที่ 1 และระดับที่ 2 รวมจำนวนกว่า 2,800 คน และการผลักดันให้การรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นสิทธิประโยชน์ กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ จึงร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ Nurse case manager คลินิกส่งเสริมการมีบุตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตร โดยมีท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาให้ความรู้และฝึกทักษะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 140 คน ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการมีบุตรจากศูนย์อนามัย และจากพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 11 - 12" รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 3 ขวบปีแรก วันที่ 28 30 เมษายน 2568 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์เพลส โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดนนทบุรี โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย เข้าร่วมประชุม นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเปิดการประชุมว่า เด็กปฐมวัยในช่วง0-3 ปี ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และ
สธ. ชูโมเดล '10 Packages Plus' จับมือภาคีเครือข่าย ส่งเสริมวัยทำงานสุขภาพดี
—
กระทรวงสาธารณสุข เร่งยกระดับการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ร่วมกับภาคีเครือข...
สธ. ชูโมเดล '10 Packages Plus' จับมือภาคีเครือข่าย ส่งเสริมวัยทำงานสุขภาพดี
—
กระทรวงสาธารณสุข เร่งยกระดับการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ร่วมกับภาคีเครือข...
"สมศักดิ์" เปิดประชุมบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ส่งเสริมใช้ยาสมุนไพร แทน ยาแผนปัจจุบัน
—
"สมศักดิ์" เปิดประชุมบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ส่งเสริมใช้ยา...
"เดชอิศม์" หนุน สสจ. เคลื่อนนโยบาย Healthy ทั่วไทย คนไทยห่างไกล NCDs และมลภาวะ
—
กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขับเคลื่อนนโยบาย Healt...
กรมอนามัย ขับเคลื่อนภารกิจให้ประชาชนสุขภาพดี พัฒนาระบบราชการสู่ความเป็นเลิศ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดและชี้แจงเกณฑ์การปร...
กรมอนามัย ชู อโรคยาสถาน Health station @Temple สร้างพระสงฆ์มีสุขภาพที่แข็งแรง
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมอโรคยาสถาน Health station @Temple ขับเค...
ผู้บริหารระดับสูง ม.รำไพฯ ประชุมร่วมอดีต รมว.อว. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 2570
—
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ พัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน จัด...
' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
#ANAMAINEWS วันนี้ (10 เมษายน 2568) แพทย์หญ...