สสส และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หลักสาม เติม พลังสร้างสรรค์เพื่ออนาคตเด็กปฐมวัยผ่าน "กล่องมหัศจรรย์"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ในฐานะเครือข่ายครูปฐมวัยจากโครงการ "มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก" พัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านของเด็กปฐมวัย โดยเน้นการสร้างกิจกรรมและการผลิตสื่อที่สร้างเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก พร้อมทั้งเชื่อมโยงผู้ปกครองให้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วม

สสส และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หลักสาม เติม พลังสร้างสรรค์เพื่ออนาคตเด็กปฐมวัยผ่าน "กล่องมหัศจรรย์"

พื้นที่ตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและประมง เช่น การเลี้ยงกุ้ง ปลากระชัง และปลาสวยงาม อย่างไรก็ตาม ครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างหรือทำงานในโรงงาน ทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับดูแลเด็ก เด็กหลายคนจึงต้องอยู่ในความดูแลของปู่ ย่า หรือตา ยาย ส่งผลให้เด็กใช้สื่อออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ โดยขาดการควบคุมอย่างเหมาะสม สสส และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หลักสาม เติม พลังสร้างสรรค์เพื่ออนาคตเด็กปฐมวัยผ่าน "กล่องมหัศจรรย์"

โครงการ "ครอบครัว 3 ดี" ภายใต้แนวคิด "มหัศจรรย์นิเวศสื่อสุขภาวะเพื่อเด็กปฐมวัย" โดยการสนับสนุนจากสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก11) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่ม wearehappy องค์กรสาธารณประโยชน์ เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หลักสาม เพื่อส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาการรอบด้านของเด็กปฐมวัยในชุมชน มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการที่จะลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านการใช้สื่อหน้าจอของเด็กและเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยในชุมชน โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนกลางของการพัฒนา และเชื่อมโยงทรัพยากรชุมชน เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพื้นที่สาธารณะ มาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้

นางเมตตา ตะพัง ผู้อำนวยการกองการศึกษาฯ กล่าวว่า "โครงการมหัศจรรย์นิเวศสื่อสุขภาวะเพื่อเด็กปฐมวัย ช่วยเสริมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้และพัฒนาการที่มั่นคงให้แก่เด็กในชุมชนตำบลหลักสาม เราไม่ได้เพียงแต่ให้เด็กได้รับความรู้ในห้องเรียน แต่เรายังสร้างโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงหน่วยงานต่างๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงความภาคภูมิใจของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดความสุข ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป"

คำพูดนี้สะท้อนถึงความตั้งใจในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวมและเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนสำหรับเด็กปฐมวัยในตำบลหลักสาม

สื่อไม่สำเร็จรูป: พื้นฐานแห่งการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

หนึ่งในจุดเด่นของโครงการคือการนำ "สื่อไม่สำเร็จรูป" มาใช้ ซึ่งเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กสามารถเล่นและปรับเปลี่ยนตามจินตนาการของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ไม้บล็อก ไม้หนีบ ตุ๊กตาถุงกระดาษ รวมถึงเกมการศึกษาต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ สื่อเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของวัตถุต่าง ๆ และพัฒนาสติปัญญาผ่านการออกแบบและการเล่นด้วยตัวเอง

กล่องมหัศจรรย์: สื่อการเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัว

โครงการได้ริเริ่มการสร้าง "กล่องมหัศจรรย์" ซึ่งเป็นชุดสื่อการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยเนื้อหาของกล่องมหัศจรรย์ถูกออกแบบให้ผู้ปกครองสามารถใช้ร่วมกับเด็กในกิจกรรมครอบครัว เช่น การเล่นเกมสร้างสรรค์ การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุในกล่อง หรือการเล่านิทานโดยใช้ตัวละครจากตุ๊กตาถุงกระดาษ

กล่องมหัศจรรย์ นี้ไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปกครองและเด็กในครอบครัว อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และเข้าใจพัฒนาการของลูก ได้ใช้เวลาร่วมกัน ลดเวลาการใช้หน้าจอลงได้

การสร้าง "ครอบครัว 3 ดี" ผ่านสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์

"ครอบครัว 3 ดี" คือการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านสื่อ และกิจกรรมที่หลากหลาย ด้วยแนวคิด 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยมีกิจกรรมดังนี้

  • กิจกรรมสร้างสรรค์ในครอบครัว ผู้ปกครองและเด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างเสริมสายสัมพันธ์ เช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำอาหารง่าย ๆ ร่วมกัน หรือการเล่นเกมแบบมีปฏิสัมพันธ์
  • การผลิตและใช้สื่อสร้างสุขภาวะ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดทำสื่อสร้างสรรค์ เช่น หนังสือนิทาน ของเล่นจากธรรมชาติ เกมการศึกษาต่างๆให้เด็กเรียนรู้
  • การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง มีการจัดเวิร์กช็อปและบรรยายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีเลี้ยงดูเด็ก เช่น โภชนาการที่เหมาะสม การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก และการจัดการเวลาเพื่อใช้ร่วมกับลูก โดยสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลบ้านแพ้วเพื่อตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการพัฒนาทางกายภาพของเด็ก

นางสาวประยูร แย้มโสภี ครูปฐมวัย จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.หลักสาม และเป็นผู้ดำเนินโครงการ กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นกับเด็ก ว่า " เด็กๆมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ ดีขึ้น จากส่งเสริมด้านโภชนาการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหว เช่น การเล่นของเล่นกลางแจ้งหรือเกมกลุ่ม ด้าน ความสัมพันธ์ในครอบครัว พบว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการได้มีเวลาคุณภาพร่วมกับลูกมากขึ้น ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีความสุขกับการเรียนรู้ กิจกรรมหลายอย่างในโครงการช่วยเสริมให้เด็กเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งรอบตัว เช่น การปลูกผัก การดูแลสัตว์ หรือการเล่นเกมกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น"

ดร.สรวงธร นาวาผล ผู้อำนวยการกลุ่ม wearehappy องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้กล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จ ของการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.หลักสาม ว่า การดำเนินงาน ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากแกนนำชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และผู้ปกครอง โดยเฉพาะในด้านการจัดกิจกรรมและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เช่น

  • การมีส่วนร่วมของชุมชน แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความรู้และการตรวจสุขภาพเด็ก ส่งเสริมความรู้ให้ผู้ปกครองอย่างสำมเสมอ
  • การสนับสนุนจาก อบต.หลักสาม โครงการได้รับทรัพยากรและการจัดสรรพื้นที่สำหรับกิจกรรม เช่น ห้องประชุมสำหรับจัดการอบรม และอุปกรณ์การเรียนรู้ ผู้บริหารให้ความสำคัญและใส่ใจในการพัฒนาเด็กอย่างสม่ำเสมอ
  • ความตั้งใจของผู้ปกครอง แม้จะมีเวลาจำกัด ผู้ปกครองส่วนใหญ่แสดงความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม และนำแนวคิดจากโครงการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ปกครองบางรายยังนำเมล็ดผักที่ได้รับแจกจากครูกลับไปปลูกที่บ้าน ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมและเรียนรู้ในระดับครอบครัว
  • ครูมีความมุ่งมั่น การส่งเสริม และถ่ายทอดกระบวนการใช้สื่อและติดตามผลกับครอบครัว ถือว่าเป็นการกระตุ้นที่สำคัญยิ่ง และครูสามารถกระตุ้นสร้างความร่วมมือกับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

โครงการ "ครอบครัว 3 ดี" เป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ทรัพยากรในชุมชนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย แม้จะยังมีจำกัดในเรื่องพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เช่น ขาดสนามเด็กเล่นหรือพื้นที่เรียนรู้ในธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการบางด้านของเด็กยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ ในอนาคต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแผนที่จะเพิ่มกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในกิจกรรมของเด็กมากขึ้น เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้


ข่าวมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์+องค์การบริหารส่วนตำบลวันนี้

กรมอนามัย ย้ำ "ทุกบ้าน ทุกครัวเรือน ต้องมีไอโอดีน" รณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ หนุน ทุกบ้าน ทุกครัวเรือน ต้องมีไอโอดีน ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 โดยได้รับเกียรติจาก นายศรีศักดิ์ ตั้งจิตรธรรม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา นายคีรินท์ ฉ่ำสมบูรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ นายธนพัจน์ ศรีอุไร กำนันตำบลโพรงอากาศ และผู้บริหารจากทุกภาคส่วน ร่วมงาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพรงอากาศ และพื้นที่ชุมชนหมู่ 11 ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์หญิงอัมพร

วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) นายสราวุธ อ่อนล... รวมพลังสร้างรอยยิ้ม! สธ. - ท้องถิ่น - เอกชน ร่วมดูแลช่องปากผู้สูงวัยหนองปรง — วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระ...

"บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองไม่เข้าใจในสิ่งที่เ... มหัศจรรย์ "สื่อสร้างสรรค์" รูปธรรมการเรียนรู้ในศูนย์เด็กเล็ก — "บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำ บางคนกลัวลูกจะมีอันตราย เมื่อต้องออกมาวิ่งเล่...

สสส.เชิญชวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนร... สสส.เปิดให้ทุนมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ฯ หนุนกระบวนการเรียนรู้-สุขภาวะเด็กเล็ก — สสส.เชิญชวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนระดับชั้นอนุบาล ร่วมเสนอโครงการมหัศ...