กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผลผลิตมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยการศึกษาค้นคว้า 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาพัฒนาการสกัดสารสำคัญจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ของผลห่าม 2) ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการลดไขมันในเลือดและความปลอดภัยในระดับหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง และ 3) พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ในรูปแบบเจลลี่ (Carrisa Jelly) พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์
ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดย มะม่วงหาวมะนาวโห่ (Carissa carandas Linn.) เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ดังกล่าวมายาวนาน ด้วยคุณสมบัติด้านสมุนไพรที่มีองค์ประกอบสำคัญทางเคมี ได้แก่ alkaloids, flavonoids, saponins, cardiac glycosides, triterpenoids, phenolic compounds, and tannins ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านโรคมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ และบำรุงหัวใจ
อย่างไรก็ตามการนำมะม่วงหาวมะนาวโห่มาใช้ประโยชน์ ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้สนับสนุนสรรพคุณดังกล่าว วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงได้ดำเนิน "โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดจากภาวะไขมันในเลือดสูง โดยสารออกฤทธิ์จากสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ของผล" โดยได้ทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาทั้งในหลอดทดลอง (in vitro) และสัตว์ทดลอง (in vivo) เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพฯ ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ในการพัฒนาการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรไทย
โดยทีมวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. ได้ ดำเนินการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเซลล์ไขมัน จากสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่พบว่า สารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลห่าม สามารถลดการสร้างเซลล์ไขมันได้ดี และเมื่อนำสารสกัดมาทดสอบการลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงพบว่า หนูในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ มีระดับ cholesterol และ triglyceride ในเลือดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นยังได้ดำเนิน การประเมินความปลอดภัยของสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลห่าม พบว่า ไม่ก่ออาการพิษและการตายของสัตว์ทดลองหลังได้รับตัวอย่างทดสอบทั้งการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง
ความสำเร็จของ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. ในการดำเนินโครงการนี้ สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ เพื่อใช้สารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณลดระดับไขมันในเลือดได้ รวมทั้งข้อมูลวิจัยที่เกิดขึ้น สามารถนำมาใช้เป็นองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่ให้กับนักวิจัยหรือผู้ที่สนใจในการศึกษาวิจัยมะม่วงหาวมะนาวโห่และนำผลงานนี้ไปวิจัยต่อยอด เพื่อให้เกิดองค์ความรู้เพิ่มเติม และลดการซ้ำซ้อนของงานวิจัย
ทั้งนี้ วว. ได้ดำเนินการยื่นจดอนุสิทธิบัติเรื่อง สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่รูปแบบเจลลี่ เรียบร้อยแล้ว และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ในรูปแบบเจลลี่" สู่เชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center โทร. 0 2577 9000 หรือที่ระบบบริการลูกค้า "วว. JUMP"
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...