"เนื้องอกต่อมใต้สมอง" ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เนื้องอกต่อมใต้สมอง เป็นโรคที่หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าเป็น เนื่องจากอาการแสดงอาจคล้ายโรคอื่นทั่วไป เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ตามัว หรือในบางกรณีอาจมีอาการชัก แต่โรคนี้สามารถส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบฮอร์โมนและการมองเห็น หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา

"เนื้องอกต่อมใต้สมอง" ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอด

สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากหรือขมับ
  • ตามัวหรือมองไม่ชัด อาจเริ่มจากการมองเห็นด้านข้างลดลง
  • อาการชัก หรือความผิดปกติของระบบประสาท
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น น้ำหนักเปลี่ยนแปลงผิดปกติ การมีขนขึ้นในที่ที่ไม่ควร หรือการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน

ความอันตรายของเนื้องอกต่อมใต้สมองเนื้องอกต่อมใต้สมองบางชนิดอาจผลิตฮอร์โมนมากเกินไป เช่น ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin) หรือฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติที่อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกัน เนื้องอกที่ไม่ผลิตฮอร์โมนก็อาจสร้างความเสียหายได้จากการกดทับเส้นประสาทตา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การตาบอดถาวร

ปัจจุบันการรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมองพัฒนาไปอย่างมาก โดยใช้วิธี "ผ่าตัดส่องกล้องทางโพรงจมูก" ซึ่งมีข้อดีมากมาย เช่น

  • แผลเล็ก เจ็บน้อย เพราะไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ
  • ความแม่นยำสูง ด้วยเทคโนโลยีส่องกล้องที่ช่วยให้มองเห็นเนื้องอกชัดเจน
  • ฟื้นตัวไว ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
  • ลดความเสี่ยงต่อระบบประสาทและการมองเห็น

หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะยิ่งตรวจพบเร็ว โอกาสในการรักษาให้หายขาดยิ่งเพิ่มมากขึ้น…

"RAM Synergy Care รักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง ไม่ใช่ที่ไหนก็ได้" คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2047

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1512 ต่อ 2999Line Official : @ramhospital


ข่าวo:member+ฮอร์โมนวันนี้

งานวิจัยเผย กินดี ช่วยให้ไข่ตก ฟื้นฟูภาวะมีบุตรยากจาก PCOS

ในปัจจุบัน ปัญหาภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการไม่ตกไข่ และสัมพันธ์กับความไม่สมดุลของฮอร์โมน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน การมีประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหลายฉบับชี้ให้เห็นว่า "โภชนาการที่ดี" มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูระบบสืบพันธุ์ และช่วยให้การตกไข่กลับมาเป็นปกติ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ

บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo... EnCo สานสัมพันธ์พันธมิตร ผ่านกิจกรรม "ฟุตบอลสานสัมพันธ์ 4 Teams" ประจำปี 2568 — บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) สานสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับพันธมิตรห...

ดั๊บเบิ้ล เอ เดินหน้าส่งต่อความห่วงใยเพื่... ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือสพฐ.ร่วมป้องกันไข้หวัดใหญ่ มอบหน้ากากอนามัยฯในโรงเรียน 10 แห่งทั่วกรุงเทพฯ — ดั๊บเบิ้ล เอ เดินหน้าส่งต่อความห่วงใยเพื่อสังคมไทย ร่วมกับ...

นพ.ภัทรวุฒิ เรืองวานิช อายุรแพทย์เฉพาะทาง... รู้เท่าทัน ! เฝ้าระวัง ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) — นพ.ภัทรวุฒิ เรืองวานิช อายุรแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง อนุสาขาโรคหลอดเลือดสมองศูนย์สมองและระบบป...

วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) นายสราวุธ อ่อนล... รวมพลังสร้างรอยยิ้ม! สธ. - ท้องถิ่น - เอกชน ร่วมดูแลช่องปากผู้สูงวัยหนองปรง — วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระ...

วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) เวลา 09.30 น. ณ... สจส. เดินหน้าสร้างเครือข่ายวิน-ไรเดอร์ผู้พิทักษ์ ปีที่ 2 — วันนี้ (20 มิถุนายน 2568) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมกำแพงเพชร สำนักงานเขตดอนเมือง นายสิทธิพร สม...

TMA เจาะลึกผลการจัดอันดับฯ โดย IMD ประเทศ... ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ประจำปี 2568 — TMA เจาะลึกผลการจัดอันดับฯ โดย IMD ประเทศไทยตกลง 5 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 30 สมาคมการจัดการธ...