กระทรวง DE และ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) จัดงาน Huawei Cloud Summit Thailand 2025 เปิดตัวความร่วมมือเพื่อเร่งผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวง DE รายงานความคืบหน้าของนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First) ตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างประเทศไทยที่ยั่งยืน ครอบคลุม และเต็มไปด้วยโอกาส โดยภาครัฐและเอกชนต่างเร่งนำคลาวด์และ AI มาใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์ ได้ประกาศเดินหน้าขยายความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างลึกซึ้ง เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความอัจฉริยะผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม การสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง และการพัฒนาทักษะบุคลากร

กระทรวง DE และ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน

โอกาสจาก AI เพื่อเร่งเครื่องสู่ศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน กระทรวง DE และ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน

ศ. วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดประทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า "ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน ด้วยนโยบาย Cloud First กลยุทธ์ด้าน AI การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศที่กำลังเติบโต ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนบทบาทจากผู้ใช้เทคโนโลยีไปสู่ผู้พัฒนาขีดความสามารถ ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมของไทยเองที่สามารถส่งต่อประโยชน์สู่ระดับโลก" พร้อมชื่นชมบทบาทของหัวเว่ย คลาวด์ ที่มีความมุ่งมั่นและต่อเนื่องในการส่งเสริมด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทย

ทางด้าน นายซันนี่ ชั่ง (Sunny Shang) ประธานหัวเว่ย คลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า: "ในยุคแห่ง AI ความอัจฉริยะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาล สำหรับประเทศไทย หัวเว่ย คลาวด์ ไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้บริการเทคโนโลยี แต่ยังเป็นผู้ร่วมสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เราจะร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความอัจฉริยะของประเทศไทย ผ่าน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี การแบ่งปันประสบการณ์ และการร่วมกันสร้างระบบนิเวศ"

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ให้บริการลูกค้ามากกว่า 1,000 ราย และสร้างพันธมิตรกว่า 500 รายในประเทศไทย โดยครอบคลุมโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ สถาบันการเงินชั้นนำกว่า 80% และผู้ค้าปลีกชั้นนำกว่า 60% % ในประเทศไทย ต่างให้ความไว้วางใจเลือกใช้บริการคลาวด์จากหัวเว่ย

สร้างคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อก้าวสู่ยุคอัจฉริยะ

นายวิลเลี่ยม ตง (William Dong) ประธานของหัวเว่ย คลาวด์ มาร์เก็ตติ้ง ได้เปิดตัว 4 โซลูชันหลักในงาน ซึ่งครอบคลุมถึง พื้นฐาน AI ที่แข็งแกร่ง การพัฒนาแอปพลิเคชันอัจฉริยะ การจัดการข้อมูลอัจฉริยะ และการใช้งานคลาวด์ในทุกสถานการณ์ โดยเน้นว่า AI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีรากฐานที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภาคอุตสาหกรรมและหัวเว่ย คลาวด์ กำลังก้าวสู่ยุค "AI-Native" อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในด้าน "Cloud for AI" และ "AI for Cloud"

  • Cloud for AI คือ การเร่งการใช้งานกลยุทธ์ด้าน AI ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีแบบครบวงจรและแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ดีที่สุด
  • AI for Cloud คือ การยกระดับบริการคลาวด์ของหัวเว่ยด้วย AI เพื่อให้บริการมีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น

โซลูชันหลักได้แก่:

  • พื้นฐาน AI ที่แข็งแกร่ง: บริการ AI Cloud ของหัวเว่ย รองรับการฝึกโมเดลขนาดใหญ่ได้ต่อเนื่องสูงสุดถึง 40 วัน พร้อมโมเดลพื้นฐานกว่า 160 แบบ ที่นำไปใช้จริงแล้วโดยบริษัท AI กว่า 1,000 ราย โมเดล Pangu ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายกรณี เช่น การตรวจสอบรางรถไฟ การคาดการณ์อุณหภูมิเตาหลอมเหล็ก และการพยากรณ์อากาศ
  • การพัฒนาแอปพลิเคชันอัจฉริยะ: เครื่องมือ CodeArts สนับสนุนการเขียนโค้ด ตรวจสอบ และทดสอบโค้ดด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงาน R&D ได้ถึง 30% โซลูชัน Flexus LLM ยังสนับสนุนองค์กรขนาดกลางและย่อมให้สามารถพัฒนา AI พร้อมมอบ 3 ความสามารถหลัก ได้แก่ Dify HA edition ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน AI การสร้าง ฐานข้อมูลความรู้ภายใน เพื่อให้ AI สามารถเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลเฉพาะขององค์กร และการพัฒนา แอปพลิเคชันที่ปรับตามบริบทการใช้งาน (scenario-specific application development) ทั้งหมดนี้ช่วยให้ SMEs สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ได้อย่างครบวงจร
  • การจัดการข้อมูลอัจฉริยะ: DataArts ได้รับการปรับปรุงเพื่อเป็นรากฐานข้อมูลที่เน้นความรู้และรองรับ AI ได้อย่างแท้จริง GaussDB ฐานข้อมูลคลาวด์แบบกระจาย มีความสามารถ multi-write แบบโปร่งใส ช่วยให้ระบบมีความเสถียรสูงและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
  • การใช้งานคลาวด์ในทุกสถานการณ์: หัวเว่ย คลาวด์ สแต๊ก รองรับคลาวด์แบบไฮบริด สำหรับโมเดล AI ขนาดใหญ่ ให้ภาคธุรกิจสามารถสร้างโมเดลของตนเองได้ในจุดเดียว ส่วน CloudDC ช่วยย้ายศูนย์ข้อมูลสู่คลาวด์ พร้อมระบบการจัดการที่แม่นยำและครบวงจร

ในงานยังมีการสาธิตให้เห็นถึงศักยภาพของ AI ในการดำเนินชีวิตและการผลิต โดยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (humanoid robot) สามารถร่วมมือกับมนุษย์ที่สวมมือกลอัจฉริยะเพื่อทำภารกิจที่ซับซ้อนได้อย่างน่าทึ่ง

เทคโนโลยีเพื่อสังคม: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีคลาวด์และ AI ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ยังช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน นายอาข่า ได ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หัวเว่ย คลาวด์ ได้กล่าวถึงโครงการ "Cloud for Good" ของหัวเว่ย พร้อมยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น โซลูชันไร้กระดาษที่พัฒนาร่วมกับบริษัท Codium ซึ่งช่วยลดการใช้กระดาษลงได้ปีละ 18-25 ล้านแผ่น ในหน่วยงานรัฐกว่า 200 แห่ง และองค์กรเอกชนอีกกว่า 300 แห่ง คิดเป็นการช่วยรักษาต้นไม้ 2,000-3,000 ต้น และลดการปล่อยคาร์บอน 30-50 ตันต่อปี ปัจจุบัน หัวเว่ย คลาวด์ กำลังขยายความร่วมมือในประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ เกษตรอัจฉริยะ การเงินเพื่อสังคม การประหยัดพลังงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล เพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย

เปิดตัวโครงการ Cloud and AI Pioneer ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในงานนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ได้ประกาศความร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโครงการ "Cloud and AI Pioneer Initiative" โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านคลาวด์และ AI จำนวน 30,000 คน ผ่านการจัดทำหลักสูตร การแข่งขันสำหรับนักพัฒนา และโครงการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ทั้งนี้ ภายในสิ้นปี 2568 หัวเว่ย คลาวด์ คาดว่าจะสามารถพัฒนานักพัฒนาด้านคลาวด์และ AI ในประเทศไทยได้กว่า 20,000 คน เพื่อสร้างระบบนิเวศบุคลากรที่ยั่งยืนและเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น


ข่าวกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม+กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจวันนี้

Bangkok AI Week 2025 ปิดฉากยิ่งใหญ่ ตอกย้ำไทยผู้นำ AI อย่างมีจริยธรรม ดัน "อธิปไตย AI" สู่ยุทธศาสตร์ชาติ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เผยความสำเร็จมหกรรมระดับชาติด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ครั้งยิ่งใหญ่ของไทย "Bangkok AI Week 2025" ภายใต้คอนเซปต์ AI Powered Nation: Unleashing the digital economy for all เมื่อวันที่ 23-27 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ร่วมงานอย่างคับคั่ง ทั้งออนไซต์และออนไลน์กว่า 20,000 ราย ตอกย้ำทิศทางประเทศสู่ "อธิปไตยทาง AI" และ "การเลือกสนามรบที่ใช่" สร้างปรากฏการณ์และแรงกระเพื่อมครั้งสำคัญ

ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติเผยกลุ่มประเทศใน... อาเซียนตื่นตัวเศรษฐกิจดิจิทัล หวั่นไทยล้าหลังเวียดนาม แนะรัฐบาลเร่งเครื่อง — ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติเผยกลุ่มประเทศในอาเซียน กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิท...

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีแล... กระทรวงดีอี ต้อนรับผู้บริหาร Grab ระดับภูมิภาคพร้อมร่วมหารือเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล — นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทั...

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 คณะผู้แทนไทย... ประเทศไทยแสดงบทบาทผู้นำด้านทรัพยากรน้ำ ในเวทีระดับสูงของยูเนสโก ณ กรุงปารีส — เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 คณะผู้แทนไทย นำโดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิก...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) คว้ารางวัล GDC... กปภ. เฮ! คว้ารางวัลบริการโดดเด่น จาก สดช. — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) คว้ารางวัล GDCC Gov Cloud ประจำปี 2568 ด้านการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน...