ทำความรู้จัก 4 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร เจ้าของรางวัล ศิษย์เก่า UK ดีเด่น ของบริติช เคานซิล ปีล่าสุด ผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจด้วยพลังแห่งการศึกษา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในโอกาสพิเศษที่ประเทศไทย และสหราชอาณาจักรเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 170 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต บริติช เคานซิล ขอเชิญชวนทุกคนมารู้จักกับสี่ผู้ชนะรางวัล Study UK Alumni Awards ประจำปี 2025 รางวัลอันทรงเกียรติซึ่งมอบให้แก่ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรทั่วโลกที่ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย 4 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจและนวัตกรรม (Business and Innovation) สาขาศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ (Culture and Creativity) สาขาวิทยาศาสตร์และความยั่งยืน (Science and Sustainability) และสาขาการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม (Social Action Award) เพื่อแบ่งปันเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ จุดประกายความฝันให้แก่ผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร

ทำความรู้จัก 4 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร เจ้าของรางวัล ศิษย์เก่า UK ดีเด่น ของบริติช เคานซิล ปีล่าสุด ผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจด้วยพลังแห่งการศึกษา

รศ.ดร. อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น สาขาธุรกิจและนวัตกรรม (Business and Innovation) เล่าว่า การศึกษาที่ประเทศสหราชอาณาจักร อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อผลักดันขอบเขตความสามารถภาคธุรกิจในประเทศ ทำความรู้จัก 4 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร เจ้าของรางวัล ศิษย์เก่า UK ดีเด่น ของบริติช เคานซิล ปีล่าสุด ผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจด้วยพลังแห่งการศึกษา

ผศ. ดร. กฤษณะ พันธุ์เพ็ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น สาขาศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ (Culture and Creativity Award) เล่าว่า การศึกษาในสหราชอาณาจักรช่วยขยายวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และทำให้ได้รู้จักกับทฤษฎี และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานมากมาย อาทิ งานละครเวทีที่เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และกลุ่ม LGBTQ+ ผ่านงานสร้างสรรค์ของเขา การได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้จึงเปรียบเสมือนการมอบสปอตไลท์ให้กับละครเวทีและผลงานสร้างสรรค์ที่เขาทุ่มเทให้กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ในฐานะนักแสดงละครเวที และภาพยนตร์ ผศ. ดร. กฤษณะ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และในด้านวิชาการ มีบทบาทเป็นผู้นำการอบรมการแสดงเชิงนวัตกรรมและได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการสอนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ เขายังสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งในฐานะนักวิจัยของ UNESCO และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ดร. สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน ศาสตราจารย์ และคณบดีบัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และความยั่งยืน (Science and Sustainability Award) เล่าว่า การศึกษาในสหราชอาณาจักรได้ส่งเสริมทักษะ Critical thinking ไม่ปักใจเชื่ออะไรจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ผ่านการค้นคว้าเองหรือลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งส่งผลให้มีความคิดที่เป็นอิสระ เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบสหวิทยาการด้วยทัศนคติระดับสากล และเสริมศักยภาพในการพัฒนาแนวทางการพัฒนาโซลูชั่นทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ด้วยรากฐานจากการศึกษาในสหราชอาณาจักร ผมจึงสามารถเชื่อมโยงงานวิจัยและนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทบาทที่ปรึกษาพิเศษประจำคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทักษะเหล่านี้ยังนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพในประเทศไทยเช่นการนำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรค รวมถึงการใช้เทคโนโลยี nanophotonics และงานวิจัยด้าน plasmonic microscopy ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคถึง 30% และ AI-powered screening tools ที่ช่วยปรับปรุงการตรวจหาภาวะวิกฤติในระยะเริ่มต้น ลดแรงกดดันต่อบุคลากรทางการแพทย์

แพทย์หญิง สัณหพรรณ วรรธนะพิศิษฐ์ แพทย์หญิง ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลท่าศาลา ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น สาขาการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม (Social Action Award) เล่าว่า การศึกษาในสหราชอาณาจักรได้สร้างทักษะความเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานกับทีม และการคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เธอสามารถพัฒนาบริการด้านสุขภาพในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทักษะเหล่านี้ เธอได้เป็นผู้นำทีมบริการการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนต่างๆ และเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถส่งมอบการดูแลที่มีคุณภาพแก่ผู้ด้อยโอกาสได้อย่างทั่วถึง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาระบบบริการการดูแลแบบประคับประคองในประเทศไทยให้ก้าวหน้า เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียม

ทางด้านของ นายแดนนี่ ไวท์เฮด ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า "ความสำเร็จของศิษย์เก่าเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 170 แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทางบริติช เคานซิล ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความร่วมมือมาอย่างยาวนานนี้เรามุ่งมั่นสนับสนุนการศึกษาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมมอบการศึกษาและโอกาสต่อยอดสู่ระดับโลกแก่นักเรียนไทย เพื่อนำพาพวกเขาสู่ความสำเร็จและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าต่อไป"

บริติช เคานซิลขอเชิญชวนศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรในประเทศไทย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร Alumni UKเพื่อเชื่อมต่อกับศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรในประเทศไทยและในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และต่อยอดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ https://www.britishcouncil.org/study-work-abroad/alumni-uk


ข่าวบริติช เคานซิล+สหราชอาณาจักรวันนี้

บริติช เคานซิล จัดงาน Alumni UK Special Talk and Networking เดินหน้าขยายเครือข่ายศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรทั่วโลก

นางสาวอุไรวรรณ สะโมลี หัวหน้าฝ่ายการศึกษา บริติช เคานซิลประเทศไทย (ลำดับที่ 3 จากซ้าย) พร้อมด้วยวิทยากรจากสภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย และวิทยากรศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรผู้เชี่ยวชาญ ร่วมงาน "Alumni UK Special Talk and Networking รีวิวเทรนด์โลกพร้อมก้าวสู่ปี 2024 อย่างมั่นใจ" ตอกย้ำความสำเร็จของแพลตฟอร์ม Alumni UK ที่เสริมสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรจากทั่วโลก เปิดโอกาสและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะจากประสบการณ์จริง พร้อมส่งมอบแรงบันดาลใจ

นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช ... บริติช เคานซิล เปิดตัวแพลตฟอร์ม Alumni UK ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ — นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย (ลำดับที่ 4 จากซ้าย) และ...

นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช ... บริติช เคานซิล ร่วมฉลอง 7 ปีแห่งความสำเร็จ 'กองทุนนิวตัน' ประเทศไทย — นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย (ลำดับที่ 6 จากซ้าย) และศ...

บริติช เคานซิล จัดการประชุม สคูลส์ นาว! ประจำปี 2566 ดึงดูดตัวแทนเข้าร่วมกว่า 2,000 คนจาก 30 ประเทศทั่วโลก เพื่อสำรวจอนาคตของการศึกษาระดับนานาชาติ

เมื่อไม่นานมานี้ บริติช เคานซิล (British Council) ได้จัดการประชุม สคูลส์ นาว (School Now!) ประจำปี 2566 ที่ดูไบ โดยบรรดาผู้นำด้านการศึกษาและผู้...