โรคไวรัสทิลาเปียเลค (Tilapia Lake Virus : TiLV ) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคตายเดือน เป็นหนึ่งในสาเหตุการตายที่สำคัญของลูกปลานิลและปลาทับทิมในช่วงอายุ 1 เดือนแรก ซึ่งหากติดเชื้อ TiLV จะทำให้มีอัตราการตายสูงสุดถึง 80%
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวพบได้ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม ขณะเดียวกันก็ยังไม่มี "วัคซีนเฉพาะ" สำหรับควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
ทีมวิจัยนำโดย "รศ.ดร.ศศิมนัส อุณจักร์" ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงพัฒนา "วัคซีน TiLV" ขึ้น เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลาทับทิม โดยวัคซีน TiLV ที่พัฒนาขึ้นเป็นวัคซีนชนิดรีคอมบิแนนท์ ที่ผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนของไวรัส TiLV ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยใช้เทคนิคทางด้านรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ
รศ.ดร.ศศิมนัส อธิบายว่า โรคตายเดือนที่มาจากติดเชื้อไวรัส TiLV จะเกิดกับปลาเล็กในช่วงแรกหลังจากออกจากโรงเพาะเลี้ยง ซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทำให้เกิดความเครียดและตายในช่วง 1 เดือนแรกเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุการตายหลัก ๆ มาจากการติดเชื้อไวรัส TiLV ซึ่งทีมวิจัยได้มีการวิเคราะห์พันธุกรรมไวรัสแล้ว พบว่ามีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่เกิดขึ้นในประเทศอิสราเอล จึงออกแบบในการพัฒนาวัคซีนชนิดรีคอมบิแนนท์ขึ้น โดยใช้ชิ้นส่วนที่มีความจำเพาะในหลาย ๆ สายพันธุ์
วัคซีนดังกล่าวผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว โดยสามารถป้องกันปลาทับทิมจากโรค TiLV ได้เป็นอย่างดี และมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้จะไม่ผันกลับไปก่อโรคได้เช่นเดียวกับวัคซีนที่พัฒนาจากตัวเชื้อ เช่น วัคซีนเชื้ออ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine)
จุดเด่นของวัคซีน TiLV จากการทดสอบพบว่าสามารถช่วยลดอัตราการตายจากโรค TiLV จาก 80% เหลือเพียง 10% ไม่มีสารตกค้างในตัวปลาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเพิ่มอัตรารอดในลูกพันธุ์ปลาที่ย้ายลงสู่กระชังหรือบ่อดิน
จากความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการและได้รับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดการต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยในแผนงานอาหารมูลค่าสูง ประจำปี 2565 ในโครงการ "การเพิ่มศักยภาพการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไวรัสเพื่อใช้ในการผลิตพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์ปลาทับทิม" ระยะเวลา 3 ปี โดยมีบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานร่วมวิจัย
รศ.ดร.ศศิมนัส กล่าวว่า โครงการที่ได้รับทุนจาก บพข. เป็นการวิจัยในการขยายกำลังการผลิตวัคซีนจากระดับห้องปฏิบัติการมาสู่ระดับ pilot scale โดยมีการผลิตใช้ถังหมักขนาด 5 ลิตร 10 ลิตร และ 50 ลิตร ซึ่งเป็นการประเมินกระบวนการและศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีนในระดับฟาร์มเลี้ยง โดยติดตามได้จาก ระดับภูมิคุ้มกัน และอัตรารอดของปลาที่ได้รับวัคซีน
ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า ขอแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยทุกท่านที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ผลงานและแสดงศักยภาพในการประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยต่อสายตาชาวโลก โอกาสนี้ กรมวิทย์ฯบริการขอชื่นชม และร่วมภาคภูมิใจกับ นางสาวพรรัตน์ ไชยมงคล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สถาบันยุทธศาสตร์และ
นีโอ จับมือ ม.เชียงใหม่ ยกระดับโปรดักซ์ FMCG เสิร์ฟกลุ่ม Young Old - Gen Beta ตอกย้ำบทบาท "Segment Creator" ผู้บุกเบิกนวัตกรรมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
—
บริษัท นีโอ...
CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย "เหงื่อ"
—
นวัตกรรมการแพทย์ครั้งสำคัญของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ...
มทร.ธัญบุรี สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย ในเวทีโลก คว้า 6 รางวัล จากงาน "iENA 2024" เยอรมนี
—
มทร.ธัญบุรี ทำสำเร็จในการประกวดผลงานวิจัยและนวัตกรรมนานาชาติ I...
พาณิชย์ จับมือ อย. สร้างแต้มต่อทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมดันสู่ตลาดสากล
—
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เดิน...
นักวิจัยจุฬาฯ ชี้ผลกระทบภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่าที่คิด สำรวจพบน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายมากขึ้นถึงขั้นวิกฤต
—
จากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมที...
คนไทยทำได้ "สุดขอบฟ้า" ตู้โดยสารรถไฟระดับพรีเมียมตู้แรกที่ผลิตจากฝีมือคนไทยและนักวิจัยไทย
—
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยคณะวิ...