มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเปิดตัว "รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์" รางวัลทรงเกียรติที่มุ่งยกย่องและสนับสนุนนักวิจัยไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคม และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิด "Real World Impact for Sustainability" มอบรางวัลสนับสนุนสูงสุด 5 ล้านบาท เน้นงานวิจัยใน 3 สาขาหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, และสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ พร้อมเดินหน้าสนับสนุนนักวิจัยไทยสู่เวทีโลก
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมีปณิธานอันแน่วแน่ในการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่ไม่เพียงมุ่ง "สร้างบุคลากร"คุณภาพสูงเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ยังให้ความสำคัญกับการ "สร้างองค์ความรู้" เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นด้วยการมุ่งสร้างสรรค์งานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคม และสร้าง
การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้เจตนารมณ์นี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดตั้ง "รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์" ขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูนักวิจัยไทยที่มีผลงานวิจัยที่สร้างคุณูปการ และเกิดประโยชน์ในวงกว้าง สร้าง "Real World Impact" ที่ไม่ใช่แค่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ต้องสามารถแก้ปัญหา พัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร กล่าวเพิ่มเติมว่ารางวัลนี้ไม่ใช่แค่การมอบเงินรางวัลสนับสนุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงทรัพยากร เครือข่ายทางวิชาการและเครือข่ายพันธมิตรของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ ซึ่งจะช่วยผลักดันผลงานให้ได้รับการต่อยอดขยายผลในวงกว้าง ที่ไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศไทยแต่สามารถสร้างอิมแพ็คไปถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก
"ประเทศไทยมีนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถและมีงานวิจัยที่มีคุณค่ามากมาย แต่ส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่ในแวดวงวิชาการ ไม่ถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมุ่งหวังให้รางวัลนี้ช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้นักวิจัยว่ามีเวทีที่พร้อมสนับสนุน เพื่อให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจและมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณค่า ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไป" ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร กล่าว
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า "รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์" แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่น(ไม่จำกัดอายุ) สำหรับนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่นและสร้างคุณูปการแก่สังคม และมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ได้รับรางวัลจะได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินสนับสนุน 5 ล้านบาท และรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ (อายุไม่เกิน 45 ปี) ที่มีศักยภาพในการสร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยผู้ได้รับรางวัลจะได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินสนับสนุน 1 ล้านบาท
รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน กล่าวเพิ่มเติมว่า การมอบรางวัลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์ ในแต่ละปีจะมีการกำหนด Theme ที่แตกต่างกันไป สำหรับปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ Theme "Real-World Impact for Sustainability" ซึ่งเน้นงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงและสร้างผลกระทบเชิงบวกสูงต่อสังคม ครอบคลุม 3 สาขาหลัก ได้แก่ 1.วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) 2.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) 3.สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะรางวัล (Social Sciences, Humanities and Art) โดยมีเกณฑ์การพิจารณา 5 ด้านหลักๆ ดังนี้ 1. การได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ (National or International Recognition) เป็นผลงานที่ได้รับรางวัล ได้รับการอ้างอิง หรือมีการนำไปใช้จริงโดยหน่วยงานสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Originality) เป็นงานวิจัยที่มีความสร้างสรรค์หรือมีการคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมที่มีอยู่ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือการค้นพบแนวทางการรักษาโรคใหม่ๆ 3. ศักยภาพในการขยายผลและผลกระทบระยะยาว (Scalability/Long-Term Impact) เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้ในวงกว้างหรือขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นหรือสามารถปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างออกไปได้ เช่น การขยายผลจากชุมชนเล็กๆ ไปสู่ระดับประเทศ 4. ความยั่งยืนของผลงาน (Sustainability) สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมาก
และมีแผนรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 5. การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เชิงระบบ (Systemic Changes) สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม หรือสร้างมาตรฐานใหม่ที่สามารถนำไปใช้ในระดับประเทศหรือสากลได้
รางวัล"มหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์" ได้รับแรงบันดาลใจและการสนับสนุนจาก พล.ต.อ. นายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นมากกว่ารางวัลเชิดชูเกียรติ แต่เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยไทย ให้ก้าวข้ามจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้ พร้อมสร้างค่านิยมใหม่ในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ไม่ใช่เก็บไว้ขึ้นหิ้งแต่เน้นการนำไปใช้ประโยชน์จริง ถือเป็นก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนวงการวิจัยไทย
มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์และผลักดันงานวิจัยไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สนับสนุนนักวิจัยไทยก้าวสู่เวทีโลก เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ประโยชน์สุขอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่เพื่อประเทศไทยแต่เพื่อสังคมโลกโดยรวม" รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน กล่าวปิดท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจเสนอชื่อนักวิจัยเข้ารับรางวัล สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://jongjate-award.mahidol.ac.th/ เปิดรับการเสนอชื่อตั้งแต่วันนี้ ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2568 เสร็จสิ้นกระบวนการสรรหาและประกาศผลผู้ได้รับรางวัลภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568
ติดต่อสอบถาม กองบริหารงานวิจัย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ : 02 849 6245 อีเมล : [email protected]
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล - สวทช. แถลงเป้าหมายและแนวทางโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ-เสริมแกร่งระบบวิจัยและนวัตกรรม
—
มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยา...
วว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง Research consortium: Probiotics ผลักดันงานวิจัยโพรไบโอติกไทยสู่อุตสาหกรรม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาห...
กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
—
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...
สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025
—
ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...
สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้
—
"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...