องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (UR) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency, UR) ได้ทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาเมืองและการส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่

องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (UR) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency หรือ UR) เป็นองค์กรสาธารณะของญี่ปุ่นที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเมือง เช่น การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งทางราง (TOD*) ในประเทศต่าง ๆ อาทิ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการดำเนินงานของ UR เป็นไปตาม 'กฎหมายว่าด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ' ซึ่งประกาศใช้ในปี 2561 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (UR) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

โดยในครั้งนี้ UR ได้แลกเปลี่ยน MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยติดอันดับท็อปของเอเชีย ซึ่งการแลกเปลี่ยน MOU ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดการขยายตัวของเมืองอย่างไม่เป็นระบบ และผลักดันการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ โดย UR จะใช้ 'ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองมามากกว่า 500** โครงการในประเทศญี่ปุ่น' ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี 'ความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเมืองและการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ในประเทศไทย' นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนในการร่วมมือกันจัดฟอรั่มในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นก้าวแรกของความร่วมมืออีกด้วย


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+ประเทศญี่ปุ่นวันนี้

กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลกจากดอยสอยมาลัย - หลังคาเมืองตาก ค้นพบโดยอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติระดับ Q1

ทีมวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ และ รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Graduate School of Human and Environmental Studies มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น นักวิจัยจากสถาบันอื่น และหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันศึกษาและตั้งชื่อกะท่างน้ำจากดอยสอยมาลัย ซึ่งเป็นกระท่างน้ำชนิดใหม่ของโลกใน

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...