สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและเยี่ยมชม "ธนาคารปูม้า : เครื่องมือการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน" ภายใต้ โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ "คืนปูม้าสู่ทะเลไทย" ณ ธนาคารปูม้าบ้านใต้ เกาะสมุย หาดบ้านใต้ ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการธนาคารปูม้าซึ่งดำเนินการโดยชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการพัฒนาและส่งเสริมโครงการธนาคารปูม้ามุ่งเน้นการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล การส่งเสริมการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคการวิจัย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาชีพให้กับชุมชนท้องถิ่น วช. มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะขยายผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี หัวหน้าโครงการธนาคารปูม้า กล่าวว่า โครงการธนาคารปูม้าของชุมชนบ้านใต้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจากชุมชนและ วช. การเกิดขึ้นและความสำเร็จของโครงการธนาคารปูม้าเป็นผลจากความร่วมมือและความตั้งใจในการฟื้นฟูทรัพยากรในพื้นที่ ในการดำเนินโครงการธนาคารปูม้าในพื้นที่เกาะสมุยถือว่าแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ เนื่องจากสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ทำให้โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับมิติของการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสนับสนุนการศึกษาและวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ช่วยเสริมสร้างข้อมูลในการส่งออกปูม้าอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจและการจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ โครงการธนาคารปูม้ายังมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น โดยการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างมีคุณค่าและความยั่งยืนโดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ องค์การบริการส่วนจังหวัดฉะเชิงเทราและสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นำกิจกรรมการแสดงโดรนแปรอักษรฝีมือการออกแบบของเยาวชน ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในงาน "มหกรรมอาหารและ OTOP ฉะเชิงเทรา 2568" โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรม ทั้งนี้ นายชนะวิทย์ ฉายแสง เลขานุการนายกองค์การบริการส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวขอบคุณและให้การต้อนรับ พร้อมผู้เข้าร่วมกิจกรรม
วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...
อว.เพื่อประชาชน เปิดศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมโดรนเพื่อการเกษตร สู่ชุมชนยั่งยืน ในกิจกรรม ครม.สัญจร ณ วิทยาลัยการอาชีพนาแก จ.นครพนม
—
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
วช.-เทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี นำเทคโนโลยีโดรนแปรอักษร ส่งเสริมการท่องเที่ยวในงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ปี 2568
—
วช.-เทศบาลเมืองศรีราชา จ.ช...
วช. และเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี นำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่ภาคตะวันออก
—
วช. และเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี นำนวัตกรรมปัญญ...
มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเ...