PDPC ผนึกกำลังภาครัฐ-ภาคเอกชนปิดช่องโหว่สแกนม่านตา ลุยตรวจสอบแพลตฟอร์มดิจิทัล คุมเข้ม PDPA

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดเวทีด่วน ผนึกกำลัง ETDA - กลต. - สอท - ปอท. - DSI และภาคเอกชน ร่วมกันวางแนวทางกำกับดูแลการเก็บและใช้ข้อมูลชีวมิติ ภายหลังเกิดกรณีกิจกรรม "สแกนม่านตาเพื่อรับสินทรัพย์ดิจิทัล" ที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางความกังวลมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPC ผนึกกำลังภาครัฐ-ภาคเอกชนปิดช่องโหว่สแกนม่านตา ลุยตรวจสอบแพลตฟอร์มดิจิทัล คุมเข้ม PDPA

พ.ต.อ. สุรพงศ์ เปล่งขำ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรณีประชาชนจำนวนมากเข้าสแกนม่านตาในกิจกรรมเพื่อรับสินทรัพย์ดิจิทัล จนมีความกังวลในประเด็นความปลอดภัยของข้อมูล หรือการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ตลอดจนความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย สคส. เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และวางแนวทางร่วมกัน ทั้ง หน่วยงานจากภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA), สำนักงาน ก.ล.ต., สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ,กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), ศูนย์ PDPC Eagle Eye พร้อมด้วยภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริษัท ทีไอดีซี เวิลด์เวิร์ส จำกัด, บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด, บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เจ.ไอ.บี. คอมพิวเตอร์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) PDPC ผนึกกำลังภาครัฐ-ภาคเอกชนปิดช่องโหว่สแกนม่านตา ลุยตรวจสอบแพลตฟอร์มดิจิทัล คุมเข้ม PDPA

สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ การวางกรอบมาตรการที่ชัดเจนต่อการใช้ข้อมูลชีวมิติ (biometric data) โดยเฉพาะข้อมูลม่านตา ซึ่งถือเป็น "ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว" ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) และมีเนื้อหาประเด็นร่วมของทุกหน่วยงาน ได้แก่

  • สคส. จะเข้าตรวจสอบขั้นตอนการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลให้เป็นไปอย่างชัดแจ้ง รวมถึงการแจ้งวัตถุประสงค์และสิทธิในการเพิกถอนข้อมูล หากพบการฝ่าฝืนจะดำเนินการตามกฎหมาย PDPA ทันที
  • ETDA ร่วม PDPC Eagle Eye จะตรวจสอบว่าแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ใน world app ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์จะต้องยุติการใช้งาน
  • กลต. จะตรวจสอบหากพบว่ามีการใช้แอปต่างประเทศเพื่อหารายได้ในระบบ จะดำเนินการตามระเบียบกฎหมายตลาดทุน
  • ตำรวจไซเบอร์ ยืนยันว่าจะดำเนินคดีในทันที หากพบการนำข้อมูลชีวมิติไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือมีการหลอกลวงให้สแกนม่านตาโดยจงใจ

ทางด้านตัวแทนบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวชี้แจงว่า การเก็บข้อมูลม่านตามีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นมนุษย์ (Proof of Humanity) โดยไม่มีการจัดเก็บถาวร และข้อมูลจะถูกลบอย่างถาวรหลังการใช้งาน พร้อมส่งหลักฐานให้ สคส. ตรวจสอบ

นอกจากนี้ บริษัทยังให้คำมั่นจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติม คือ จะจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเตือนภัยเรื่องการรับจ้างสแกน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเงินที่มาจากการกระทำผิด และยืนยันว่าแต่ละบัญชีสามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะเจ้าของเท่านั้น

พ.ต.อ. สุรพงศ์ เปล่งขำ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของ สคส. และหน่วยงานพันธมิตรรัฐในการสร้างกลไกร่วมดูแลการใช้เทคโนโลยีชีวมิติในภาคประชาชน โดยเน้นย้ำว่า "เทคโนโลยีต้องไม่ละเมิดสิทธิ" และ "ข้อมูลส่วนบุคคลต้องอยู่ภายใต้ความยินยอมที่แท้จริง" การสแกนม่านตา หรือการใช้ข้อมูลชีวมิติในอนาคต ไม่ว่าจะในรูปแบบ Digital ID, AI-based KYC หรือ Blockchain-based Identity จะต้องได้รับการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบนิเวศดิจิทัลไทยต่อไป

หากประชาชนหรือผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือต้องการแจ้งเหตุอันอาจละเมิดสิทธิ สามารถติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) โทร. 02-111-8800 หรือทางอีเมล [email protected]


ข่าวสินทรัพย์ดิจิทัล+คณะกรรมการวันนี้

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและการเปิดเผยต่อ ก.ล.ต.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลต่อ ก.ล.ต. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความเสี่ยงของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลและการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านเครื่องมือ smart detection ให้สอดคล้องกับบริบทและลักษณะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ เมื่อเดือนเมษายน

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลมาให้บริการในศูนย์ซื้อขายฯ เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของอุตสาหกรรม

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลมาให้บริการ ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ศูนย์ซื้อขายฯ) เพื่อ...

บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการ ... Bitkub Exchange และ Bitkub Academy ชวน MapleStory Universe บุกเบิกอนาคตของเกม Web3 ในไทย — บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการ Bitkub Exchange แพลตฟอ...