ผลการสำรวจโดยเคพีเอ็มจี เผยความไว้วางใจใน AI ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ สะท้อนความไม่สอดคล้องกันระหว่างประโยชน์และความเสี่ยง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ประเด็นสำคัญ

ผลการสำรวจโดยเคพีเอ็มจี เผยความไว้วางใจใน AI ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ สะท้อนความไม่สอดคล้องกันระหว่างประโยชน์และความเสี่ยง
  • AI ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้ว โดยผู้ที่ตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 66 ใช้ AI เป็นประจำ และกว่าร้อยละ 83 เชื่อว่า AI จะสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล
  • อย่างไรก็ตาม ความไว้วางใจยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ โดยมีเพียงร้อยละ 46 ของผู้คนทั่วโลกที่ที่พร้อมจะเชื่อมั่นใน ในระบบ AI
  • ผู้คนส่วนใหญ่ต้องการให้มีกฎหมายกำกับดูแล โดย ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสำรวจ เชื่อว่า จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแล AI ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
  • ผู้ใช้งานหลายคน เชื่อในผลลัพธ์จาก AI โดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง (ร้อยละ 66) และเคยทำงานผิดพลาดเพราะ AI (ร้อยละ 56)

เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เผยผลการศึกษาระดับโลกฉบับล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าผู้คนทั่วโลกกว่าครึ่งยังคงไม่ไว้วางใจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างประโยชน์ที่ได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

รายงานเรื่อง "Trust, attitudes and use of Artificial Intelligence: A global study 2025" นี้จัดทำขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ศาสตราจารย์นิโคล กิลเลสพี ดำรงตำแหน่ง Chair of Trust จาก Melbourne Business School มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และ ดร. สตีฟ ล็อกกีย์ นักวิจัยจาก Melbourne Business School กับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานฉบับนี้ถือเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความไว้วางใจ การใช้งาน และทัศนคติของสาธารณชนที่มีต่อ AI ที่มีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุดในโลก

ผลการศึกษาในรายงานฉบับนี้ ได้มาจากสำรวจความคิดเห็นของผู้คนกว่า 48,000 คน จาก 47 ประเทศทั่วโลก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ถึงมกราคม 2568 โดยผลการสำรวจพบว่า แม้ร้อยละ 66 ของผู้คนใช้งาน AI อย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก (ร้อยละ 58) มองว่า AI ยังไม่น่าไว้วางใจ

คริสโตเฟอร์ ซอนเดอร์ส หุ้นส่วนและหัวหน้าแผนกที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า "เป็นที่น่าสนใจว่าผู้คนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มที่จะใช้งาน AI เชื่อมั่น และทราบถึงประโยชน์ของ AI สูงกว่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม้ผลกระทบของเทคโนโลยี AI ไม่ได้กระจายตัวอย่างเท่าเทียมกัน แต่ศักยภาพของ AI เป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่ทุกคนเข้าถึงได้

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า AI คือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ AI จะต้องได้รับการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ เพื่อให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างเต็มที่"

"ในส่วนองค์กรธุรกิจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจว่า AI นั้นมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ เพราะผู้ใช้ต้องการความเชื่อมั่นในระบบที่พวกเขาใช้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพสูงสุดของ AI จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้คนไว้วางใจในระบบที่ทำการตัดสินใจหรือช่วยในการตัดสินใจ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เคพีเอ็มจีพัฒนาแนวทาง 'Trusted AI' ขึ้นมา เพื่อทำให้ความไว้วางใจเป็นสิ่งที่จับต้องได้และวัดผลได้จริงให้กับลูกค้าของเรา" คริสโตเฟอร์ กล่าวเสริม

การใช้ AI ในโลกทำงาน

ปัจจุบันพนักงานจำนวน สามในห้า (ร้อยละ 58) ใช้งาน AI ในการทำงาน และหนึ่งในสาม (ร้อยละ 31) เผยว่า มีการใช้งานเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกวัน

การใช้งานในระดับสูงนี้ก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย โดยพนักงานส่วนใหญ่รายงานว่าประสิทธิภาพในการทำงาน การเข้าถึงข้อมูล และนวัตกรรมเพิ่มสูงขึ้น เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48) รายงานว่า AI ช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานที่สร้างรายได้ให้แก่องค์กรได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ในที่ทำงานก็สร้างความเสี่ยงที่ซับซ้อนให้กับองค์กรเช่นกัน พนักงานเกือบครึ่งยอมรับว่าใช้ AI ในลักษณะที่ขัดต่อนโยบายของบริษัท เช่น การนำข้อมูลสำคัญของบริษัทไปใช้กับเครื่องมือ AI ที่เปิดให้ใช้งานแบบสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่าง ChatGPT นอกจากนี้ หลายคนยังพึ่งพาผลลัพธ์จาก AI โดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง (ร้อยละ 66) และทำงานผิดพลาด (56%) จากการเชื่อมั่นในผลลัพธ์จาก AI แล้ว

อิทธิพัทธ์ ลิมป์มณีรักษ์ หุ้นส่วนและที่ปรึกษาทางด้าน Data, Al & Analytics เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า "ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า AI สร้างประโยชน์ให้กับประสบการณ์ของพนักงานและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ แต่ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่ผู้นำธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการใช้ AI อย่างรับผิดชอบและโปร่งใส รวมถึงการวางกรอบการทำงานด้วยหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการให้ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการนำ AI มาใช้งานในองค์กร"

การใช้ AI ในสังคม

ผู้ที่ตอบแบบสำรวจ จำนวนสี่ในห้า รายงานว่าเคยได้ประโยชน์จาก AI ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการลดเวลาที่ใช้ในงานที่ทำซ้ำ จำเจ ได้รับการบริการที่ตรงใจมากขึ้น การลดต้นทุน และการเข้าถึงที่บริการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ในขณะเดียวกัน มีผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วนเดียวกัน (สี่ในห้า) ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง และสองในห้า เผยว่าเคยประสบกับผลกระทบเชิงลบจาก AI ไม่ว่าจะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงประเด็นปัญหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือน

ตรีนุช บุญเรืองถาวร กรรมการบริหาร ที่ปรึกษากฎหมาย เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า "ในประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลได้เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการที่ใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ พ.ศ. ....(ร่างพระราชกฤษฎีกา) และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย พ.ศ. ....(ร่างพระราชบัญญัติ) พร้อมด้วยร่างหลักการของกฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับสอดคล้องกับความก้าวหน้าในการพัฒนา AI กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติในต่างประเทศ ตลอดจนบริบทภายในประเทศ"

"กฎระเบียบและแนวทางที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมหลักการสำคัญในการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม ครอบคลุมประเด็นด้านความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ความมั่นคงและความปลอดภัย ความทนทานและความน่าเชื่อถือ การยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ความเป็นส่วนตัวและธรรมาภิบาลข้อมูล รวมถึงความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ ปัจจุบันร่างหลักการของกฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ ได้สิ้นสุดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเพื่อที่จะใช้ในการทบทวนปรับปรุงร่างพระราชกฤษฎีกา และร่างพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้น และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อออกบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาที่กฎหมายดังกล่าวจะมีการประกาศและบังคับ แต่การเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ AI อย่างมีจริยธรรมภายใต้กรอบกฎหมายนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานในระยะยาวได้อย่างแน่นอน"

อ้างอิง: https://kpmg.com/th/en/home/insights/2025/07/trust-attitudes-and-use-of-ai.html

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น นำโดย ศาสตราจารย์ นิโคล กิลเลสพี และ ดร. สตีฟ ล็อคกี้ เป็นผู้ดำเนินการวิจัยชุดนี้อย่างอิสระ ตั้งแต่การออกแบบสำรวจ การสำรวจ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการศึกษาครั้งที่สี่ในโครงการวิจัยที่มุ่งสำรวจความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเริ่มต้นในปี 2563 ด้วยการศึกษาความเชื่อมั่นของชาวออสเตรเลียต่อ AI จากนั้นในปี 2564 ได้ขยายผลสำรวจไปยังห้าประเทศ และล่าสุดในปี 2565 มีการขยายการสำรวจครอบคลุมถึง 17 ประเทศ

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Chair in Trust ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและเคพีเอ็มจี ออสเตรเลีย โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เคพีเอ็มจี ออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น


ข่าวระหว่างประเทศ+รายงานฉบับนี้วันนี้

เสริมศักยภาพอนาคตดิจิทัลของไทยด้วยนวัตกรรม AI และ Cloud

บทความโดย นายฌอน หยวน รองประธานฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศและผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และภูมิภาคแปซิฟิกใต้อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากแรงหนุนของภาครัฐ ภาคเอกชน และความต้องการคลาวด์และ AI ประสิทธิภาพสูงที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างนำเครื่องมือดิจิทัลหลากหลายไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้ลูกค้า และเปิดประตูสู่โอาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ส่งผลให้คลาวด์และ AI กลาย

ไต้หวันยกระดับการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านสุ... 'ไต้หวัน-ไทย' ผนึกพลังดันแคมเปญ 'Go Healthy with Taiwan 2025' ยกระดับสุขภาพแบบองค์รวมของคนไทย — ไต้หวันยกระดับการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านสุขภาพแบบองค์รวม (W...

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ สมาคมผู้รับจั... กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจับมือ TIFFA จัดอบรม "e-Customs" — กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เปิดฝึกอบรมหลักสูตร e-Customs...

สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างปร... KOICA จับมือมหาลัยสวนดุสิต จัดงานแบ่งปันความรู้และสัมมนาระดับนานาชาติ 2568 — สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KOICA) ร่วม...

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู... เยาวชนไทยพร้อมลุยเวทีโลก! สสวท. ส่งทีมฟิสิกส์โอลิมปิกสู่ปารีส ประชันความรู้ระดับนานาชาติ — รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริ...