แคสเปอร์สกี้เผย เหตุการณ์ร้ายไซเบอร์เพิ่มขึ้น 16.57% เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในไทยที่ถูกเจาะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยที่ถูกเจาะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2568 (เมษายน - มิถุนายน) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายจำนวน 223,700 ครั้ง ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่หนึ่งที่มี 191,909 ครั้ง ถึง 16.57%

แคสเปอร์สกี้เผย เหตุการณ์ร้ายไซเบอร์เพิ่มขึ้น 16.57% เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในไทยที่ถูกเจาะ

ประเทศไทยมีสถิติที่น่าจับตามองในรอบสามปีที่ผ่านมาก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 พบเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์จำนวน 64,609 ครั้ง ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเป็น 196,078 ครั้ง และ 223,700 ครั้งในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ แคสเปอร์สกี้เผย เหตุการณ์ร้ายไซเบอร์เพิ่มขึ้น 16.57% เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในไทยที่ถูกเจาะ

ข้อมูลสำคัญจากรายงานแคสเปอร์สกี้อีกประการหนึ่ง ชี้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ตรวจพบจำนวนที่เพิ่มขึ้น แต่อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์กลับมีจำนวนลดลง ทั้งนี้สิงคโปร์ยังคงมีจำนวนเหตุการณ์อันตรายสูงสุดในภูมิภาคในไตรมาสที่ 2 นี้ที่ 4,995,653 ครั้ง

ผู้ก่อภัยคุกคามจะโจมตีและใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกละเมิดเพื่อโฮสต์เว็บไซต์ใช้ส่งมัลแวร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ทันระวังจะถูกหลอกล่อเข้าสู่เว็บไซต์อันตรายโดยใช้โฆษณาปลอม ลิงก์ฟิชชิงในอีเมล SMS และวิธีการอื่นๆ จากนั้นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อจะถูกอาชญากรไซเบอร์สำรวจเพื่อหาช่องโหว่และช่องทางละเมิด ในขณะที่ผู้ใช้เผชิญกับภัยคุกคามออนไลน์จากสถานการณ์ดังกล่าว โซลูชันของแคสเปอร์สกี้จะตรวจจับและบล็อกภัยคุกคามนั้น อีกทั้งยังค้นหาและบันทึกแหล่งที่มาของภัยคุกคามด้วย

รายงานข้อมูลประเทศไทยของแคสเปอร์สกี้นี้สอดคล้องกับสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ภัยคุกคามหลักที่ตรวจพบในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 คือความพยายามบุกรุก (41%) และความปลอดภัยของเนื้อหา (20%) ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รายงานยังแสดงให้เห็นว่าภาคการศึกษา (26%) ภาครัฐ (20%) และภาคการเงิน (17%) เป็นองค์กรเป้าหมายการโจมตีหลักของประเทศไทย

เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งพื้นที่ดิจิทัลที่กว้างขึ้น การนำดิจิทัลมาใช้รวดเร็วขึ้น และจำนวนผู้ก่อภัยคุกคามที่มีความช่ำชองที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของไทยได้รับแรงกระตุ้นจากโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น ประเทศไทย 4.0 การนำคลาวด์มาใช้ และโมบายแบงก์กิ้ง ทำให้จำนวนบริการออนไลน์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดิจิทัลฟุตปริ้นต์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาชญากรไซเบอร์มีช่องทางเพื่อโจมตีได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบนั้นไม่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม"

เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์ได้แปรเปลี่ยนเป็นการโจมตีที่ล้ำหน้าและซับซ้อนมากขึ้น ในปี 2567 ธุรกิจและองค์กรทั่วประเทศไทยต่างประสบกับภัยคุกคามจำนวนมาก โซลูชันของแคสเปอร์สกี้สามารถตรวจจับและบล็อกความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินได้ 247,560 ครั้ง ภัยคุกคามบนอุปกรณ์ 5,600,000 ครั้ง การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซ 7,298,037 ครั้ง และการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 13,958 ครั้ง

"ยิ่งมีมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับองค์กรมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งตรวจพบเหตุการณ์ได้มากขึ้นเท่านั้น เครื่องมือที่ล้ำหน้าและครอบคลุมสามารถตรวจจับการโจมตีได้มากกว่าเดิม ซึ่งทำให้เห็นว่าเหตุการณ์อันตรายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่แท้จริงแล้วการโจมตีหลายครั้งอาจไม่เคยถูกตรวจพบมาก่อน ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่างๆ จึงควรพิจารณาความปลอดภัยไซเบอร์ว่าเป็นการลงทุนเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจและเป็นกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปกป้องทรัพย์สิน ข้อมูล รวมถึงรักษาความไว้วางใจของลูกค้าและพันธมิตรต่อไป" เบญจมาศกล่าวเสริม

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ธุรกิจทุกขนาดดำเนินการเพื่อปกป้องระบบจากการถูกละเมิดดังต่อไปนี้

  • ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการใช้ไฟร์วอลล์ ระบบตรวจจับการบุกรุก และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Kaspersky Next เพื่อปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์
  • สำรองข้อมูลเป็นประจำ หากถูกโจมตี การสำรองข้อมูลจะทำให้สามารถกู้คืนไฟล์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่
  • อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเครือข่าย
  • สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ควรพิจารณาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้นโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือ SIEM (การจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย) เช่น Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform (KUMA) ซึ่งเป็นคอนโซลรวมสำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูล และโซลูชัน Kaspersky Next XDR ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งซึ่งป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้
  • การให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านเครื่องมือ Kaspersky Automated Security Awareness Platform พนักงานควรตระหนักถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ และวิธีการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ


ข่าวแคสเปอร์สกี้+เซิร์ฟเวอร์วันนี้

Kaspersky Q1 2025: เหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ถูกละเมิดในไทยได้เกือบ 192,000 ครั้ง

แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศไทยที่ถูกละเมิด แคสเปอร์สกี้บล็อกเหตุการณ์จำนวน 191,909 ครั้งในไตรมาสแรกของปี 2025 (มกราคม-มีนาคม) ซึ่งเพิ่มขึ้น 21.51% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีเพียง 157,935 ครั้ง สถิติของประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2021 มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ไทยจำนวน 32,739 ครั้ง และพุ่งสูงสุดในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 191,909 ครั้ง

รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บ... Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 เหตุการณ์โจมตีเกือบ 200,000 ครั้ง มาจากเซิร์ฟเวอร์ในไทย — รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระด...

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้ค้นพบชุดของการโ... มาแล้ว! มัลแวร์จารกรรมข้อมูลภาคอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้พบทูลเซ็ตใหม่อำพรางตัวได้นาน — นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้ค้นพบชุดของการโจมตีที่มีเป้าหมายเป็นภาคอุตส...

ข้อมูลล่าสุดของแคสเปอร์สกี้พบว่า ในไตรมาส... รายงานแคสเปอร์สกี้เผย ภาคอุตฯก่อสร้างเป็นเป้าหมายหลักของภัยคุกคาม ICS ใน SEA — ข้อมูลล่าสุดของแคสเปอร์สกี้พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2025 สำหรับภูมิภาคเอเชียต...

เร็วๆ นี้มีประกาศว่า Gemini AI ของ Google... แคสเปอร์สกี้แนะนำการตั้งค่า Gemini เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน — เร็วๆ นี้มีประกาศว่า Gemini AI ของ Google จะสามารถเข้าถึงแอปของบุคคลที่สาม...

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบ... แคสเปอร์สกี้พบ SparkKitty สปายโทรจันใหม่บน App Store และ Google Play เล็งขโมยคริปโตในอาเซียน - จีน — นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบสปายโทรจันตั...

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ประกาศผลประกอบกา... Kaspersky เปิดผลประกอบการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2024 ตลาด B2B แข็งแกร่ง โต 8% — แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ประกาศผลประกอบการด้านการเงินของภูมิภาคเอเชียตะว...