กรุงเทพ--20 มิ.ย.--บล.เอกธำรง
นางขนิษฐา สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการ สายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน) ได้แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลักดันมาตรการการควบกิจ การของทางการให้เป็นรูปธรรมว่า "การผลักดันของทางการให้เกิดการควบกิจการเป็นตัว อย่างที่ดี ของการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัว อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวยังมีข้อติดขัดอยู่มากในวิธีปฏิบัติ ซึ่งหากไม่ ได้รับการแก้ไขก็ยากที่จะทำให้เกิดการควบกิจการขึ้นมาได้ ปัญหาดังกล่าวสามารถจำแนก ได้ 2 ประการ กล่าวคือ
ประการที่หนึ่ง การตีความ และหรือการแก้ไขกฎหมาย และประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน และอำนวยความสะดวกในการควบกิจการ ทั้งนี้เป็น งานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคลัง กระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งหากไม่มีการตั้ง คณะกรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ข้อคิดเห็นและการตีความสำหรับภาคปฏิบัติในระยะสั้น กับเพื่อร่วมกันผลักดันการแก้ไขตัวบทกฎหมายในระยะยาวแล้ว การดำเนินการควบกิจการ จะเกิดขึ้นได้ยากมากภายใต้โครงสร้างของกฎหมายไทย ประเด็นที่เป็นข้อแก้ไขพอจะสรุป ได้ดังนี้ * เรื่องภาษีอากร - การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีซื้อทรัพย์สิน หรือลูกหนี้
- การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะรายได้ดอกเบี้ย
- การยกเว้น Capital Gain Tax ของบริษัทผู้โอนหรือขาย ทรัพย์สิน และของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่ถูกควบกิจการ ที่จะต้องแปลงหุ้นที่ตนถือในบริษัท เดิมไปเป็นของบริษัทใหม่ * เรื่องกฎหมายมหาชน - การกำหนดให้บริษัทผู้ควบกิจการต้องจัดหาผู้ซื้อหลักทรัพย์
คืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในราคาตลาดล่าสุด
- การตีความมาตรา 119 ในข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ส่วน
เกินมูลค่าหุ้น * เรื่องกฎหมายแพ่งพาณิชย์
- การห้ามขายหุ้นให้แก่บุคคลที่มิใช่ผู้ถือหุ้นเดิม * เรื่อง Trust Law และ การทำ Treasury Stock
- การมีกฎหมายรองรับกรณีดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกให้ การควบกิจการ หรือการจัดโครงสร้างกิจการทำให้รวดเร็วขึ้น
ประการที่สอง การลดขั้นตอนแลระยะเวลาในการดำเนินกิจการ ในข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเช่น การลดระยะเวลาในเรื่องการเพิ่มทุน/ลดทุน ตามกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ หรือกฎหมายมหาชน และขั้นตอนปฎิบัติของสำนักงาน กลต., ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ กระทรวงพาณิชย์
ประเด็นที่สาม ความเป็นไปได้ของการควบกิจการในเชิงธุรกิจซึ่งจะต้องสาน ประโยชน์ของทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้เข้าด้วยกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นของทั้ง สององค์กร ตลอดจนเจ้าหนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็น ชอบถึง 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุม
สิ่งที่จะต้องกระทำอย่างเร่งด่วน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความช่วยเหลือ ของทางการ การลดอุปสรรคต่าง ๆ ในข้อกฎหมายและระเบียบปฎิบัติที่ไม่ชัดเจนจนอาจจะ ก่อให้เกิดความเสี่ยงในเชิงธุรกิจที่จะกระทำให้โอกาสของการควบกิจการเป็นไปได้ยากขึ้น" นางขนิษฐา กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด--จบ--