แบงก์เยอรมัน KfW มองเศรษฐกิจไทยสวนกระแส Moody's และ S&P

18 Apr 1997

กรุงเทพ--18 เม.ย.--KfW

สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูแห่งเยอรมัน หรือ KREDITANSTALT FUR WIEDERAUFBAU (KfW) เป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับจากทั่ว โลกแห่งหนึ่งของเยอรมัน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ยังเติบโต อีกไกล สวนกระแสการลดเครดิตของ Moody's และ S&P

Mr. HANS W.REICH MEMBER BOARD OF MANAGEMENT ของ KfW แห่ง เยอรมันในฐานะผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยล่าสุดปล่อยเงินกู้จำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท ให้กับบริษัท อุตสาหกรรมเหล็กกล้า ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TSSI ได้ให้ความเห็นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่งกำลัง ซบเซาอยู่ขณะนี้ว่าการที่สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ Moody's และ S&P ลด อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศและสถาบันการเงินไทยที่ผ่านมา

เป็นการวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยในภาวะปัจจุบันเท่านั้น

เรียกได้ว่าเป็นการวิจารณ์สภาพเศรษฐกิจไทยใน ระยะสั้น ในขณะที่มุมมองของนายธนาคารจะมองภาพรวมในระยะยาว เพราะการที่สถาบัน การเงินต่างประเทศจะให้การสนับสนุนปล่อยเงินกู้ให้แก่ภาคเศรษฐกิจไทย จะต้องวิเคราะห์ จากปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ตลอดจนความแข็งแกร่งของประเทศในทุก ๆ ด้าน

Mr. HANS W.REICH กล่าวต่ออีกว่า ในความเป็นจริงแล้วรากฐานของ ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความมั่นคงและแข็งแรงในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการลงทุน การ ผลิตและการบริโภคปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจของ ประเทศเติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้ และจะยังคงเติบโตอีกต่อไปในอนาคต และการที่ประเทศ ไทยมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% ถือว่าดีอยู่ และศักยภาพ หากเปรียบกับประเทศ เยอรมันซึ่งถ้ามีอัตราการเติบโตถึง 3% ก็เป็นที่น่าพอใจแล้ว

ส่วนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ซบเซาหากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ก็ใช่ว่าจะ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวตกต่ำตามไปด้วย ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นภาคตลาดทุน หรือด้านอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้นมาเพราะการเก็งกำไร ซึ่งทำให้ราคาไม่สมเหตุสมผลกับความเป็นจริง

สำหรับปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคง ซบเซาอยู่ขณะนี้ก็เช่นกัน

สถาบันการเงินต่างประเทศมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการปรับ โครงสร้างองค์กรให้เข้มแข็งมากกว่า ถ้าหากราคาสูงเกินไปก็ต้องปรับลงมา ซึ่งเป็นการ ปรับฐานเพื่ออนาคตจะได้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมเป็นพวกนักเก็งกำไรอย่างแน่ นอน แต่สำหรับผู้ประกอบการแล้วจะได้รับประโยชน์ในระยะยาวกับการปรับตัวเพื่อความอยู่ รอดต่อไปในอนาคต

Mr.HANS W.REICH กล่าวอย่างมั่นใจว่า ในฐานะที่เป็นธนาคารชาวต่างชาติ การลดอันดับความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจของประเทศ หรือของสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ ทำให้เขาเกิดความกังวลใจ หรือความลังเลใจที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ ไทยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงข้ามเขากลับมองว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพ ในการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจได้อีกยาวไกล และสำหรับภาคธุรกิจที่ KfW ให้การ สนับสนุนไปนั้นล้วนแต่เป็นโครงการที่ได้พิจารณาแล้วว่ามีอนาคต สามารถทดแทนและส่งออก สินค้าให้แก่เพื่อนบ้านบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

นอกจากนี้ Mr. HANS ยังได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของสถาบัน การเงินไทยเกี่ยวกับการควบกิจการว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งที่สถาบันการเงินไทยตื่นตัวที่จะทำ การควบกิจการกัน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านั้นแข็งแกร่งขึ้น และสามารถ ยืนหยัดทำธุรกิจต่อไปได้อีกในระยะยาว แต่ต้องไม่ให้ภาคธุรกิจอื่นหรือกิจการอื่น ๆ รอบ ข้างเสียประโยชน์ หรือทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงไปอีก

แต่ในทางกลับกันสำหรับบริษัทเล็ก ๆ ที่มีปัญหาอยู่แล้ว และมารวมตัวกัน ก็คง ไม่เป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะคงไม่ช่วยให้กิจการดีขึ้น

Mr. HANS ให้ความเห็นต่อว่า การจะทำนายว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเมื่อ ไหร่นั้นคงเป็นไปลำบาก

แต่มองว่ารัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขและลงมือทำไปบ้างแล้ว และคิดว่าคงจะเห็นผลในระยะอันใกล้นี้

พร้อมกันนี้ยังได้ทิ้งท้ายว่า KfW มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพพอ และคงไม่ หยุดยั้งที่จะให้การสนับสนุนการปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการอื่น ๆ ที่มีอนาคตดีต่อไป--จบ--