6 องค์กรใหญ่ภาครัฐ-เอกชน จับมือจัดตั้งโครงการ CHEPS ผลิตวิศวกรเคมี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--28 มี.ค.--สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จับมือสองยักษ์ใหญ่ด้านโรงกลั่นน้ำมัน-ปิโตรเคมี "ไทยออยล์-ปูนใหญ่" จัดตั้งโครงการ "CHEPS" มุ่งผลิตวิศวกรเคมีแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมพลังงาน-ปิโตรเคมี เผยสถาบัน MIT แห่งสหรัฐอเมริกาพร้อมถ่ายทอดโนฮาวหลักสูตรการสอน และชี้เป็นแห่งแรกของประเทศที่มีการฝึกฝนทักษะ ด้านสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - มูลนิธิศึกษาพัฒน์ หนุนช่วยอีกแรง ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMITT) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด และบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ดำเนินการจัดตั้งโครงการปริญญาโททักษะวิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING PRACTICE SCHOOL : CHEPS) ขึ้นเพื่อผลิตและเสริมสร้างให้บุคลากรทางด้านวิศวกรรมเคมีทักษะความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น สามารถรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีของประเทศในอนาคต รวมถึงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรนี้โดยเฉพาะ "ด้วยวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายเดียวกันของทั้งสถาบันฯ บริษัทไทยออยล์ และบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ที่เล็งเห็นถึงการพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรทางด้านวิศวกรรมเคมีที่เป็นบุคลากรพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการจัดตั้งโครงการ CHEPS นี้ขึ้น" ดร.หริส สูตะบุตรกล่าว ดร.หริส สูตะบุตร กล่าวต่อไปอีกว่า หลักสูตรของโครงการ CHEPS นี้ สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซทส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวและประสบความสำเร็จอย่างสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 80 ปีแล้ว โดยสถาบัน MIT ยินยอมให้นำมาใช้เพื่อการศึกษาของนักศึกษาตามโครงการนี้ได้ นับได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศของโลกที่ได้รับความร่วมมือจาก MIT ให้มีการนำหลักสูตรนี้มาใช้ในโปรแกรมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาในประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของสถาบันฯ เองจะนำหลักสูตรของ MIT มาให้นักศึกษาเรียนจำนวน 2 ภาคการศึกษา ประกอบด้วย การเรียนวิชาชีพพื้นฐาน และวิชาเลือกจำนวน 8 วิชา ซึ่งจะได้รับความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมเคมี การใช้ Computer Software ความรู้ด้านการจัดการทางวิศวกรรม โดยเรียนอยู่ภายในสถาบันฯ ภายหลังจากนั้นจะเป็นการศึกษายัง "หน่วยปฏิบัติการฝึกฝนภาคทักษะ (Practice School Sites)" หรือสถานที่ในการทำวิจัยของนักศึกษา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ CHEPS นี้โดยเฉพาะ โดยโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทไทยออยล์ จำกัด และโรงงานปิโตรเคมีของบริษัท ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ได้ให้ความร่วมมือกับโครงการรับนักศึกษาทั้งหมดเข้าทำการฝึกฝนในภาคทักษะปฏิบัตินี้แห่งละ 1 ภาคการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะนำความรู้พื้นฐานจาก 2 ภาคการศึกษาก่อนหน้านี้นำมาลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงงานปิโตรเคมี ฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกฝนในการวิเคราะห์วางแผนและตัดสินใจ การแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการฝึกฝนในการสื่อสารความคิด ทั้งนี้จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพและเป็นประโยชน์โดยตรงแก่นักศึกษาได้อย่างเต็มที่มากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามนอกจากความร่วมมือจากทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้นแล้ว โครงการ CHEPS ยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และมูลนิธิศึกษาพัฒน์อีกด้วย นายเยี่ยม จันทรประสิทธิ์ รองกรรมการอำนวยการบริษัท ไทยออยล์ จำกัด เปิดเผยถึงการสนับสนุนโครงการ CHEPS นี้ว่า บริษัทไทยออยล์มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือในโครงการดังกล่าวอย่างเต็มี่ เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรทางด้านวิศวกรรมเคมีของประเทศ โดยโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์สามารถเป็นหน่วยปฏิบัติการฝึกฝนภาคทักษะ ให้แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไทยออยล์มีหน่วยกลั่นน้ำมันและหน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมันที่ครบถ้วนทุกกระบวนการผลิต รวมทั้งเป็นโรงกลั่นที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซีย ทางด้านนายอวิรุทธิ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวในเรื่องนี้ว่า โรงงานปิโตรเคมีของบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย ก็มีความพร้อมเช่นเดียวกันในการรองรับการฝึกฝนทักษะของนักศึกษาของโครงการ และเชื่อว่านักศึกษาจะได้รับความรู้จากโรงงานปิโตรเคมีของเครือซิเมนต์ไทยอย่างเต็มที่แน่นอน--จบ--

ข่าวสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย+เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีวันนี้

ปตท. ฉลองการนำเข้า LPG 15 ปี 15 ล้านตัน ณ คลังก๊าซเขาบ่อยา

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และ นายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา ร่วมงานฉลองการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว 15 ปี 15 ล้านตัน สายงานแยกก๊าซธรรมชาติ ณ คลังก๊าซเขาบ่อยา ปตท. จ.ชลบุรี เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่คลังก๊าซเขาบ่อยา ปตท. ได้พัฒนาเพิ่มขีดความสามารถการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แก้วิกฤตการณ์ความต้องการที่เพิ่มสูงตั้งแต่ปี 2551 จวบจนปัจจุบันเป็น

อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันไทยตื่นตัวปัญหาสภ... โรงกลั่นเร่งปรับตัวสู้โลกร้อน ชูเทคโนโลยีช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและพลังงาน — อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันไทยตื่นตัวปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง มุ่งใช้เทคโนโลยีที่...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้าน... Dow และ PTIT ชวนร่วมสัมมนาออนไลน์ ฟรี! เทคโนโลยีความยั่งยืนเพื่อโรงกลั่นน้ำมัน — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียลส์ ไซแอนซ์ ระดับโลก ร่...

ตอบรับอนาคตและโลกยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผศ.ดร... ภาพข่าว: สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ผนึกความร่วมมือกับ คณะวิศวะมหิดล — ตอบรับอนาคตและโลกยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศา...

สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดการบรรยายในหัวข้อ ความคืบหน้าล่าสุดของการพัฒนาและใช้ประโยชน์ของระบบรถยนต์ไฟฟ้าและระบบพลังงานในอนาคต

สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมรับฟังการบรรยายในหัวข้อ ความคืบหน้าล่าสุดของการพัฒนาและใช้ประโยชน์ของระบบรถยนต์ไฟฟ้าและระบบพลังงานในอนาคต (Electric...

ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของการก่อตั้งสถาบันปิ... นวัตกรรมการผลิตพอลิเมอร์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ — ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของการก่อตั้งสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมฯ ได้จัดการบรรยายพิเศษ...

ดร.คริสเตียน ฮัสเลอร์ (ที่สองจากขวา) หัวห... ภาพข่าว: นวัตกรรมการผลิตพอลิเมอร์จากคาร์บอนไดออกไซด์ — ดร.คริสเตียน ฮัสเลอร์ (ที่สองจากขวา) หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ ประจำภูมิภา...