ร้านขายยา พบว่ามีการขายยาอันตรายในอัตราสูง โดยผู้ขายไม่ใช่เภสัชกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--7 ก.ค.--กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สุ่มสำรวจร้านขายยาแผนปัจจุบันทั้งในกทม.และต่างจังหวัดกว่า 900 แห่ง พบว่ากว่าร้อยละ 40 ไม่พบเภสัชกรประจำอยู่ และยังพบว่าในระหว่างนี้มีการจำหน่ายยาประเภทอันตรายโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะในอัตราสูงกว่าร้อยละ 90 เร่งขอความร่วมมือร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วประเทศ แจ้งเวลาทำการของเภสัชกรที่แน่นอนให้ประชาชนทราบ เพื่อความปลอดภัย นายมนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงความปลอดภัยของประชาชนในการบริโภคยา โดยเฉพาะกรณีซื้อยากินเองจากร้านขายยาในยามป่วยไข้ ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีครอบครัวไทยประมาณร้อยละ 19 เมื่อป่วยเล็ก ๆน้อย ๆ เช่นเป็นหวัด ท้องเสีย ปวดศรีษะ นิยมไปซื้อยากินเองจากร้านขายยาที่อยู่ในชุมชน เพราะเข้าถึงบริการได้ง่ายกว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีร้านขายยาประมาณ 12,000 แห่ง โดยเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน ซึ่งต้องมีเภสัชกร 1 คน ปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมงตามกฎหมาย จำนวน 4,723 แห่ง โดยอยู่ในกทม. 2,151 แห่ง ที่เหลืออยู่ในภูมิภาค ทั้งหมดนี้พบว่าเป็นร้านขายยาที่เภสัชกรปฏิบัติงานเต็มเวลาในชุมชนเพียง 1,200 แห่ง นายมนตรี กล่าวว่า จากการสุ่มสำรวจเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามเวลาของเภสัชกรที่แจ้งในใบอนุญาตขายยาปัจจุบันเมื่อ 2-10 มิถุนายน 2540 ที่ผ่านมา พบว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ครบ 100% โดยในเขตกทม.ได้สำรวจทั้งหมด 101 แห่ง พบเภสัชกรประจำร้าน 56 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 55 ในส่วนภูมิภาค ดำเนินการสำรวจทั้งหมด 812 แห่ง พบเภสัชกรประจำร้าน 460 แห่ง หรือประมาณร้อยละ57 ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ไม่พบปัญหาการปฏิบัติการซ้ำของเภสัชกรในร้านขายยาทั้งในกทม.และต่างจังหวัด ทั้งนี้ปัญหาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการในร้านขายยาไม่เต็มเวลานั้น ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าประเทศเรายังขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพนี้ ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศมีเพียง 7,675 คน โดยปฏิบัติการกระจายในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คืออยู่ในโรงพยาบาล ร้อยละ 37 ทำงานด้านการตลาดร้อยละ 20 ปฏิบัติงานในร้านขายยาร้อยละ 16 ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคร้อยละ 9 และด้านการศึกษาร้อยละ 8 ดังนั้นในการแก้ไขปัญหานี้ตนได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขอความร่วมมือร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วประเทศ ได้แจ้งเวลาปฏิบัติงานที่แน่นอนของเภสัชกรประจำร้านให้ประชาชนได้ทราบด้วยเพื่อประชาชนจะสามารถรับคำปรึกษาแนะนำได้เมื่อไปซื้อยา เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้ ทางด้านพลเรือตรีนายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการศึกษาสถานการณ์การจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายยาแผนปัจจุบันในช่วงที่ไม่มีเภสัชกรปฏิบัติงาน โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา พบว่ายังมีการจำหน่ายยาอันตรายตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยผู้จ่ายยาไม่ใช่เภสัชกรในอัตราสูงอีกด้วย โดยได้ทำการสุ่มสำรวจร้านขายยาแผนปัจจุบันจำนวน 310 ร้าน ใน 16 จังหวัดทั้งในกทม.และต่างจังหวัด โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะเช่น อม็อกซี่ซิลลิน พบว่ามีการจำหน่ายยาดังกล่าวโดยผู้ขายไม่ใช่เภสัชกรร้อยละ 99 ผู้ขายร้อยละ 87 ไม่มีการซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม ร้อยละ 97 จำหน่ายตามจำนวนที่ขอซื้อ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 31 ที่บอกหรือเขียนวิธีการใช้ยาและมีร้านเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ที่ให้คำแนะนำในการใช้ยาประเภทนี้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า มีการจำหน่ายยาแก้ปวดเมื่อย โดยมีการให้คำแนะนำวิธีกินยาที่ถูกต้องน้อยมาก ทั้งนี้พบว่าผู้จำหน่ายยาร้อยละ 86 ไม่ได้เป็นเภสัชกร มีผู้ขายเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่ให้คำแนะนำการรับประทานยาชนิดนี้หลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมาก ๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุขได้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยใช้นโยบายสำคัญคือการยกระดับมาตรฐานของร้านขายยา พัฒนาให้เป็นหน่วยบริการประชาชนอีกหน่วยหนึ่งทางภาคเอกชน เสริมบทบาทบริการของภาครัฐ ที่จะร่วมมือกันพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป--จบ--

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+มนตรี พงษ์พานิชวันนี้

SEhRT กรมอนามัย ปิดภาคกิจทีม "มัณฑเลย์ 82" อย่างภาคภูมิ เสริมงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินที่เข้มแข็ง

อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายผู้แทนกรมอนามัย ภิญญาพัชญ์ จุลสุข ผู้อำนวยการกองอนามัยฉุกเฉิน กรมอนามัย รับทีม SEhRT ผลัด 4 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขนำโดยนายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ พร้อมด้วยนายแพทย์สฤษดิ์เดช เจริญไชยผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน รับทีม Thailand EMT ผลัด 4 กลับ หลังปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นและถอนกำลังการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าทีมปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือ ทีม SEhRT

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน แน... ป้องกัน 'แอนแทรกซ์' ระบาด กรมอนามัย แนะ 3 วิธี เลือกซื้อ ปรุงประกอบอาหาร — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน แนะ 3 วิธี ป้องกันการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ...

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก...

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จ... ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข — สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...