โรคไข้หวัดใหญ่ในนก...มหันตภัยตัวใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--21 ม.ค.--จุฬาฯ เมื่อปลายเดือนธันวาคม ณ ห้องประชุม 2 ตึก 50 ปี คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดสัมมนาเรื่อง "โรคไข้หวัดใหญ่ในนก...มหันตภัยตัวใหม่" โดยมี รศ.สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา วิทยากรประกอบด้วย น.สพ.สุวิชา คูประดินันท์ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ไทย-นีโอ ไบโอเทค จำกัด, รศ.น.สพ. ดร.จิโรจ ศศิปรียาจันทร์ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ และ ผศ.น.สพ. ดร.คณิศักดิ์ อรวีระกุล หัวหน้าหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ สรุปสาระสำคัญได้ว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในนก ซึ่งติดต่อสู่คนในประเทศฮ่องกงในช่วงปลายปี 2540 เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด H5 N1 ซึ่งพบเฉพาะในนก สมมุติฐานของการระบาดติดต่อสู่คนในครั้งนี้อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเชื้อไวรัส ทำให้สามารถติดต่อสู่คนได้โดยบังเอิญ สำหรับประเทศไทยมีการระบาดของไวรัสชนิดนี้ในสัตว์ปีก โดยกรมปศุสัตว์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจเฝ้าระวังโรคในไก่และเป็ดอยู่เป็นระยะๆ ทั้งนี้โรคที่เป็นปัญหาในบ้านเราคือ โรคนิวคาสเซิล และโรคต่อมเบอร์ซ่าอักเสบหรือกัมโบโร ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อน ซึ่งไม่เอื้อต่อการระบาดของเชื้อ ซึ่งปัจจัยการระบาดของโรคนี้ได้แก่ ตลาดไก่ โรงฆ่าไก่ การเคลื่อนย้ายสัตว์ ความแออัดของการจัดฟาร์มที่ไม่เหมาะสม และอากาศที่ค่อนข้างเย็น อย่างไรก็ตามแม้อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของประเทศไทยยังไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่ก็ควรเฝ้าระวังสำรวจโรคในนก ไก่ และเป็ด เป็นระยะๆ รวมทั้งควรเข้มงวดในเรื่องการนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้ ควรทำให้สุกก่อนนำมาปรุงอาหารรับประทาน สำหรับผู้สนใจที่ต้องการทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในนก สามารถค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการได้ทางอินเตอร์เน็ต ที่ http://www.geocities.com/HotSprings/2188/h 5n1.html-- จบ--

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+จิโรจ ศศิปรียาจันทร์วันนี้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ แอนิมอล เฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Collaboration Agreement) โครงการ Next Level Veterinary Excellence ซึ่งเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติทางสัตวแพทย ศาสตร์ในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ งานวิจัย และการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมกันกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรอบรมขั้นสูงสำหรับสัตว

นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร... SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025 — นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญ... จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University — ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...