ไทยส่งทีมแพทย์ดูแลผู้แสวงบุญที่เมกกะ 53 วัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--13 มี.ค.--กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเตือนชาวไทยมุสลิมผู้แสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ประเทศซาอุดิอาระเบียควรเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ หากมีโรคประจำตัวควรนำยาพกติดไปด้วยส่วนหน่วยพยาบาลไทยได้ออกเดินทางไปล่วงหน้า พร้อมให้บริการชาวไทยมุสลิมเป็นเวลา 53วันโดยไม่คิดมูลค่า นายแพทย์ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ส่งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 14คนโดยมีนายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล เป็นหัวหน้าคณะให้บริการรักษาพยาบาลแก่ชาวไทยมุสลิมผู้เดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบียโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น มีกำหนดเวลาปฏิบัติงานเป็นเวลา 53วันตั้งแต่ 10 มีนาคม ถึง 1 พฤษภาคม 2541 โดยมีจุดปฏิบัติงานที่อาคารจัฟฟาลี ชั้น 1อาคารเดียวกับสำนักงานผู้แทนฮัจย์ทางการไทย ณ เมืองเมกกะ ซึ่งอยู่ใกล้สถานที่ประกอบพิธีฮัจย์มีธงชาติไทยติดให้เห็นชัดเจน เปิดให้บริการทุกวันตามเวลาราชการของประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยพยาบาลไทยไปอำนวยความสะดวกด้านการรักษาพยาบาลแก่ชาวไทยมุสลิมผู้แสวงบุญฯ ย่างเข้าปีที่ 41ประสบการณ์จากการทำงานแต่ละครั้งก็จะเสนอผู้บริหารถึงปัญหาอุปสรรคซึ่งจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้การทำงานมีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้นเชื่อว่าหน่วยพยาบาลไทยมีความพร้อมและมีประสบการณ์ในการดูแลชาวไทยมุสลิมผู้แสวงบุญฯได้เป็นอย่างดี เพราะเจ้าหน้าที่ที่ส่งไปเคยเดินทางไปปฏิบัติงานแล้วหลายครั้ง บางคนถึง 10ครั้ง สามารถทราบปัญหา และพื้นที่ที่จะให้บริการเป็นอย่างดี ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์การแพทย์ตามความจำเป็นและโรคที่พบบ่อยอย่างเพียงพอ จากข้อมูลการรักษาพยาบาลของหน่วยพยาบาลไทยในปี 2540ให้บริการ 31,450 ราย ส่วนมากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ และที่พบบ่อยคือไข้หวัดใหญ่และมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเช่น ปอดบวม รองลงมาเป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลของประเทศซาอุดิอาระเบีย 85 ราย กลุ่มอายุที่เจ็บป่วยมากอยู่ระหว่าง41 - 60 ปี สำหรับผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมเสียชีวิต (เท่าที่ทราบ) 45 รายสาเหตุการป่วย-ตายคือ อยู่ในที่แออัดเป็นเวลานาน มีโรคประจำตัวเช่นโรคหัวใจโรคระบบทางเดินหายใจ โดยไม่ได้เตรียมยาประจำตัวไปด้วย เป็นต้นนอกจากนี้กฎหมายของประเทศซาอุดิอาระเบียระบุไม่ให้หน่วยพยาบาลต่างชาติรับคนไข้ในไว้ในสถานบริการหน่วยพยาบาลไทยจึงเตรียมอุปกรณ์ตามความจำเป็นที่เคยมีประสบการณ์มาหลายปีอย่างไรก็ตามหากมีคนไข้หนัก ทางประเทศซาอุดิอาระเบียได้อำนวยความสะดวกเตรียมโรงพยาบาลของรัฐไว้คอยบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นกัน สำหรับหน่วยพยาบาลไทยนอกจากจะให้บริการที่จุดปฏิบัติงานแล้ว ยังจัดทีมออกไปตรวจเยี่ยมให้บริการรักษาพยาบาล ให้คำแนะนำด้านสุขภาพ ให้คำปรึกษาต่างๆตามเต็นท์ ที่พัก ซึ่งกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ด้วย จากประสบการณ์ที่ผ่านมามักพบว่าผู้เดินทางไปแสวงบุญส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวส่วนมากจะกังวลและยุ่งในเรื่องการเดินทาง มักลืมเรื่องสุขภาพและยาประจำตัวกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้เตรียมยานำติดตัวไปรับประทานด้วยเมื่อมีปัญหาจะได้หาทางช่วยเหลือได้ทัน นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ได้ทำเอกสารและคู่มือเผยแพร่เกี่ยวกับข้อแนะนำการรักษาสุขภาพในระหว่างการประกอบพิธีฮัจย์แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยพยาบาลไทยให้กรมศาสนาและคณะกรรมการกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยแจกจ่ายให้ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ต่อไป สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียประมาณ 12,000คนซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 50 จากปีที่แล้วทั้งนี้ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นกว่าเดิมเกือบ 3 เท่ากระทรวงสาธารณสุขก็ลดจำนวนเจ้าหน้าที่จาก 24 คนในปีที่ผ่านมาเหลือ 14 คนซึ่งเพียงพอในการดูแลคนไทยผู้แสวงบุญ--จบ--

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+ปรากรม วุฒิพงศ์วันนี้

สมศักดิ์ ชูต้นแบบ NCDs Prevention Center 12 เขตสุขภาพ และโรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1 พร้อมหนุน ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอระดับสูง รุ่นที่ 3 สานต่อนโยบายคนไทย ห่างไกล NCDs

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดและมอบเกียรติบัตรอำเภอขับเคลื่อนต้นแบบศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน (NCDs Prevention Center) ระดับเขตสุขภาพ 12 แห่ง และอำเภอขับเคลื่อนนำร่องโครงการขับเคลื่อนอำเภอสุขภาพดีส่งเสริมป้องกันรอบรู้เท่าทันโรคไตเรื้อรังอย่างยั่งยืน (Lanna Healthy Package Model) "โรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1" จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก...

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จ... ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข — สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...

พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavil... พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ — พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...