กรุงเทพ--12 เม.ย.--ยูบีซี
ตามที่ อสมท. ได้อนุมัติให้ยูบีซีปรับราคาแพ็กเกจ Gold และเสนอทางเลือกแพ็กเกจ 790 บาทให้แก่สมาชิกตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2542 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีสื่อมวลชนบางส่วนได้มีการอ้างถึงแหล่งข่าวจากโครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วยข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง และไม่ได้สะท้อนให้เห็นสถานภาพที่แท้จริงของยูบีซี ดร. กันทิมา ธนะโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มบริษัทยูบีซีจึงได้ขอชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “การทำประชาพิจารณ์เป็นเวทีที่เหมาะสมสำหรับการอภิปรายเรื่องการปรับราคาของยูบีซี”ข้อเท็จจริง
- การปรับราคา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะยูบีซีและสมาชิกเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้เป็นบริการสาธารณูปโภค หากแต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจอีกรายหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกในการให้บริการด้านความบันเทิงผ่านระบบดาวเทียมและระบบใยแก้วนำแสงแก่ผู้บริโภค
- ยูบีซีเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ผู้บริโภคมักจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของธุรกิจ
- ยูบีซีเชื่อมั่นว่า เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ทางโครงการสื่อสันติภาพคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะนำหลักการของ “ประชาพิจารณ์” ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งยังลดคุณค่าของการทำประชาพิจารณ์อีกด้วย และนั่นคือเหตุผลที่ยูบีซีไม่เข้าร่วมกับเวทีที่เรียกว่า “ประชาพิจารณ์” ที่กำหนดจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2542) อย่างไรก็ตาม ยูบีซีได้ดำเนินการตอบข้อซัก ถามของสมาชิกทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับบริการของยูบีซีเสมอ โดยผ่านสื่อต่างๆ ของยูบีซีเองอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “ค่าบริการของยูบีซีแพงที่สุดในภูมิภาค”ข้อเท็จจริง อัตราค่าบริการของยูบีซีหลังการปรับราคา ยังเป็นค่าบริการที่อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในเอเชีย
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “การปรับราคา เป็นผลมาจากการที่ยูบีซีเป็นธุรกิจผูกขาด”ข้อเท็จจริง อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ ได้ให้สัมปทานการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกแก่ผู้ให้สัมปทานไปแล้วหลายราย แต่ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดยอมที่จะทุ่มทุนเป็นจำนวนมากไปกับธุรกิจนี้ในช่วงที่มีการหดตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากเห็นว่าแม้แต่ยูบีซียังต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทั้งยังเห็นว่าไม่น่าจะเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรได้ในระยะนี้ และสำหรับยูบีซีเอง ถึงแม้ว่าจะได้ปรับอัตราค่าบริการรายเดือนของแพ็กเกจ Gold ขึ้นอีก 200 บาทแล้วก็ตาม บริษัทฯ ยังคงประมาณการว่าจะต้องประสบกับภาวะขาดทุนเฉพาะในปี 2542 นี้อีก 1,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยูบีซีใช่ว่าจะไร้คู่แข่ง เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการทั้งทางด้านข่าวสารข้อมูลและความบันเทิง บริษัทฯ จึงต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ อาทิ ฟรีทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิดีโอ ภาพยนตร์ และบริการด้านความบันเทิงอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อแย่งส่วนแบ่งในการจับจ่ายของผู้บริโภค ดังนั้น ยูบีซีจึงจำเป็นต้องเสนอบริการที่คุ้มค่ากับเงินที่ผู้บริโภคต้องเสียไปให้มากที่สุด ไม่เช่นนั้น พลังของผู้บริโภคอาจทำให้บริษัทฯ ต้องสูญเสียลูกค้าจนถึงกับต้องปิดกิจการไปในที่สุด
ยูบีซียินดีที่จะให้มีคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกันเพื่อให้เกิดทางเลือกแก่ผู้บริโภค และบริษัทฯ หวังว่าเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น คงจะมีผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกรายใหม่ๆ ซึ่งมีมาตรฐานการให้บริการในระดับนานาชาติก้าวเข้ามาในตลาดบ้าง
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “การรวมกิจการของไอบีซีและยูทีวีควรจะสามารถแก้ปัญหาด้านการ เงินได้เนื่องจากยูบีซีมีต้นทุนการดำเนินการที่ลดลงถึงจุดคุ้มทุนแล้วในขณะนี้”ข้อเท็จจริง มีไม่กี่ประเทศ ที่ไม่ใช่ประเทศในกลุ่ม จี 7 ที่สามารถมีผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกได้มากกว่า 1 ราย การรวมกิจการเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะไม่อ่อนตัวลงก็ตาม เพราะตลาดของไทยไม่ใหญ่พอที่จะให้มีธุรกิจประเภทนี้ได้มากกว่า 1 ราย โดยทั่วไป ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีสมาชิกจำนวน 600,000 รายเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนเพียงพอจากการลงทุน
นอกจากนี้ การรวมกิจการยังทำให้ยูบีซีสามารถระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ปรับโครงสร้างการดำเนินงานและทำให้ไม่ต้องปิดกิจการชั่วคราวเพื่อทำการปรับโครงสร้างของตลาด หากไม่มีการรวมกิจการ ทั้งไอบีซีและยูทีวีคงจะต้องปิดกิจการลง ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยจะไม่มีผู้ให้บริการธุรกิจโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิกอีกต่อไป
ยูบีซีมีรายได้ทั้งหมดเฉพาะในปี 1998 จำนวน 2,800 ล้านบาท แต่ต้นทุนมีถึง 7,300 ล้านบาท ทำให้ขาดทุน 4,500 ล้านบาทในปี 2542 ปีเดียว - การรวมกิจการทำให้สามารถลดต้นทุนด้านรายการจากต่างประเทศ (จ่ายตามรายหัวสมาชิก) ได้เป็นเงิน 460 ล้านบาทต่อปี และต้นทุนราย การต่างประเทศ (ต้นทุนคงที่) ได้ถึง 400 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานจากการใช้เครือข่ายร่วมกันได้ถึง 435 ล้านบาท รวมแล้วการรวมกิจการสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้จำนวน 1,300 ล้าน บาท จากต้นทุนทั้งหมดของปี 2541 จำนวน 7,300 ล้านบาท
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “ยูบีซีจำเป็นต้องปรับราคาเพื่อล้างหนี้จำนวนมากและภาระค่าดอกเบี้ย”ข้อเท็จจริง กลุ่มบริษัทยูบีซีไม่มีภาระหนี้สินหรือดอกเบี้ยใดๆ มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นระยะที่ยูบีซีเริ่มเปิดให้บริการนับจากการรวมกิจการเป็นต้นมา รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทฯ ที่สามารถระดมทุนจากต่างประเทศได้ในปี 2541 ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอันเนื่องมาจากการรวมกิจการเป็นสำคัญ ทำให้กลุ่มบริษัทยูบีซีสามารถจ่ายคืนภาระหนี้สิน ตลอดจนมีเงินสดเหลือพอสำหรับดำเนินงานจนถึงจุดที่บริษัทจะสามารถปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมซึ่งรวมถึงการปรับเพิ่มราคาค่าบริการ (ดูเอกสารแนบ C)
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “ยูบีซีปรับราคาเพื่อให้ฟื้นตัวจากภาวะการขาดทุนในช่วงที่ผ่านมา”ข้อเท็จจริง การปรับราคาครั้งนี้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ เพื่อให้สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและอนาคตที่เกิดขึ้นจากการรักษาคุณภาพการให้บริการต่างๆ แก่สมาชิกได้ อันประกอบด้วย* 1,300 ล้านบาทต่อปี สำหรับระบบการส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายใย แก้วนำแสงและระบบดาวเทียม ซึ่งยูบีซีไม่ได้ เป็นเจ้าของเครือข่ายดังกล่าว* 1,600 ล้านบาทต่อปี สำหรับค่าลิขสิทธิ์รายการต่างๆ เพื่อที่จะให้มี ช่องรายการคุณภาพในระดับที่ทัดเทียมกับ ปัจจุบัน* 395 ล้านบาทต่อปี สำหรับการให้บริการและการจัดเก็บเงินจาก สมาชิก* 290 ล้านบาทต่อปี สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนของการขาย การตลาด และการรักษาฐานสมาชิก* 250 ล้านบาทต่อปี สำหรับค่าสัมปทานให้แก่ อสมท.* 750 ล้านบาทต่อปี สำหรับเป็นเงินทุนสำรองเพื่อการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ และสำหรับค่าเสื่อมราคา นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้แล้ว บริษัทฯ ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณที่ติดตั้งตามบ้านของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกสามารถรับบริการได้ รวมถีงค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริหารงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานประจำวัน อาทิ ค่าเช่าสำนักงาน ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “ยูบีซีไม่ได้แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าเรื่องการปรับราคา”ข้อเท็จจริง ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2542 ยูบีซีได้แจ้งเรื่องที่ อสมท. อนุมัติการปรับราคาแก่สมาชิกซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 ให้สมาชิกได้ทราบ และยังได้สื่อสารให้สมาชิกได้ทราบอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ จดหมายถึงสมาชิก การแจ้งผ่านศูนย์บริการลูกค้า รวมทั้งยังแจ้งผ่านรายการพิเศษและข้อความทางช่องรายการต่างๆ ของยูบีซีอีกด้วย
ยูบีซีได้เปิดโอกาสให้สมาชิกแพ็กเกจ Gold ปัจจุบันสามารถเลือกรับแพ็กเกจที่ราคาต่ำลง คือ 790 บาทได้ตลอดเวลา หรือเลือกที่จะชำระค่าบริการรายปี โดยต้องชำระภายในวันที่ 30 เมษายน 2542 เพื่อให้ได้อัตราค่าบริการรายเดือน 890 บาทเท่าเดิมไปอีกเป็นเวลา 1 ปี พร้อมรับสิทธิพิเศษชมฟรีอีก 1 เดือน และรับชมช่อง National Geographic ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ สำหรับสมาชิกแพ็กเกจ 400 บาทเดิมก็จะไม่มีการขึ้นราคาแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “ยูบีซีจำกัดไม่ให้สมาชิกสามารถเลือกช่องรายการที่ต้องการชม เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียว”ข้อเท็จจริง ในประเทศส่วนใหญ่นอกจากสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบที่เรียกว่า A La Carte หรือการให้สมาชิกเลือกช่องเองตามใจชอบ เนื่องจาก ตลาดประเทศไทยยังเล็กมากไม่เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างการบริการแบบนี้
นอกจากนี้ เจ้าของรายการต่างประเทศมีกฎเกณฑ์เรื่องการประกันจำนวนสมาชิกขั้นต่ำซึ่งผู้ให้บริการจะต้องชำระเงินตามจำนวนนั้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาระค่าใช้จ่ายที่สูง หากเสนอขายช่องรายการในรูปแบบ A-La-Carte ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดให้มีหลายช่องรายการอยู่รวมกันเป็นแพ็กเกจ
ยูบีซีต่างกับผู้ให้บริการในประเทศอื่นซึ่งสมาชิกจะต้องซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณเอง แต่ยูบีซีต้องรับภาระต้นทุนส่วนนั้นไว้แทนผู้บริโภค ดังนั้น การให้บริการแบบ A-La-Carte จึงไม่สามารถครอบคลุมการลงทุนส่วนนั้นได้หมด นอกจากนี้ การให้บริการแบบ A-La-Carte ยังจะเพิ่มต้นทุนของฝ่ายบริหารการขาย และต้นทุนการดำเนินการอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละช่องรายการมีอัตราค่าบริการที่สูงขึ้นมากอีกด้วย
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง “การยื่นขอปรับราคาของยูบีซีต่อ อสมท. เป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส”ข้อเท็จจริง ยูบีซีเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงต้องเสนอข้อมูลด้านการเงินของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์อย่างละเอียด เปิดเผย และสม่ำเสมอ ใครก็ตามที่สนใจสามารถขอข้อมูลเหล่านี้ได้จากตลาดหลักทรัพย์
ยูบีซีได้ยื่นหลักฐานด้านการเงินซึ่งเป็นหลักฐานเฉพาะ (Confidential) เพิ่มเติมแก่ อสมท. ซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเป็นต่อการพิจารณาอนุมัติการปรับราคา ซึ่ง อสมท. หลังจากได้ใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบคอบนานถึง 6 เดือน จึงเห็นความจำเป็นในการอนุมัติให้ยูบีซีปรับราคาในครั้งนี้--จบ--
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ องค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เปิดหลักสูตร "NEXUS AI" พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยี
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...