เร่งทศท. - กสท.ตั้งบริษัทร่วมทุน เน้นรวมธุรกิจ เลิกแข่งบริการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ธ.ค.--ทูเดย์อินไทยแลนด์ นายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม เลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งพระราช บัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทองค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ตกลงเลือกรูปแบบการจัดตั้งบริษัท 3 รูปแบบ เพื่อให้ ทศท.และ กสท.ไป ตกลงกันว่าจะเลือกรูปแบบไหน ซึ่งจะต้องให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมครั้งต่อ ไปในเดือนมกราคม 2544 รูปแบบแรกเป็นการจัดตั้งบริษัทตามโครงสร้างในแผนแม่บท พัฒนากิจการโทรคมนาคม ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทอยู่ภายใต้บริษัทรวมทุนเดียวกัน มีข้อดีคือจัดโครง สร้างง่าย เนื่องจากได้รับอนุมัติจากองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว ตามแผนแม่บทการ พัฒนากิจการโทรคมนาคม สามารถลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของ วัฒนธรรมองค์กรในระยะแรกได้ สามารถบริหารงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง ปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรมการปฏิบัติงาน สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณาคือ ขอบเขตการดำเนินงานของ ทั้ง 2 บริษัทในอนาคต ควรกำหนดให้ชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน และการปฏิบัติงาน ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและง่ายต่อการขยายงานและจัดหา ทุนในกรอบเวลาเดียวกัน การให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจไปรษณีย์จะมีผลต่อ ความสามารถในการระดมทุนจากตลาดทุนเอกชน และกระทบถึงการประเมิน มูลค่าบริษัท รูปแบบที่ 2 เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างจากแผนแม่บทพัฒนา กิจการโทรคมนาคม ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทอยู่ภายใต้บริษัทรวมทุน แต่แยกกิจการไปรษณีย์ออกจาก กิจการโทรคมนาคม มีข้อดีคือจัดโครงสร้างง่าย เนื่องจากเป็นการรวมกิจการ ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันภายใต้บริษัทรวมทุน ลดความคลุมเครือในการอุด หนุนข้ามภาค ลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์กรในระยะ แรกได้ดี สามารถบริหารงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยความแตกต่างทาง วัฒนธรรมการปฏิบัติงาน ประเด็นที่ควรพิจารณาคือ ขอบเขตการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในอนาคต ควรจะกำหนดให้ชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและ การปฏิบัติงาน รูปแบบที่ 3 เหมือนรูปแบบที่ 2 โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัท อยู่ภายใต้บริษัทรวมทุน และให้บริษัทโทรคมนาคมทั้ง 2 มีการดำเนินงานที่ใกล้ชิด มีทิศทางการลงทุนและบริหารงานในแนวเดียวกัน บริหารทรัพยากรร่วมกัน และมีความตกลงร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างใกล้ ชิด แยกสภาพนิติบุคคลและแยกกิจการไปรษณีย์ออกจากกิจการโทรคมนาคม มีข้อดีคือจัดโครงสร้างง่ายและอาจมีการรวมจุดเด่นจากการบริหารทรัพยากร ประเภทเดียวกัน ในทิศทางเดียวกัน และลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่าง ของวัฒนธรรมองค์กรในระยะแรกได้ดี ลดความคลุมเครือในการอุดหนุนข้าม ภาค ทำให้ขอบเขตการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในอนาคตชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและการปฏิบัติงาน ประเด็นที่ควรพิจารณาประกอบคือ บริษัทรวมทุนควรจะ กำหนดนโยบายการบริหารงานร่วมกันให้บริษัทลูกปฏิบัติตาม ผู้บริหารใน บริษัทลูกควรจะรับผิดชอบปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทรวมทุน--จบ-- -สส-

ข่าวอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม+กิจการโทรคมนาคมวันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจกา... สำนักงาน กสทช. จัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนสมัครใช้ Mobile ID 2025 — สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ก...

ภาพข่าว: โรงงานยาสูบบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

โรงงานยาสูบบริจาคเงิน จำนวน 3,000,000.- บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในโครงการ "รวมพลังไทย ช่วยภัยน้ำท่วม" ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับมอบจากนายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม...

ภาพข่าว: อนาคตรัฐวิสาหกิจ อนาคตประเทศไทย

ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานและผู้อำนวยการโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล ม.ราชภัฏจันทรเกษม ดร.อารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และเทวินทร์...

ภาพข่าว: เสวนา “อนาคตรัฐวิสาหกิจ อนาคตประเทศไทย”

ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. ดร.อารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานและผู้อำนวยการ ...

ศูนย์บริการวิชาธรรมาภิบาล สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดสัมมนา ในหัวข้อ "เจาะลึกอนาคตรัฐวิสาหกิจ ชี้อนาคตประเทศไทย!"

ปมปัญหาสำคัญในการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยคืออะไร!! เห็นด้วยหรือไม่กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ!! และประชาชนจะได้อะไรจากการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย...