กรุงเทพฯ--6 ก.พ.--หอศิลป์ ม.กรุงเทพฯ
23 ก.พ.-30 มี.ค. 2545 ขออภัยในความไม่สะดวก นิทรรศการศิลปะโดยศิลปินร่วมสมัยชาวจีน อินเดีย และไทย ณ โปรเจ็ค 304 หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, ไซ-แอม อาร์ต สเปซ, กรุงเทพฯ
ศิลปินที่แสดง ณ โปรเจ็ค 304 - หวัง กงชิง (ปักกิ่ง)*. ภารตี เคอร์ (เดลี) และไมเคิล เชาวนาศัย (กรุงเทพ)*
ขอเชิญร่วมงานเปิดนิทรรศการเวลา 17.30 น. ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ โดยคุณ จูเน็ตสึ โคมัสซึ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชีย มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงโตเกียว
ขออภัยในความไม่สะดวก เป็นงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่รังสรรค์ขึ้นโดยฝีมือศิลปินจากประเทศจีน อินเดีย และไทย ซึ่งจัดโดยกฤติยา กาวีวงศ์ คิวเรเตอร์ (ผู้จัด-คัดสรรผลงาน) และผู้อำนวยการโปรเจ็ค 304 ซึ่งเป็นหอศิลป์ที่มิได้หวังผลกำไรในกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งของโครงการหลักก็คือ "Under Construction" ซึ่งริเริ่มจัดโดยศูนย์เอเชีย มูลนิธิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1999 ทั้งนี้เป็นการร่วมมือของคิวเรเตอร์ 8 คนจาก 7 ประเทศในเอเชียหลังจากทำการวิจัย 3 ปีและมีการประชุมกันหลายครั้งในกรุงโตเกียวและประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย ผู้คัดสรรผลงานแต่ละคนจึงถูกขอร้องให้จัดและคัดสรรผลงานศิลปะของประเทศและจัดนิทรรศการในแต่ละประเทศส่วนในประเทศไทยจะจัดขึ้น 3 สถานที่อันได้แก่ หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ,โปรเจ็ค 304 , และไซ-แอม สเปซ ร่วมกับมูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 23-30 ก.พ. 2545
การจัดแสดงงานครั้งนี้พยายามที่จะค้นหาลักษณะเฉพาะแบบร่วมสมัยของเอเชีย ตลอดจนเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบันและมีการสังเกตการณ์ของชีวิตประจำวันของวัฒนธรรมปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการเจริญเติบโตอย่างยิ่งใหญ่และการขยายตัวในด้านภูมิสถาปัตย์และวัฒนธรรมเมือง แต่ละประเทศล้วนมีวิถีแห่งกระบวนการถ่ายทอด บางประเทศยังมีการเชื่อมต่ออย่างแข็งแกร่งของวัฒนธรรม และบางประเทศก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และบ้างก็ถอนตัวออกจากประเพณีดั้งเดิมของตนเอง
ผลงานศิลปะร่วมสมัยซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือในระดับต่างๆกันระหว่างศิลปินชาวอินเดีย ชาวจีนและชาวไทย ผลงานดังกล่าวเป็นประจักษ์พยานของการถ่ายทอดของเมือง สังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่ศิลปินเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการถอนรากถอนโคนเหล่านี้ พวกเขาจึงพยายามกำหนดภาษาทางศิลปะแบบใหม่เพื่อแสดงถึงแนวคิดของปัจเจกบุคคล งานนิทรรศการศิลปะนี้กำลังหาทางเชื่องต่อระหว่าง 3 ประเทศ ซึ่งก็มีบางส่วนที่ไปด้วยกันได้อย่างไม่ชัดเจนนัก แต่ทว่าก็มีการเชื่อมต่อกันในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น
ขออภัยในความไม่สะดวก ได้เสนอถึงการขัดจักหวะของการเดินทางของพวกเรา ตลอดจนช่องว่างทางด้านกายภาพหรือไซเบอร์สเปซ ซึ่งมีการนำเสนอถึงความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันระหว่างสถานการณ์ในเอเชีย อีกทั้งยังได้สำรวจความคิดเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคน จากชีวิตแบบที่ดำเนินตาม แบบแผนประเพณีจนกลายมาเป็นชีวิตทันสมัย หรือจากวัฒนธรรมชนบทกลายมาเป็นวัฒนธรรมเมือง และการอยู่ในภาวะท่วมท้นของสื่อมวลชน ผลงานต่างๆจะเป็นการท้าทายทัศนคติของผู้ชมในเอเชียปัจจุบัน และการสร้างภาพพจน์ของเอเชียโดยฝีมือของสำนักงานการท่องเที่ยวของชาติหรือของรัฐนั้นๆ การถ่ายทอดอาจประยุกต์ได้ในหลายระดับของแต่ละเมืองและแต่ละประเทศ ในบริบทชนบท ประเพณีที่เป็นแบบแผนค่อยๆโดนถอนรากถอนโคนอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยผ่านงานศิลปะหลายแขนง (multidisciplinary)
ศิลปินไทย อินเดีย และจีนจำนวน 10 คนนำผลงานเข้าร่วมในงานแสดงศิลปะครั้งนี้ในแบบฉบับที่แตกต่างไปดังต่อไปนี้
โปรเจ็ค 304 หวัง กงซิน (ปักกิ่ง) * ภารตี เคอร์(เดลี)
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มนตรี เติบสมบัติ (กรุงเทพฯ)*, สุพจน์ คุปตะ (เดลี)* และ ชุย เชี่ยวเหวิน (ปักกิ่ง)*
ไซ แอม อาร์ต สเปซ เฉิน เส้าเซียง (กวางโจว)*. ชามิลา ซามันต์ (บอมเบย์)*. ทัศนัย เศรษฐเสรี (ชิคาโก้)*
และ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (กรุงเทพฯ/ปารีส)
ห้องแสดงงาน มูลนิธิญี่ปุ่น ศูนย์ข้อมูล
ไมเคิล เชาวนาศัย (กรุงเทพฯ)* แสดงทั้งสามที่ บรรดาศิลปินทั้งหลายจากจีนและอินเดียได้รับเชิญให้มาเตรียมงานและสร้างผลงานภายในระยะเวลา 10 วันก่อนจัดแสดงนิทรรศการ**
กิจกรรมพิเศษ
10-23 ก.พ. 2545
การเสวนาของศิลปินตามสถานการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันเสาร์ที่ 23 ก.พ. 2545 ตั้งแต่เวลา 12.00 น.-24.00 น.
12.00 น. - 16.00 น. พิธีเปิดงานอุ่นเครื่องที่โปรเจ็ค 304 ถนนเศรษฐศิริ เขตพญาไท
17.30 น. พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
20.00 น. งานเลี้ยงรับรองที่ไซ-แอม สเปซ ถนนพระราม 4
วันอาทิตย์ที่ 24 ก.พ. 2545 ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-16.00 น. (อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษพร้อมแปลเป็นไทย) ณ ศูนย์ประชุมมูลนิธิญี่ปุ่น ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ถนนสุขุมวิทซอย 19
การบรรยายและอภิปรายโดยนักวิชาการ***คิวเรเตอร์และศิลปินผู้ร่วมแสดงงานเกี่ยวกับเอเชียในปัจจุบันและสถานการณ์ปัจจุบันของศิลปะและวัฒนธรรม(เข้าชมฟรี)
งานนิทรรศการนี้ได้รับความสนับสนุนจากศูนย์เอเชีย มูลนิธิญี่ปุ่น โรงเรียนศิลปะนานาชาติ ศิลปินในโครงการ Residency , สมาคมฝรั่งเศส (กรุงเทพฯ) มูลนิธิญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ ศิลปินที่ร่วมงาน อาสาสมัคร และ องค์กรที่ให้ความร่วมมือ
หมายเหตุ
* คือ ศิลปินที่อยู่ในกรุงเทพฯ
** คือ ส่วนนี้ได้รับการสนับสนุนจากศิลปินในโครงการ Residence Program จากโรงเรียนศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส
*** จะแจ้งให้ทราบต่อไป
โปรดขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กฤติยา กาวีวงศ์ และ ดารินทร์ แก้วมูลกิจ
โปรเจ็ค 304
โทร. 02-279-7796 02 271 4076
แฟกซ์ 02 279 7796
อีเมล์ project
[email protected]
เวลาทำการ 12.00-18.00 น. ทุกวันเว้นวันจันทร์ และ วันหยุดราชการ
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ และ ศรัญญา กวัสราภรณ์
หอศิลป์ ม. กรุงเทพฯ กล้วยน้ำไท
โทร. 02-671-7526
แฟกซ์ 02-2401819
อีเมล์
[email protected]
เวลาทำการ 9.30 - 19.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ และ จันทร์
หอศิลป์ จะปิดทำการวันที่ 3-12 มีนาคม 2545
คุณโชติช่วง มีพร้อม
ไซแอม อาร์ตสเปซ
1741-43-45-47 ถนน พระราม 4 คลองเตย กรุงเทพฯ
โทร. 02-671-6878
www.sas gallery.com
เวลาทำการ 10.00 -19.00 น. ทุกวัน เว้นวันอังคาร--จบ--
-ปส-