ม.ศิลปากร จัด โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยเขียวสะอาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--ม.ศิลปากร โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยเขียวสะอาด (Clean and Green Campus) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สนับนุนงบประมาณโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โครงการมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด (CLEAN AND GREEN CAMPUS)ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี หลักการและเหตุผล มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 ให้เป็นสถาบันแม่ข่ายในการขยายวิทยาเขตตามโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค และในวันที่ 9 กันยายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อสร้าง วิทยาเขตสารสนเทศ ที่ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 621 ไร่ เพื่อให้มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยตัวอย่างในการอนุรักษ์พลังงานและสภาพแวดล้อม คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินโครงการศึกษาและวิจัยโครงการมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด โดยศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารเพื่อเป็นการสาธิตการออกแบบวางผังการใช้ที่ดิน ด้วยการนำธรรมชาติและเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบที่เหมาะสมโดยไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายกับธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ รวมถึงการศึกษาออกแบบอาคารศูนย์วิจัยและสาธิตการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นตัวอย่างของอาคารที่อนุรักษ์พลังงาน วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อให้มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นมหาวิทยาลัยตัวอย่างในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสภาพแวดล้อม โดยลดการใช้ยานพาหนะที่ต้องใช้น้ำมันและก๊าซสำหรับการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการจัดผังการใช้ที่ดินและการจัดวางกลุ่มอาคารที่ร่นระยะทางสัญจร สามารถใช้การเดินเท้าและจักรยานภายในมหาวิทยาลัยได้ 2. เพื่อทำการศึกษาและออกแบบการปรับปรุงสภาพพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยให้มีความร่มเย็น ด้วยการจัดภูมิสถาปัตยกรรมที่สามารถสร้างลมฟ้าอากาศในพื้นที่ให้อุณหภูมิและความร้อนของอากาศภายในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยต่ำกว่าอุณหภูมิและความร้อนของอากาศภายนอกมหาวิทยาลัย 3. เพื่อศึกษาและทำการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน เป็นตัวอย่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพองค์ประกอบแวดล้อมทางภูมิอากาศของประเทศไทย 4. เพื่อศึกษาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในธรรมชาติแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พืชในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อศึกษาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการนำพลังงานที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง เช่น การนำมวลชีวภาพมาผลิตก๊าซมีเทนและปุ๋ยธรรมชาตินำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น ประโยชน์ที่มีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม - เป็นการออกแบบผังแม่บทและอาคารศูนย์วิจัย และสาธิตการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อการสาธิตและให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานกับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในเขตภูมิภาคตะวันตก ตลอดจนใช้เป็นศูนย์กลางในการสอนนิสิตและนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีและโททั่วประเทศในมหาวิทยาลัยที่สอนทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ - เป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ให้มีความสนใจและเสริมสร้างจิตสำนึกในเรื่องการประหยัดพลังงาน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม - ผลการศึกษาที่ได้จากโครงการสามารถนำไปใช้เป็นเอกสารวิชาการ ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการศึกษาต่อไป - สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ค่ายานพาหนะเพื่อการสัญจร วัสดุก่อสร้างอาคารและการใช้พลังงานในอาคาร ได้แก่ ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และลิฟท์ เป็นต้น ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตุลาคม 2544 - กันยายน 2545 งบประมาณในการดำเนินงาน สนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะผู้วิจัย 1. ศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ หัวหน้าโครงการวิจัย 2. รองศาสตราจารย์มาลินี ศรีสุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย 3. อาจารย์ ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ ผู้ร่วมวิจัย 4. อาจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล ผู้ร่วมวิจัย 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ ธาราศักดิ์ ผู้ร่วมวิจัย 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์ ผู้ร่วมวิจัย 7. อาจารย์ภัทรพล เวทยสุภรณ์ ผู้ร่วมวิจัย 8. อาจารย์ธาริณี รามสูต ผู้ร่วมวิจัย วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ถนนชะอำ - ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 Homepage : http://www.su.ac.th-- จบ-- -นห-

ข่าวกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน+กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติวันนี้

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาวาระที่สำคัญด้านพลังงาน ดังนี้ - การปรับลดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการผ่อนภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่างๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่ายที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และด้วยฐานะการเงินของกองทุนฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560

กระทรวงพลังงาน ประกาศปรับเพิ่มการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

กระทรวงพลังงาน ประกาศปรับเพิ่มการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 โดยมีผลบังคับใช้วันนี้เป็นต้นไป ระบุ ราคาขายปลีกน้ำมัน...

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หนุน ก.พ. นำร่องโอนย้ายข้าราชการไปทำงานใกล้บ้านหวังแก้ปัญหาจราจรและประหยัดน้ำมัน 26.8 ล้านบาท/ปี

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--สพช. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หนุน ก.พ. จัดทำโครงการนำร่องโอนย้าย ข้าราชไปทำงานใกล้บ้าน ตั้งเป้า 3 ปี จะมีการโอนย้ายไม่น้อยกว่า 20,000...

สพช. เดินหน้าโครงการ "น้ำหาร 2" เริ่มที่กลุ่มเป้าหมายเยาวชน กับการประกวดวาดภาพ "ผู้พิทักษ์รักน้ำ ของฉัน"

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.-เจเอสแอล สพช. เดินหน้าโครงการ "น้ำหาร 2" เริ่มที่กลุ่มเป้าหมายเยาวชน กับการประกวดวาดภาพ "ผู้พิทักษ์รักน้ำ ของฉัน" ในกลุ่มเด็กประถมฯ "ค่ายอนุรักษ์น้ำและพลังงาน"ในกลุ่มเด็กมัธยมฯ ...

"พิทักษ์"หนุน สพช. ให้แก้ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วและน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นพลังงานทดแทนปีละ 300 ล้านลิตร ลดการนำเข้าน้ำมัน 1,500 ล้านบาท

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--สพช. นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมหนุน สพช. แก้ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมและน้ำมันหล่อลื่นคุณภาพต่ำ ให้...

สพช. คัด 37 โครงการเด่นด้านอนุรักษ์พลังงานโชว์ศักยภาพงานวิจัยไทย

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--สพช. สพช. จัดเวทีโชว์ศักยภาพงานวิจัยจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 37 โครงการ วันที่ 17-19 กันยายนนี้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน...

สพช. ร่วมกับ กฟผ. รับสมัครติดโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน 50 หลัง

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--สพช. สพช. ร่วมกับ กฟผ. เปิดโครงการติดโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน 50 หลังผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้าน 4,000 หน่วยต่อปี ประหยัดเงินปีละ 12,880 บาทต่อหลัง นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน...

สพช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--สพช. สพช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ใช้งบประมาณแห่งละ 1 ล้าน 1 แสนบาท ทางการออกให้ร้อยละ 60 หวังลดกำลังการผลิต...

สพช. จับมือ สภาอุตสาหกรรมฯ คัดเลือก 10 โรงงานนำร่อง ติดโซลาร์เซลล์

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--สพช. สพช. จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ตั้งเป้าลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 63,000 กิโลวัตต์ต่อปี นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการ คณะกรรมการน...

สพช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันรักษ์พลังงานฯ ขยายศูนย์รีไซเคิล 40 แห่ง ใน จ.นนทบุรี

กรุงเทพฯ--11 มิ.ย.--สพช. สพช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ขยายโครงการ"ขยะเพิ่มทรัพย์" เปิดศูนย์รีไซเคิลในโรงเรียนระดับประถมศึกษา จ.นนทบุรี 40 แห่ง หวังปลูกฝังเยาวชนช่วยแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน นายวีระพล...