พันธวณิชมุ่งสร้างการประหยัดค่าสินค้าและบริการชูการประมูลสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--พันธวณิช พันธวณิชมุ่งสร้างการประหยัดค่าสินค้าและบริการ (cost savings) จากการใช้ระบบจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์ วางกลยุทธให้ความรู้แก่ตลาด และวัดผลการประหยัด เพื่อให้ลูกค้าเห็นประโยชน์จากระบบชัดเจนขึ้น พร้อมชูบริการประมูลสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชักชวนให้องค์กรหันมาใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อสินค้ามากขึ้น นายไตร กาญจนดุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พันธวณิช จำกัด กล่าวว่า "ในปี 2545 นี้ พันธวณิชมุ่งที่จะดำเนินงานไปใน 2 ส่วน ส่วนแรกคือการให้ความรู้กับตลาดเกี่ยวกับระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถึงแม้จะเป็นแนวคิดที่ใหม่ แต่ก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในต่างประเทศ และเป็นแนวโน้มที่จะเข้ามาในเมืองไทยอย่างแน่นอน ส่วนที่สอง คือ การมุ่งสร้างการประหยัดค่าสินค้าและบริการจากกระบวนการจัดซื้อให้แก่ลูกค้า โดยเราจะเน้นที่การประมูลสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากองค์กรที่สนใจสามารถเข้าร่วมประมูลได้ทันที โดยไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีใดๆ และสามารถเห็นผลการประหยัดได้ชัดเจนและรวดเร็ว โดยภายใน 5 เดือนหลังจากเปิดให้บริการ เราสร้างการประหยัดค่าสินค้าและบริการจากการประมูลสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เฉลี่ย 16.8% หรือประมาณ 21.35 ล้านบาท ทั้งนี้ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้รับประโยชน์จากการประมูลนี้ โดยผู้ซื้อจะได้สินค้าในราคาที่พอใจ ส่วนผู้ขายก็มิได้ถูกเอาเปรียบในเรื่องราคา เนื่องจากผู้ขายเป็นผู้เสนอราคาเข้ามาแข่งขันกัน โดยเฉพาะการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความโปร่งใสมากกว่าการประมูลแบบปกติ นอกจากนี้ ผู้ขายยังมีโอกาสที่จะเปิดการขายกับผู้ซื้อรายใหม่ๆ อีกด้วย" "การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากระบบนี้เป็นแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในตลาดเมืองไทยอย่างแพร่หลาย และเราต้องการให้บริษัทต่างๆ ในประเทศไทย หันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น แม้แต่รัฐบาลเองก็ยังมีโครงการ Electronic Government หรือ การเปลี่ยนการทำงานของภาครัฐให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้าและบริการต่างๆ" "ในส่วนของระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการสั่งซื้อสินค้าภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อนั้น ลักษณะการทำงานคล้ายกับการปรับโครงสร้างองค์กร โดยเราต้องเข้าไปศึกษากระบวนการสั่งซื้อสินค้าของแต่ละองค์กร จากนั้นจึงออกแบบหรือเชื่อมต่อระบบให้สามารถพัฒนาสู่กระบวนการอิเล็กทรอนิกส์ได้ในที่สุด และเนื่องจากเป็นการปรับโครงสร้างการสั่งซื้อ จึงต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา ระบบจัดซื้อในองค์กรปัจจุบันเป็นการกระจายการสั่งซื้อไปยังจุดต่างๆ (Decentralized purchasing) ภายในบริษัท เนื่องจากองค์กรมีขนาดใหญ่ แผนกจัดซื้อแผนกเดียวไม่สามารถรองรับความต้องการทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้อง และระบบจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ซอฟต์แวร์ Commerce One ของพันธวณิชก็สนับสนุน หลักการ decentralization นี้ ในแง่ที่องค์กรสามารถให้คำจำกัดความว่าในแต่ละแผนก ใครจะเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นการรวบรวมข้อมูล (Centralized database) คือ การรวบรวมความต้องการซื้อทั้งหมดในองค์กร ก่อนนำไปต่อรองราคากับผู้ขาย" ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแก่ผู้ซื้ออย่างแน่นอน คือ การลดลงของอัตราการซื้อสินค้านอกระบบ (Maverick buying) หรือการซื้อก่อนเบิกทีหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้องค์กรเกิดค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่จำเป็น ในต่างประเทศมีค่าการประหยัดของระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ประมาณ 5-10% ส่วนประเทศไทยนั้น ถึงแม้ว่ายังไม่มีตัวเลขชัดเจนในปัจจุบัน แต่เนื่องจากการซื้อนอกระบบในประเทศไทย มีอัตราสูงกว่าต่างประเทศ จึงเป็นไปได้สูงว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ จะทำให้การบริหารกระบวนการสั่งซื้อสินค้าภายในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ไม่จำเป็นต้องกักตุนสินค้าเพื่อป้องกันสินค้าขาดแคลน หรือไม่ต้องกังวลว่าสินค้าจะหมดสต็อก จนทำให้เกิดการซื้อนอกระบบขึ้น เป็นต้น ผลจากการศึกษาของ เจจี ซัมมิท (JG Summit) หนึ่งในผู้ก่อตั้งบายันเทรด (Bayantrade) ซึ่งเป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่างความสำเร็จของระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศฟิลิปปินส์ พบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมลงจากเฉลี่ย 5-17 เหรียญสหรัฐฯ เหลือเพียง 3 เหรียญสหรัฐฯ และนอกเหนือจากการลดค่าใช้จ่ายโดยตรงแล้ว ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ ยังทำให้กระบวนการสั่งซื้อสินค้าลดลงจาก 18 วัน เหลือเพียง 48 ชั่วโมง นอกจากนี้พันธวณิช ยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.pantavanij.com ในรูปโฉมใหม่ ด้วยรูปแบบการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น โครงสร้างหลัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของสมาชิกพันธวณิช และส่วนของผู้สนใจใช้บริการ ส่วนของสมาชิกนั้น ผู้ซื้อสามารถลงประกาศสินค้าที่ต้องการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับฝ่ายจัดซื้อในกรณีที่ไม่ทราบว่าสินค้านั้นมีผู้ใดจำหน่ายอยู่ อีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า แคตตาล็อกกลาง (Central catalog) ที่เป็นแหล่งค้นหาสินค้าและผู้ขายใหม่ๆ สำหรับผู้ซื้อ ในส่วนผู้สนใจทั่วไป จะสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก ตัวอย่างการสาธิตบริการ (Demo) และจดหมายข่าวออนไลน์ (e-Newsletter) พันธวณิชพันธวณิช ให้บริการการจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Procurement) และประมูลสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online Auction) ภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มบริษัทชั้นนำของประเทศ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เทเลคอมเอเซียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน), และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยบริษัทฟรีวิลล์ โซลูชั่นส์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง ลูกค้าของพันธวณิชจะได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายที่กว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยโดยรวม และยังสามารถใช้เครือข่ายนี้ขยายกิจการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของพันธวณิช www.pantavanij.com ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณภัทรภร, คุณชนิดาภา บริษัท พันธวณิช จำกัด อีเมล์:[email protected], [email protected] โทร 0 2654 1499 # 216, 202 แฟกซ์ 0 2654 1488--จบ-- -สส-

ข่าวอิเล็กทรอนิกส์+ไตร กาญจนดุลวันนี้

กระทรวงดีอี-ETDA จับมือ TMA เปิดเวทีแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ผู้เชี่ยวชาญ เร่งขับเคลื่อนศักยภาพดิจิทัลไทย ดัน GDP เติบโตสู่รายได้สูง อย่างยั่งยืน!

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA และ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เปิดเวที สัมมนา "Navigating Thailand's Sustainable Digital Future" เวทีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อนโยบายและความก้าวหน้าในการพัฒนาทางด้านดิจิทัล เปิดพื้นที่ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตดิจิทัลอย่างยั่งยืน ตั้งเป้ายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลไทย อยู่ 30 อันดับแรกของโลก

บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (ม... JTS ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 — บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ JTS นำโดย คุณวีรยุทธ โพธารามิก ประธานกรรมการ, ดร.พาวุฒิ...

นายณรงค์ รัฐอมฤต (กลาง) ประธานกรรมการและก... ผถห.TSE ไฟเขียวเพิ่มทุน 211.77 ล้านหุ้น ลุยขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า - Healthcare - Wellness — นายณรงค์ รัฐอมฤต (กลาง) ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ, ดร.แคทลีน มา...

นายวิทิต สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท (กล... FVC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 เดินหน้าขยายการลงทุน 3 ธุรกิจหนุนรายได้โต 25% — นายวิทิต สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท (กลางขวา) นายวิจิตร เตชะเกษม ...

ดร.จเรรัฐ ปิงคลาศัย (กลาง) รองประธานกรรมก... STX จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวพร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.10 บาท — ดร.จเรรัฐ ปิงคลาศัย (กลาง) รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายทรงวุธ เ...

พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสถาบันการเ... ไอแบงก์รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 94% — พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะ...

นายกำธร อุดมฤทธิรุจ (กลาง) ประธานคณะกรรมก... ผู้ถือหุ้น SUPER โหวตผ่านทุกวาระ — นายกำธร อุดมฤทธิรุจ (กลาง) ประธานคณะกรรมการ และ นายจอมทรัพย์ โลจายะ (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร...

UAC ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผลเพิ่ม 0.25 บาท เคาะวันจ่าย 9 พ.ค.นี้

รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ประธานกรรมการ (แถวหน้ากลาง) นายกิตติ ชีวะเกตุ รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร(แถวหน้าซ้าย) นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (แถวหลังซ้าย) พร้อมด้วย คณะกรรมการบริษัท ยูเอซี ...