มาตรการและวิธีปฏิบัติต่อผู้โดยสารป่วยที่ต้องการเดินทางทางเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--ศูนย์ปชส. กระทรวงคมนาคม การบินไทยไม่เคยรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้โดยสารที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ ทั้งนี้เคยอนุมัติผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้เดินทางในหลายๆ กรณี โดยมีมาตรการและวิธีปฏิบัติมานาน ซึ่งได้มีการพิจารณาร่วมกันกับสถาบันเวชศาสตร์การบินและโรงพยาบาลบำราศนราดูร รวมทั้งมีคู่มือปฏิบัติงานของพนักงานที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสารป่วยที่ต้องการเดินทางโดยเครื่องบิน ที่เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และมาตรฐานของสายการบินชั้นนำทั่วโลก จากกรณีที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการเดินทางกลับประเทศไทยโดยสายการบินไทยนั้น การบินไทยได้รับข้อมูลจากแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ แม้ว่าสำนักงานการบินไทยที่ญี่ปุ่นพยายามติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่ม และผู้ป่วยมีอาการไม่ดี โดยดูจากผลของความดันโลหิต อัตราการหายใจต่อนาที ชีพจร และอุณหภูมิของร่างกาย (Vital Signs) นอกจากนี้ยังมีปัญหา คือ 1. ไม่ส่งผลการตรวจ Lab Result เป็นภาษาอังกฤษตามที่ขอ 2. ไม่มีการส่งผลการเอ็กซเรย์ปอดอย่างเป็นทางการมาให้ นอกจากนี้เนื่องจากใกล้วันเดินทางของผู้ป่วยแต่ทางการบินไทยไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้มั่นใจว่าผู้ป่วยไม่มีเชื้อวัณโรคแทรกซ้อนและแข็งแรงเพียงพอในการเดินทางทางอากาศ อย่างไรก็ตามการบินไทยได้ยินดีเสนอรับผู้ป่วยโดยจัดการเดินทางพิเศษ โดยการจัดเตียงให้นอนด้านท้ายของห้องโดยสาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักตลอดการเดินทาง (Lying Sick) แต่ผู้โดยสารได้ตัดสินใจเลือกเดินทางด้วยเครื่องบินของสายการบินเจแปน แอร์ไลนส์ แล้ว การบินไทยขอยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่เคยรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะที่ผ่านมาการบินไทยได้อนุมัติผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้เดินทางในหลายๆ กรณี โดยในปีนี้ได้อนุมัติผู้ติดเชื้อเอชไอวี เดินทางจำนวน 2 คน โดยล่าสุดเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับกรณีที่เป็นข่าวนี้แพทย์ผู้ทำการรักษาไม่ได้ให้ข้อมูล Clinical Report ผลการเอ็กซเรย์ปอด และ Lab Result ทั้งนี้การอนุมัติผู้โดยสารป่วย คือ ความรับผิดชอบของสายการบิน ต่อชีวิตของผู้ป่วยเอง ต่อผู้โดยสารท่านอื่นหลายร้อยคน และต่อลูกเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ในเที่ยวบิน การบินไทยมีมาตรการรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งได้จัดทำวิธีการปฏิบัติมานานแล้ว และได้มีการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์การบิน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลบำราศนราดูร (ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านโรคเอดส์) ตระหนักดีว่าเชื้อเอชไอวี ไม่ติดต่อทางลมหายใจ แต่ปัญหาคือโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆ ที่ติดต่อทางลมหายใจได้ เช่น วัณโรค เป็นต้น ดังนั้นการเดินทางในห้องผู้โดยสารที่มีความกดอากาศ (Pressurized Cabin) ซึ่งเป็น Closed Space จะมีผลต่อผู้ป่วยซึ่งอาจทำให้อาการทรุดลงได้ และโอกาสที่ผู้โดยสารอื่นและลูกเรือจะได้รับเชื้อวัณโรค จากการแพร่กระจายทางอากาศเป็นไปได้ง่าย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีข้อสรุปว่า ในกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวีขอเดินทางโดยเครื่องบิน ทางการบินไทยจะขอผลการเอ็กซเรย์ปอดล่าสุดทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ของการบินไทยช่วยพิจารณา หากปราศจากเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง และอาการผู้ป่วยดีพอ ทางการบินไทยจึงจะอนุมัติให้ขึ้นเครื่องได้ดังที่ได้เคยอนุมัติให้ผู้โดยสารป่วยเดินทาง อาทิ ในปี 2544 การบินไทยอนุมัติให้ผู้โดยสารป่วยเดินทางทั้งหมด 760 กรณี รวมกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อนุมัติให้เดินทาง 2 กรณี ในกรณีที่มีเชื้อวัณโรคจะขอให้อยู่รักษาในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้นและแพทย์รับรองว่าไม่อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อแล้ว จึงจะอนุมัติให้เดินทางได้ ในปัจจุบันสายการบินส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งผู้โดยสารป่วย ที่ได้รับการรักษาจากแพทย์จนอาการดีพอที่จะเดินทางได้ ทั้งนี้สายการบินจะมีมาตรการหรือวิธีปฏิบัติที่เข้มงวดมาก เนื่องจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย สภาพอากาศระหว่างเดินทาง ตลอดจนสภาพห้องโดยสารที่เป็นห้องโดยสารที่มีความกดอากาศ (Pressurized Cabin) และ Closed Space อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งการบินไทยเองได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการทำงานของพนักงานที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสารป่วยที่ต้องการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งคู่มือดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานของ IATA (INTERNATIONAL AVIATION TRANSPORTATION ASSOCIATION หรือสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ) และเป็นไปตามมาตรฐานของสายการบินชั้นนำทั่วโลก ซึ่งมีหลักการในการอนุมัติให้ผู้ป่วยเดินทางได้ ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีพอที่จะเดินทางได้จริงๆ ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนัก การบินไทยจะไม่อนุมัติให้ผู้ป่วยเดินทาง เพื่อป้องกันมิให้ผู้โดยสารเสียชีวิตระหว่างการเดินทางโดยเด็ดขาด แต่จะขอให้อยู่รับการรักษาที่โรงพยาบาลและหากอาการดีขึ้น จึงจะพิจารณาใหม่อีกครั้ง 2. ผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาพที่ไม่แสดงอาการของโรคและเป็นที่สังเกตอย่างเห็นได้ชัดของผู้โดยสารท่านอื่น 3. ผู้ป่วยต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงทางลมหายใจที่จะทำให้ผู้โดยสารท่านอื่นและลูกเรือติดเชื้อได้ สายการบินส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้แพทย์ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยโดยตรงเป็นผู้อนุมัติการเดินทาง เนื่องจากขาดความรู้โดยตรงทางด้านเวชศาสตร์การบินและไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นสายการบินจึงให้แพทย์ของตนเองหรือแพทย์ท้องถิ่นที่จัดจ้างพิเศษเพื่อช่วยประสานงานให้คำปรึกษากับหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติวิธีปฏิบัติของการบินไทย ในส่วนของการบินไทย แผนกวิธีการขายเป็นผู้รับผิดชอบอนุมัติให้ผู้ป่วยเดินทางโดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ 1. ผู้ป่วยติดต่อสำนักงานขายการบินไทย ณ ประเทศนั้นๆ เพื่อขออนุมัติการเดินทาง 2. สำนักงานขายการบินไทย ส่งใบ Medical Information Form (MEDIF) ตามมาตรฐานของ IATA เพื่อให้แพทย์ผู้ทำการรักษากรอกข้อมูลเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย 3. สำนักงานขายกรอก MEDIF ที่ได้รับลงในข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารและติดต่อแผนกวิธีการขายที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เพื่อขออนุมัติ 4. ปรึกษาแพทย์ของการบินไทยเพื่อประกอบการตัดสินใจ หากเป็นกรณีไม่หนักจะอนุมัติการเดินทาง แต่ถ้าเป็นกรณีหนักและข้อมูลใน MEDIF ไม่เพียงพอ แพทย์การบินไทยจะขอให้แผนกวิธีการขายช่วยประสานงานเพื่อขอข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมจากแพทย์ผู้ทำการรักษา 5. นักบินที่ 1 และ/หรือ แผนกเช็คอินผู้โดยสารที่สนามบิน สามารถปฏิเสธไม่ให้ผู้ป่วยขึ้นเครื่องได้ หากอาการของผู้ป่วยอยู่ในสภาพหนัก หรือเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อทางลมหายใจภายในห้องโดยสาร อย่างไรก็ตาม บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ใคร่ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่เคยรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้โดยสารที่ป่วยด้วยโรคใดๆ ก็ตาม และจากข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่ผู้โดยสารป่วยทุกเชื้อชาติที่ต้องการเดินทางกับสายการบินไทย เพื่อผู้โดยสารป่วยจะได้ทราบและเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการเตรียมความพร้อมก่อนที่อาการของโรคจะร้ายแรงจนไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้--จบ-- -พส/สส-

ข่าวสถาบันเวชศาสตร์การบิน+โรงพยาบาลบำราศนราดูรวันนี้

นาฬิกาทางการแพทย์ของ CardiacSense ได้รับเลือกให้ใช้ตรวจวัดสัญญาณชีพและสภาพร่างกายของนักบินอวกาศอิสราเอลระหว่างปฏิบัติภารกิจ

CardiacSense ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ และ Israel Aerospace Medicine Institute ซึ่งเป็นสถาบันเวชศาสตร์การบินและอวกาศของอิสราเอล ได้รับเลือกให้ส่งนาฬิกาทางการแพทย์ของ CardiacSense ไปยังอวกาศ โดยนาฬิกาเกรดการแพทย์ซึ่งได้รับการรับรองทางคลินิกนี้ใช้ในการติดตามผู้ป่วยทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยยังคงให้ความสบายเนื่องจากไม่ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจวัดการเต้นของหัวใจที่ต้องใส่เข้าไปในร่างกาย CardiacSense ยินดีที่ได้ประกาศว่านาฬิกาทางการแพทย์ของบริษัทจะทำหน้าที่ตรวจวัดสัญญาณชีพและสุขภาพโดยทั่ว

จิตอาสา พลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ ... จิตอาสา “ชมรมรัฐวิสาหกิจฯ” มอบ “คุณช้างจับมือ” ส่งสุขผ่านผ้า — จิตอาสา พลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ ชมรมรัฐวิสาหกิจเพื่อชุมชน (ชรช.) มอบ"คุณช้างจับมือ...

นายสุรชัย โชติจุฬางกูร (ที่ 4 จากซ้าย) ปร... ภาพข่าว: บมจ. เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช — นายสุรชัย โชติจุฬางกูร (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร ...

ดร.กนก สารสิทธิธรรม รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาก... สบพ. จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตร Training Developers Course (TDC) รุ่นที่ 5 (TDC-5) — ดร.กนก สารสิทธิธรรม รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการสถาบันการบินพลเรือน เ...

อันเป็นมาตรฐานสากลว่าด้วยเรื่องการบริหารร... สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศได้ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐาน ISO/IEC27001:2013 — อันเป็นมาตรฐานสากลว่าด้วยเรื่องการบริหารระบบความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและมา...

“กันต์-อ๋อม-พอล-ภูริ” ฟิตร่างกาย!! เตรียมเหินฟ้าร่วมกับ “ฝูงบินผาดแผลงระดับโลก”

ออกอาการปลื้มสุดๆ เมื่อ อ๋อม-อรรคพันธ์, กันต์ กันตถาวร, พอล-ภัทรพล และ ภูริ หิรัญพฤกษ์ รู้ว่า กองทัพอากาศ และ บริษัท เพนดูลัม จำกัด ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา “ไบรท์ลิ่ง” (BREITLING) นาฬิกายอดฮิตในหมู่นักบินทั่วโลก ชวนไปร่วมเป็น...

กรมควบคุมโรคติดต่อขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทักษะพื้นฐานการสื่อสารในการทำงานเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์

กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--กรมควบคุมโรคติดต่อ หลักสูตร 1 วัน(2รุ่น) กำหนดการอบรม 13 และ14 มิถุนายน 2545 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการสื่อสาร การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมที่ให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/...

คนไทยชุดแรกตะลุยอวกาศ

กรุงเทพฯ--4 มิ.ย.--โพลีพลัส ออกาไนเซอร์ น.พ. เทียนชัย รัศมีมาสเมือง และ จ่าเอกเดชา จันทร์พล 2 สมาชิกยูบีซีผู้โชคดีที่ได้เป็นตัวแทนชุดแรกของประเทศไทยขึ้นสู่ขอบอวกาศในโครงการ “Trip to the edge of space competition ” ชูสองนิ้วแสดงความมั่นใจหลังผ่านการตรวจร่างกาย...