ห้องสมุดการ์ตูนไทยขอเชิญชมของนักสะสมการ์ตูนไทย โครงการห้องสมุดการ์ตูน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--ห้องสมุดการ์ตูนไทย หนุ่มใหญ่วัยปลาย ผู้หลงรักหนังสือการ์ตูนไทย คิดการณ์ใหญ่สร้าง ห้องสมุดการ์ตูนไทย ด้วยการเริ่มต้นจาก หนังสือการ์ตูน ที่ตัวเองสะสมมา ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่กว่า 20,000 เล่ม นายวรวิชญ เวชนุเคราะห์ เจ้าของโครงการห้องสมุดการ์ตูนไทย วัย 52 ปี ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 325/1 ซอยพญานาค ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ภายในบ้านหลังเก่าแก่อายุราว 50 กว่าปี เล่าถึงเรื่องราวการเก็บรวบ รวมความงดงามของศิลปะการเขียนการ์ตูนไทยตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์วัยว่า บ้านหลังนี้อายุ 50 กว่าปีแล้ว เพราะใกล้กับคลองมหานาค สมัยก่อนเขาปลูก ผักกัน บ้านหลังนี้เนื้อที่ 123 ตารางวา สร้างมานานจนหลังคาเริ่มผุพัง แต่เป็นที่ที่พ่อแม่รักมาก ส่วนการ์ตูนมาจากที่พ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ทั้งนิตยสาร การ์ตูน พอพ่ออ่านจบ แม่อ่านจบ ก็ตกมาถึงเรา อ่านเสร็จก็ไม่ได้ทิ้ง เก็บเอาไว้ตลอด บางเล่มอ่าน 10-20 เที่ยวไม่มีเบื่อ ตอนนั้นอายุแค่ 6 ขวบเอง พอโตขึ้นมา หน่อยเริ่มหาการ์ตูนอ่านเอง ซื้อเก็บเอาไว้ และมาขาดช่วงไปบ้างช่วงทำงาน แต่เริ่มกลับมาเก็บใหม่ตอนปี 2529 ที่เก็บจริงจัง ตอนแรกเอาวางๆ ไว้บนชั้น ไม่ได้จัดให้เป็นระเบียบ พอดีเป็นช่วงฝนตกหนักมากในกรุงเทพฯ ปี 2529 เขาเรียกฝนพันปี ที่บ้านน้ำ ท่วม หนังสือเสียหายไปมาก ทำให้เริ่มมาคิดว่าน่าจะเก็บรวบรวมเอาไว้อย่าง จริงจัง ประจวบกับเพื่อนเอาหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นมานั่งอ่านแล้วทิ้งเอาไว้ เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหารุนแรงมาก เป็นพวกทหารรับจ้าง มียิงกัน เชือดคอกัน เห็นกันจะจะ โหดมาก ตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย เห็นแล้วรู้สึกว่าการ์ตูน ไทยน่าอ่านกว่าเยอะ ลองเอาการ์ตูนเก่าๆ มานั่งอ่านดูแล้วสบายใจ พอปี 2530 จึงคิดว่าเดี๋ยวนี้การ์ตูนไทยของเราหายไปไหน ส่วนใหญ่จะเป็นการ์ตูนไทยเล่ม ละ 1 บาท ฝีมือคนเขียนเรื่องกับรูปไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เนื้อหาของเรื่องเปลี่ยน แปลงไป การเขียนรูปก็ลวกๆ ไม่สวย แถมบางเล่มยังมีการลอกเลียนแบบกัน เนื้อหาหยาบโลนเกินไป นายวรวิชญกล่าวต่อว่า กลัวเด็กจะไม่ได้เห็นหนังสือการ์ตูนดีๆ ในอดีต เราเองก็มีน่าจะเก็บเอาไว้ให้เด็กได้ดู จึงเริ่มมีโครงการห้องสมุดการ์ตูนไทย เป็นโครงการที่เริ่มคิดขึ้นตั้งแต่ปี 2533 เพื่ออนุรักษ์เก็บรวบรวมการ์ตูน เก่าๆ ที่เราอ่านตั้งแต่เด็กและการ์ตูนรุ่นใหม่ๆ เพื่อเปรียบเทียบวิวัฒนาการของ การ์ตูนไทย เพื่อฟื้นฟูให้เด็กไทยหันมาอ่านหนังสือการ์ตูนไทย โดยการนำ การ์ตูนเก่ามาตีพิมพ์ใหม่ ขณะนี้ก็เริ่มตีพิมพ์ออกมาแล้วบ้าง อีกอย่างเพื่อเชิดชู นักเขียนการ์ตูนไทย เราเป็นคนรักการอ่านการ์ตูน ทำให้ผูกพันกับคนเขียน ทั้งที่ไม่ได้รู้จักตัวตนจริงๆ มาก่อน อยากรวบรวมชีวประวัติและผลงานของท่าน เหล่านั้น คิดว่าจะรวบรวมเก็บเอาไว้ประมาณ 100 คน ใส่แผ่นดิสก์เก็บเอาไว้ ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษา ที่ทำวิทยานิพนธ์ ทำรายงานเขาจะเข้ามาที่นี่ การ์ตูนไทยแบ่งเป็นหลายยุค ยุคแรกเป็นยุครุ่นบุกเบิก ตั้งแต่สมัย ร.6 ยุคก่อนสงครามโลกเป็นยุคของ ครูเหม เวชกร ยังเป็นยุคที่เอาการ์ตูนใน หนังสือพิมพ์รายวันมารวมเล่มยุคหลังสงครามโลกเริ่มมีการตีพิมพ์อีกครั้งหลัง จากมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์การพิมพ์ในช่วงสงคราม มีนักเขียนเกิดใหม่ขึ้นมา หลายคน เช่น พิมล กาฬสีห์ และพนม สุวรรณบุญ หนังสือการ์ตูนเริ่มเป็น หนังสือการ์ตูนเต็มตัว เป็นเล่ม ถือว่าเป็นยุคทอง ประมาณปี 2496-2505 มีนักเขียนฝีมือดีๆ เข้ามามาก เช่น ก.สุรางคนางค์ น้อย อินทนนท์ ป.อินทร ปาลิต นายวรวิชญกล่าวเพิ่มเติมว่า สมัยนั้นการตลาดดีมาก เพราะการ หาความบันเทิงยังอยู่ที่หนังสือ ทีวีกับวิทยุยังมีน้อย ทีวีเพิ่งเริ่มมีฉายปี 2498 สมัยเราเด็กๆ เห็นตามแผงร้านหนังสือหนีบการ์ตูนด้วยที่หนีบเรียงพรึบ เห็นแล้วเหมือนสวรรค์เลยนะ ตอนนั้นรู้สึกขายเล่มละ 2.50 บาท ถือว่าแพง สำหรับเด็กอย่างเราแล้ว ช่วงเด็กจะติดหนังสือการ์ตูนมาก เอาไปอ่านที่โรงเรียน ครูริบ ตนโดนประจำ บอกว่าทำให้เสียการเรียน เจ็บปวดนะ เจ็บกายก็เจ็บ เพราะครูหยิก ปวดใจที่ครูเอาของที่เรารักไป เพราะตนผูกพันกับหนังสือ การ์ตูนมาก เก็บทุกเล่ม ซื้อมาไม่เคยทิ้ง อย่างชูชกเล่มแรกก็มี พอโตเรียน ม.ปลาย ค่อยดีหน่อย เพราะครูชอบอ่านด้วย ก็จะเอาที่เรามีอยู่ขนไปให้ครูอ่าน จนมาเรียนพาณิชย์พระนครได้เข้าไปทำ หนังสือที่โรงพิมพ์แห่งหนึ่ง ก็ยิ่งเก็บมากขึ้น หนังสือส่วนหนึ่งได้มาจากการซื้อตั้งแต่เด็ก และได้จากร้าน หนังสือเก่าที่มาขายถูกๆ อย่างตุ๊กตาเขาทำมา 500 เล่ม เราก็มีเกือบหมด ขาดเพียงบางเล่ม นอกจากนี้ยังเก็บ ภาพการ์ตูนโฆษณาก็เก็บ หรือภาพการ์ตูนในหนังสือประมวลสาสน์ ก็เก็บ นายวรวิชญกล่าวต่อว่า พิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทยที่วางเอาไว้จะ สร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยใช้เนื้อที่ภายในบริเวณด้านหน้าของบ้าน - ชั้นล่างสุดเปิดบริการทั่วๆ ไป - ชั้นสองเป็นหอเกียรติคุณสำหรับรวบรวมผลงานและประวัติของนักเขียนการ์ตูนจำนวน 100 ท่าน - ส่วนชั้นสามเป็นสถาน ที่เก็บข้อมูล มีคอมพิวเตอร์เก็บรวบรวมข้อมูลให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูล วางเอาไว้ว่าประมาณปี 2550 น่าจะเสร็จต้องใช้ทุนในการสร้างประมาณ 5 ล้านบาท คงต้องขอกำลังสนับสนุนจากผู้ที่เห็นคุณค่าของ งานเหล่านี้ เรามาเสียหลักเอาตอนยุคฟองสบู่แตก แต่อย่างไรความตั้งใจยังคง มีเต็มเปี่ยม ขณะนี้หนังสือการ์ตูนที่รวบรวมได้ทั้งหมด 20,000 กว่าเล่ม แต่อย่างไรก็ตาม ถึงจะอยากให้เด็กไทยหันมาอ่านการ์ตูน ไทย เราต้องยอมรับว่าเราไม่มีการ์ตูนที่เขาจะยอมรับ อย่างเล่มละบาท เนื้อหาแย่ รูปภาพไม่สวย วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเขาก็แข็งพอ การ์ตูนญี่ปุ่นจึง มาครองใจเด็กไทย แม้แต่อเมริกาเองบางครั้งยังเอาการ์ตูนญี่ปุ่นไปลอกเลียน แบบเลย ตนคิดว่าหนังสือการ์ตูนจะต้องเป็นหนังสือที่อ่านได้ง่าย ดูรูปแล้วเข้าใจความหมายโดยไม่ต้องอ่านข้อความก็ได้ เหมาะกับทุกเพศทุก วัย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผิดคือ ผู้ใหญ่มักจะคิดว่าหนังสือการ์ตูนไปขัดขวางการเรียน ของเด็ก จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ไม่ควรเป็นหนังสือต้องห้ามที่จะไม่ให้เด็กเอา ไปโรงเรียน การ์ตูนไทยมีหลายประเภท มีการ์ตูนครอบครัว ในเล่มมีตัว แสดงเป็นคนในครอบครัว หรือสามารถอ่านได้ทั้งครอบครัว เช่น ตุ๊กตา เบบี้ หนูจ๋า ประเภทมีเนื้อหาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น พระอภัยมณี ปลาบู่ทอง การ์ตูนผจญภัย การแต่งตัวรูปแบบทันสมัยขึ้นมาหน่อย มีพระเอก ผู้ร้าย เช่น เสือใบ เสือดำ จอมอภินิหาร ประเภทการ์ตูนแปลจากญี่ปุ่น ประเภทนิทาน การ์ตูน มีเนื้อเรื่องสลับไปกับภาพการ์ตูน เช่น ชัยพฤกษ์ สวนเด็ก ประเภทสุดท้ายไม่ใช่หนังสือ แต่เป็นแอนนิเมชั่น เป็นหนังการ์ตูน เช่น สุดสาคร การ์ตูนโฆษณา หนูแหวนแขนอ่อน กระจกวิเศษ เราได้เก็บเป็นซีดี เอาไว้ นายวรวิชญกล่าวต่อว่า พิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทยจะเป็นสถานที่ จัดแสดงสิ่งของ เรื่องราว ความเป็นมาของการ์ตูนไทยจากอดีตจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การจะทำให้สำเร็จ แม้ต้องทำด้วยตนเอง แต่ก็ต้องอาศัย ความรู้และประสบการณ์จากบุคคลหลายๆ ท่าน หลายๆ ส่วนที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหากใครสนใจที่จะร่วมกันเสียสละเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย กับวัฒนธรรมสายหนึ่งซึ่งถูกกลืนไปโดยความรู้ไม่เท่าทัน หรือใครมีหนังสือการ์ตูน หรือมีเรื่องราวของท่านนักเขียนการ์ตูนมาแลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดเห็น เพื่อร่วมสรรค์สร้างพิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทยขึ้นก็ยินดี ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2215-2258 ตอนนี้ตนลาออกจากงานมาเพื่อที่ให้เวลาทั้งหมด กับการรวบรวมงานการ์ตูนไทย เป็นความฝันที่อยากทำให้สำเร็จ. ท่านที่สนใจเข้าร่วมชมงานสามารถดหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2215-2258--จบ-- -สส-

ข่าวหนังสือการ์ตูน+เรื่องราววันนี้

ปักหมุดอีเวนต์ถูกใจสายวาย เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟินใกล้ชิดนักเขียนในดวงใจ ในงาน Y Book Fair ครั้งที่ 9 มหกรรมนิยายและการ์ตูนวายแห่งชาติ 8-9 กุมภาพันธ์นี้

กลับมาอีกครั้งกับความฟินจับใจ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟินใกล้ชิดนักเขียนในดวงใจกับมหกรรมนิยายและการ์ตูนวายแห่งชาติ Y Book Fair ครั้งที่ 9 ระหว่างวันเสาร์ที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 บริเวณชั้น G ลานกิจกรรมเอ็ม บี เค อเวนิว โซน A ภายในงานละลานตากับหนังสือการ์ตูน หนังสือนิยาย นิตยสารจากสำนักพิมพ์ทั่วประเทศ พร้อมพบปะนักเขียนในดวงใจ กิจกรรม Lucky Draw ลุ้นรับหนังสือและของพรีเมียมสุดน่ารักมากมาย พร้อมโซนจำหน่ายสินค้าและกิจกรรมจากบูธ GMMTV บริเวณ Meeting Point ชั้น G โซน

TAICCA ดันการ์ตูน BL ไต้หวันตีตลาดไทย ดึงวงการคอนเทนต์ไทยกว่าร้อยรายเข้าร่วมเสวนา ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คอนเทนต์แนว BL (Boy's Love) ได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชีย และเพื่อส่งเสริมวงการการ์ตูน BL ของไต้หวัน สถาบันสร้างสรรค์คอนเทนต์ไต้หวัน (Taiwan Creative Content Agency ...

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งป... "นักอ่านเตรียมพร้อมลุย Booktopia ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27" — สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ขอเชิญนักอ่านเข้าร่วมงาน "มห...

ผู้พัฒนา Warner Bros. Games และบริษัท DC ... Warner Bros. Games เปิดตัวคลิปเบื้องหลังเกม Gotham Knights ใหม่ล่าสุด เกี่ยวกับครอบครัว Batman — ผู้พัฒนา Warner Bros. Games และบริษัท DC ได้ทำการปล่อยคลิ...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟิ... เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟินจิ้นกระจายในงาน YBOOK Fair มหกรรมนิยายและการ์ตูนวายแห่งชาติ — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟินจิ้นกระจายในงาน YBO...

TrueID แพลตฟอร์มด้านความบันเทิงชั้นนำของป... ดู One Piece พากย์ไทย ฟรี!! เต็มอิ่มถึง 516 ตอน ที่ TrueID ที่นี่ที่เดียว — TrueID แพลตฟอร์มด้านความบันเทิงชั้นนำของประเทศไทย ได้จับมือกับโทเอแอนิเมชัน บร...

เริ่มแล้วสำหรับ “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ค... ส่องไฮไลท์ห้ามพลาดใน “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 25” — เริ่มแล้วสำหรับ “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 25” (Book Expo Thailand 2020) ตั้งแต่วันนี้ ถ...