บทบาทที่แตกต่างของ บสท. และ ปรส.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--บสท. ประเด็นหนึ่งที่อาจสร้างความสับสนให้กับทุกคนในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการ ดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กับ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น คงต้องพิจารณา วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและแนวทางการดำเนินการของแต่ละองค์กรเปรียบเทียบกัน สำหรับ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง บสท. นั้น เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้สถาบัน การเงินของรัฐและเอกชน ซึ่งตามพระราชกำหนด บสท. พ.ศ. 2544 กำหนดให้รับโอนเฉพาะ สินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้งของรัฐและ เอกชน ที่มีสภาพเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 โดยสถาบันผู้โอนจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกับ บสท. ในผลกำไรหรือขาดทุนจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ดังกล่าวด้วย ซึ่ง บสท. จะบริหารจัดการหนี้ที่เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยพยายามให้ลูกหนี้ที่ ยังพอมีศักยภาพสามารถชำระหนี้ที่ค้างชำระได้ และแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ในขณะเดียวกันต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันเจ้าหนี้ผู้โอนและไม่เป็นภาระกับผู้เสียภาษี ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ บสท. จะมีหลายวิธี ทั้งการปรับ โครงสร้างหนี้ การปรับโครงสร้างกิจการ การฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย ซึ่งในการ แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บสท. จะเลือกใช้วิธีการในการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้ เหมาะสมกับลูกหนี้แต่ละราย ทั้งนี้ หาก บสท. ไม่สามารถใช้วิธีการดังกล่าวบริหารจัดการกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้นได้ บสท. จะใช้วิธีการบังคับจำนองหรือบังคับจำนำกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เพื่อให้ บสท. มีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นก่อนที่จะทำการพัฒนาทรัพย์สินเหล่านั้นให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยอาจใช้แนวทางเปิดให้มีการร่วมลงทุนกับ บสท. เป็นลำดับแรก ซึ่งอาจมีทั้งการร่วม ลงทุนจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลทั่วไป หรือการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อบริหารและจัดการทรัพย์สิน (Special Purpose Vehicles : SPV) ประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือ รูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมด้วย ส่วนการดำเนินงานของ ปรส. จะต่างกับ บสท. ตรงที่ ปรส. ไม่ได้รับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน แต่จะทำหน้าที่หลักในการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้พระราชกำหนด การปฎิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 จะเห็นว่า ปรส. เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ โดยให้สถาบันการเงินเหล่านั้น จัดทำแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะในการดำเนินกิจการให้มั่นคงต่อไป และสำหรับสถาบันการเงินที่ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ปรส. จะเข้าไปควบคุมเพื่อชำระบัญชีต่อไป ซึ่งในการชำระบัญชีจำเป็นต้องมีการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ที่สถาบันนั้นมีอยู่ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็น กระบวนการทำงานของ บสท. หรือ ปรส. ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้ลดลง และทำให้สถาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อเข้าระบบ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินโดยรวม--จบ-- -อน-

ข่าวองค์การเพื่อการปฏิรูประบบ+บริหารสินทรัพย์ไทยวันนี้

แถลงผลการดำเนินคดี ปรส. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนเพิ่มเติมว่า เรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มีการร้องเรียนกล่าวหาคณะกรรมการ ปรส. และผู้บริหาร ปรส. รวม 10 คน ประกอบด้วย นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางวชิรา ณ ระนอง นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นางเกษรี ณรงค์เดช นางจันทรา อาชวานันทกุล นางนงนาท สนธิสุวรรณ นายมนตรี เจนวิทย์การ และบุคคล ที่ขาดหายไปจากการแถลงข่าวครั้งที่แล้ว คือ นายชาลี จันทนยิ่งยง เลขาธิการ กลต. มายังสำนักงาน ป.ป.ช. รวม 7 เรื่อง

ปปช ชี้แจงกรณีนายพร้อมพงศ์ขอทราบผลการพิจารณาคดี ปรส

วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2557) เวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้มาติดตามและขอทราบผลการพิจารณาคดี ปรส. ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนว่าเรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)...

นางวิวรรณ ลาออกจากธนาคารกสิกรไทย

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการได้สั่งฟ้องคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา...

เลห์แมน บราเดอร์ส ชี้แจงเรื่องการสอบสวนคดีปรส.ของดีเอสไอ

เลห์แมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ใคร่ขอชี้แจงรายละเอียดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสอบสวนของกรมสืบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอใน คดีการขายสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ตามที่...

เอกพัฒน์ แจ็คพอต ได้จัดสรรเงินคืนเจ้าแรก

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ปรส. ปรส. แจง บงล.เอกพัฒน์ เป็นรายแรกที่ได้จัดประชุมเจ้าหนี้ กลุ่มแรกยังเหลืออีก 6 บริษัท พร้อมเร่งสถาบันการเงินทั้ง 51 แห่ง เตรียมเอกสารเพื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลายในปีหน้าดร.มนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิการองค์การ...

บอร์ด ปรส.สั่งอำนวยความสะดวกให้ สตง.เข้ามาตรวจสอบเต็มที่

กรุงเทพ--2 มิ.ย.--ปรส. คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.43 โดยมีนายกมล จันทิมา ประธานกรรมการ ปรส. เป็นประธาน ได้รับแจ้งเรื่องที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะส่งเจ้าหน้าที่...

ปรส.ประมูลขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดฯ ครั้งที่ 26

กรุงเทพ--30 พ.ค.--ปรส. องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยหน่วยประสานงาน ด้านการจำหน่ายทรัพย์สินที่มิใช่ทรัพย์สินหลัก (Asset Disposition Coordination Unit : ADCU) จะดำเนินการประมูลขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน...

"บงล.ธนไทย" มอบหมาย "คริสตี้ส์" จัดประมูลภาพศิลปะชั้นเยี่ยม และธนบัตรหายาก 18 มี.ค.นี้

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--ปรส. (อาคารสินธร 9 มีนาคม 2543) ดร.มนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสถาบันการ...

ปรส. เตือนให้ลูกหนี้รีบมาประนอมหนี้กับสถาบันการเงินที่ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ

กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--ปรส. ตามที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มีความประสงค์จะให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกสั่ง ระงับการดำเนินกิจการ (ที่ ปรส.ยังมิได้จำหน่ายออกไป) โดยเปิดโอกาส...