เนทเทครายงานผลการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานยกร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 พ.ค.--เนทเทค รัฐสภา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีได้เชิญประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานยกร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศไทย และดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ โดยมีอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารและสารสนเทศ และที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการฯ เข้าร่วมพิจารณาประเด็นความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของการทำ SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม/ข้อจำกัดของการพัฒนา ICT ในประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่าการประชุมนี้เกิดขึ้นตามบัญชาของนายกรัฐมนตรีที่ประสงค์ให้มีการรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงแผนแม่บท ตามความเห็นที่นายวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ ได้เสนอในที่ประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 ว่าร่างแผนแม่บทฉบับนี้ยังไม่สมบูรณ์ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ประธานอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่าคณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า แผนแม่บทฉบับนี้เสมือนเป็นร่างแผนแม่บทของเนคเทค ไม่ใช่ของประเทศเนื่องจากไม่ได้มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งแนวทางการวิเคราะห์ในส่วนของการวางแผนยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงทั้งข้อมูลและวิธีการ นายอุทิศ ขาวเธียร ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ชี้แจงประเด็นความเข้าใจเกี่ยวกับแผนแม่บทฉบับนี้ว่าเป็นแผนของประเทศ แต่เป็นแผนระดับรายสาขา คือสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น ในการวิเคราะห์ SWOT จึงต้องขีดวงของ “ปัจจัยภายใน” อยู่ที่ประชาคมที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนา ICT ของประเทศ (stakeholders) ส่วนที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของประชาคมต้องถือเป็น “ปัจจัยภายนอก” จะคิดว่าแผนนี้เป็นแผนชาติและถือว่ารัฐบาลเป็น “ปัจจัยภายใน” ไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะรับแผนหรือสนับสนุนแผน ดังนั้นจึงต้องขีดวงประเด็น “ภายใน” ไว้สูงสุดเพียงประชาคมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ ICT ซึ่งจะรวมถึงรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการทำแผนและเสนอแผนต่อรัฐบาลด้วย แต่ไม่ใช่คณะรัฐมนตรีทั้งหมดนายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ประธานคณะทำงานยกร่างแผนแม่บทฯ ได้เปิดเผยว่า ในกระบวนการยกร่างแผนแม่บทฯ ที่ผ่านมาประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม เช่น สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ราชการ/รัฐวิสาหกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งได้รับเชิญให้มาร่วมพิจารณาและเข้าร่วมกระบวนการทำแผนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 โดยทุกกลุ่มได้รับเชิญให้เสนอประเด็น SWOT เกี่ยวกับการพัฒนา ICT ของไทยเพื่อส่งให้เนคเทคทำการรวบรวม และนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มใหญ่เพื่อระดมความคิดในการจัดความสำคัญของตัวแปรและสภาวะแวดล้อมที่เป็น SWOT แต่ละข้อเมื่อได้ผัง SWOT ที่คัดเอาเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญสูงออกมาแล้ว จึงพัฒนาออกมาเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ของการพัฒนา โดยยุทธศาสตร์ที่นำเสนอในร่างแผนแม่บทเป็นผลจากการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งมีทั้งยุทธศาสตร์เชิงรุก และเชิงรับ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวามนายทวีศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” ร่วมกับคณะรัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง และตัวแทนกลุ่มภาคเอกชน และในวันนั้นนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ภาคเอกชนทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องได้ไปจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มเพื่อส่งให้เนคเทครวบรวมเป็นข้อมูลประกอบในการร่างแผนแม่บทฯ โดยเนคเทคได้นำร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าวที่รวบรวมข้อเสนอที่เป็นยุทธศาสตร์และแผนงานทั้งหลายเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ที่ประกอบด้วย stakeholders ของทุกกลุ่มเมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา และรับข้อเสนอแนะของทุกกลุ่มมาพิจารณาปรับร่างแล้ว แผนแม่บทฉบับนี้จึงเป็นแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างกว้างขวางและมีข้อสรุปว่า เพื่อให้แผนแม่บทฯ ที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายนเป็นไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์ นายกรฯ ได้มอบหมายให้เนคเทคเชิญกลุ่ม stakeholders มาพิจารณา SWOT อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยให้แผนแม่บทฯ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทำให้สามารถรับประเด็นใหม่ๆ ที่เป็นข้อเสนอซึ่งอนุกรรมาธิการฯ และดร.วุฒิพงศ์ฯ จะได้จัดส่งให้คณะทำงานฯ ภายในวันที่ 3 มิถุนายนนี้ โดยคาดว่าการประชุมระดมสมองกับกลุ่ม takeholders นี้จะจัดขึ้นประมาณวันที่ 6 มิถุนายน นายกรฯ กล่าวย้ำในที่ประชุมว่า สำหรับวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่มีอยู่แล้วเป็นสิ่งที่คงอยู่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง จึงหวังว่าการนำความคิดมาเสริมกับร่างแผนแม่บทนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ซึ่งตนเป็นห่วงในประเด็นการพัฒนาคนไทยในชนบท ในตำบลต่างๆ ซึ่งจะต้องเร่งสร้างความเท่าเทียมกันในโอกาสการเข้าถึงสารสนเทศ รายงานโดยงานประชาสัมพันธ์และมัลติมีเดีย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ--จบ-- -อน-

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณวันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...