มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และมูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ "ความสุขแบบญี่ปุ่น"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ สัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น - ความสุขแบบญี่ปุ่น- พร้อมการสนทนาวิจารณ์โดยศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ ชมฟรี ระยะเวลา: 9-14 กันยายน 2545 สถานที่: ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงเทพฯ อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท ซอย21 (อโศก) กรุงเทพฯ โทร 0-2260-8560-4 อี-เมล [email protected] URL: www.jfbkk.or.th มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ มูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ “ความสุขแบบญี่ปุ่น” ตั้งแต่วันที่ 9 – 14 กันยายน 2545 และปิดท้ายด้วยรายการสนทนาวิจารณ์โดยศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ ในวันสุดท้าย ศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ เป็นหนึ่งในนักศิลปะและภาพยนตร์วิจารณ์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น มุมมองที่เฉียบแหลมของเขาได้รับการยอม รับยกย่อง และยังได้รับรางวัลมากมายจากการเขียนหนังสือหลายเล่ม เราอยากเห็นว่าอะไรจะถูกสลักอยู่ในความรู้สึกผ่อนคลายที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความสุข” ในญี่ปุ่น ผ่านการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่คัดสรรค์แล้ว 5 เรื่องจากยุค 90 ของศาสตราจารย์ โยโมตะ นอกจากภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องแล้ว ภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะฉายในงานนี้คือ “อุเกทซึ” ซึ่งจะฉายให้ชมในวันสุดท้ายก่อนเริ่ม การวิจารณ์ของศาสตราจารย์ โยโมตะ เขาจะพูดถึงความคล้ายคลึงกันของเรื่องดังกล่าวกับเรื่อง “แม่นากพระโขนง”เรื่องพื้นบ้านอันโด่งดังของไทย เพื่อได้อรรถรสของบทวิจารณ์ของศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะอย่างเต็มที่ ขอแนะนำให้คุณชมภาพยนตร์ให้ครบทุกเรื่อง โดยจะฉายวัน ละหนึ่งเรื่องติดต่อกันตลอดหนึ่งสัปดาห์ ชมฟรี ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณโยชิโอกะ หรือคุณอัมพุชินี ที่ โทรศัพท์ 0-2260-8560-4 ตารางการฉาย: วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2545 18.30 น. มะตะซาบุโร่ จ้าวแห่งลม / โทชิยะ อิโต้ / 1989 / 107 นาที เรื่องราวเหนือจินตนาการสร้างจากเรื่องเดิมของเคนจิ มิยาซาว่า กวีและนักเขียนนวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่น เด็กหญิงได้พบกับเด็กชายประหลาดที่มีชื่อเล่นว่า มะตะซาบุโร่ จ้าวแห่งลม เมื่อเขาปรากฏตัวขึ้นในวันที่มีพายุ วันอังคารที่ 10 กันยายน 2545 18.30 น. บันทึกไอ้บ้าตกปลาภาคพิเศษ / โมริซากิ อะซึมะ / 1994 / 106 นาที ภาพยนตร์ตลกอบอุ่นที่สร้างจากหนังสือการ์ตูน ยอดนิยมของยามาซากิ จูโร่ และคิตามิ เคนอิจิ กล่าวถึงลูกจ้างธรรมดาๆ ในบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งผู้อุทิศตนให้กับครอบครัวและการ ตกปลาที่ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย คนที่มีความสุขมักพบกับเรื่องดีๆ เสมอ วันพุธที่ 11 กันยายน 2545 18.30 น. โรงเรียนผีสิง / ฮิรายามะ ฮิเดยูกิ / 1995 / 100 นาที เรื่องสยองขวัญสนุกสนานในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง การผสมผสานเรื่องผีแบบเก่าของญี่ปุ่นกับการถ่ายทำด้วยเทคนิคพิเศษของ ภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นความสำเร็จที่ลงตัวทางธุรกิจ เรื่องเล่าถึงเด็กนักเรียนและครูซึ่งบังเอิญเข้าไปในตึกเรียนหลังเก่าของโรงเรียน และได้พบกับเหตุการณ์สยองขวัญ วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545 18.30 น. ซึงุมิ / อิจิกาวะ จุง / 1990 / 105 นาที เรื่องราวของเด็กสาวที่ถูกตามใจมาตั้งแต่เกิด สร้างจากนวนิยายขายดีของบานานา โยชิโมโต้ นักเขียนสตรีชื่อดัง วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545 18.30 น. มาเต้นรำกันดีกว่า / ซึโอะ มาซายูกิ / 1996 / 136 นาที เรื่องขำขันที่สดใสของหนุ่มใหญ่นักธุรกิจตัดสินใจเรียนลีลาศโดยไม่บอกครอบครัว ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศที่ได้รับ ความนิยมสูงเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์บ๊อกซ์ออฟฟิศของอเมริกา วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2545 11.00 น. อุเกทสึ / มิโซงุจิ เคนจิ / 1953 / 97 นาที เรื่องสยองขวัญที่สร้างจากเรื่องสั้นของ อุเอดะ อาคินาริ ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี 1768 ได้รับรางวัลสิงโตเงินจาก เทศกาล ภาพยนตร์นานาชาติที่เวนิส 14.00 น. บทวิจารณ์ภาพยนตร์โดย ศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ * ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทย จัดโดย: มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และ มูลนิธิหนังไทย โยโมตะ อินุฮิโกะ เกิดเมื่อปี 1953 จบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางด้านวัฒนธรรมเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และศึกษาในฐานะนักวิชาการใน โครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยโบโลญญ่า (ประเทศอิตาลี) หลังจากสอนในหลายมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ที่คณะวรรณกรรมของมหาวิทยาลัย เมจิ กักคุเอง และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการศิลปะและภาพยนตร์วิจารณ์ ผลงานของเขาได้รับรางวัลในฐานะความสำเร็จทางวิชาการ รวมถึงรางวัล ซันโทรี ไพรซ์ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, รางวัล วรรณกรรมไซโต เรียวคุอุ, รางวัลวรรณกรรม อิโต้ เซอิ และ รางวัลเรียงความจากโคดันฉะ ผลงานบางส่วนเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ : ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในเอเชีย (อิวานามิ โชเทน, 2001), 100 ปี- ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น (ชูเออิฉะ, 2000)--จบ-- -ศน-

ข่าวมูลนิธิหนังไทย+มูลนิธิญี่ปุ่นวันนี้

มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และมูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพ 18 กรกฎาคม 2546 สี่พี่น้อง กำกับการแสดงโดย คง อิจิคาวะ 124 นาที เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกสาวสี่คนของคหบดีใหญ่ในเมืองโอซาก้า ชีวิตของเธอเหล่านี้แตกต่างกันไปคนละทาง ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นจากนวนิยายชื่อดังของนักเขียนมีชื่อ จุนอิจิโร ทานิซาขิ 25 กรกฎาคม 2546 แม่น้ำชิมันโต กำกับการแสดงโดย ฮิเดโอะ ออนจิ 105 นาที ณ หมู่บ้านชนบทที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำชิมันโต วิถีชีวิตแบบชนบทอันเก่าแก่กำลังเปลี่ยนไป ในปี 1959 เด็กชาย อัทซึโยชิ เติบโตขึ้นในหมู่บ้านริมฝั่งน้ำ

มูลนิธิหนังไทยร่วมกับมูลนิธิญี่ปุ่นจัดฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อความสุขแบบญี่ปุ่น

กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--มูลนิธิหนังไทย มาแล้วสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น คราวนี้มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพ ร่วมกับมูลนิธิหนังไทย จัดในหัวข้อ ความสุขแบบญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 13 -14 กันยายน โดยทุกวันเริ่มฉายเวลา 18.30 น....

มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ มูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ "ความสุขแบบญี่ปุ่น" ตั้งแต่วันที่ 9 - 14 กันยายน 2545

กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ สัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น ความสุข แบบญี่ปุ่น- พร้อมการสนทนาวิจารณ์โดยศาสตราจารย์ อินุฮิโกะ โยโมตะ มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ...

โปรเจ็ค 304 แถลงข่าวเทศกาลภาพยนต์ศิลปะนานาชาติ กรุงเทพ ครั้งที่ 1

กรุงเทพ--18 มี.ค.--โปรเจ็ค 304 โปรเจ็ค 304 ร่วมกับ มูลนิธิหนังไทย มูลนิธิญี่ปุ่น และสมาคมฝรั่งเศส จัด เทศกาลภาพยนต์ศิลปะนานาชาติเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เทศกาลนี้เป็นหนึ่งในโครงการ ร่วมฉลองร้อยปีภาพยนต์ในประเทศไทย...

บทสัมภาษณ์ “ฝน-ขนิษฐา ขวัญอยู่” นั่งแท่นผู้กำกับครั้งแรก ในภาพยนตร์ผี-ระทึกขวัญเรื่อง “อาปัติ”

แนะนำตัว-ประวัติการทำงาน สวัสดีค่ะ "ฝน ขนิษฐา ขวัญอยู่" ค่ะ เป็นผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง "อาปัติ" ค่ะ ฝนจบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพค่ะ...

นศ.ไทยในแอลเอทำ‘หนังสั้น’ ส่งประกวดในกรุงเทพ-อังกฤษ

สองนักศึกษาไทยในลอส แอนเจลิส จับมือสร้างหนังสั้นแนวบู๊เรื่อง “ปล้นทะลุ 180 องศา” เพื่อส่งประกวดเทศกาลหนังสั้นทั้งในเมืองไทยและอังกฤษ นายมุ่งศึกษา มหาชนยินดี หรือเป๊าะ นักศึกษาไทยนครลอส แอนเจลิส เปิดเผยกับสยามทาวน์ยูเอสว่า ขณะนี้ ตนและเพื่อน...

ว.วชิรเมธี ร่วมแนะแก่นธรรม

ว.วชิรเมธี ร่วมแนะแก่นธรรม ผ่านเวิร์คช็อปโครงการประกวดหนังสั้น เทศกาลพุทธลีลากรุงเทพฯ ๒๕๕๕... เริ่มต้นแล้วอย่างเป็นทางการ สำหรับโครงการประกวดหนังสั้น เทศกาลพุทธลีลากรุงเทพ ๒๕๕๕ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๖๐๐ ปี ...

TK park และ มูลนิธิหนังไทย ชวนชมหนังสั้นอาเซียน เปิดใจ(ดู) = เข้าใจ ในงาน ASEAN SHORT FILM FEST

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับ มูลนิธิหนังไทย ขอเชิญเยาวชนและบุคคลทั่วไป ชมหนังสั้นจากเพื่อนบ้านอาเซียน ภายในงาน “ASEAN SHORT FILM FEST” วันเสาร์ที่ 20 – วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554...

โครงการ หนังริมน้ำ 2554

มูลนิธิหนังไทย ร่วมกับ มังคุดคาเฟ่ ชวนคุณดู “หนังริมน้ำ” ทุกวันศุกร์ เวลา 19.30 พบกับหนังสั้นของผู้กำกับรุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับไอเดียแปลกใหม่ .... ใครว่าหนังสั้นดูไม่สนุก ใครว่าหนังสั้นดูไม่รู้เรื่อง ใครว่าหนังสั้นต้องติสแตก .... เราชวนคุณมาพิสูจน์สิ่งเหล่านี้ว่าจริงหรือไม่ ......