กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดีเด่น บ้านท่ามะนาว ลพบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ธนาคารออมสิน โดย ยศพิชา คชาชีวะ ได้ฤกษ์ดี เมื่อปลายเดือนที่แล้ว ท่ามกลางสายฝนพรำ ๆ เส้นทางสายสระบุรีไปลพบุรีดูไม่คุ้นเคย เพราะสวยผิดตา จากเดิมที่มีแต่ฝุ่นหมอกของโรงโม่หิน แต่เที่ยวนี้มีเมฆฝนลอยต่ำเรี่ยเนินเขา จนนึกว่าอยู่แถวเมืองเหนือยังไงยังงั้น ผมไปลพบุรีมาครับ เพื่อไปเยี่ยมกลุ่มโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท (สพช.) ซึ่งคราวที่แล้วผลได้เกริ่นถึงโครงการนี้ของธนาคารออมสินไปแล้ว กลุ่มที่ไปเยี่ยมนี้ไม่ธรรมดาเสียด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รางวัลเชิดชูเกียรติกลุ่มองค์กรชุมชนดีเด่น จากธนาคารออมสิน เมื่อวันออมแห่งชาติ 31 ตุลาคม ปีที่แล้ว ซึ่งรางวัลนี้ไม่ใช่ใครจะได้มาง่าย ๆ นะครับ ต้องเป็นกลุ่มที่มีระเบียบวินัยทางการเงิน มีการออมทรัพย์สม่ำเสมอครบ 100% ระบบบัญชีก็ต้องโปร่งใสมีการจัดการบริหารกลุ่มดี กำไรก็ต้องนำมาจัดสรรเป็นกองทุนให้สมาชิกกู้ยืมอย่างยุติธรรม มีหลักฐานตรวจสอบได้ตลอดเวลา กลุ่มที่ว่ามีชื่อเป็นทางการว่า "กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านท่ามะนาว" อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล ลพบุรีนี่เอง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านท่ามะนาว หรือเรียกกันว่า หมู่ 2 ต.ท่ามะนาว อ.ชัยบาดาล มีกำนันหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยวของ ต.ท่ามะนาว กำนันวสันต์ ดรชัย เป็นตัวตั้งตัวตีร่วมกับ คุณลำดวน นวลแสง ผู้นำสตรีของหมู่บ้านโดยตอนนี้กำนันวสันต์รั้งตำแหน่งรองประธานกลุ่ม ตำแหน่งประธานเป็นของคุณลำดวน ตัวหมู่บ้านอยู่ริมทางหลวงสาย 2089 กินอาณาเขตทั้งสองฝั่งของถนน ยาวเข้าไปตามแนวแม่น้ำป่าสัก ห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบาดาลสัก 3 กิโลเมตรเห็นจะได้ กำนันวสันต์พาเราไปที่ศูนย์สาธิตการตลาด ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของกลุ่มฯ เมื่อไปเห็นแล้วก็ทึ่งครับ ศูนย์สาธิตก็คือซูเปอร์มาร์เก็ตหมู่บ้านขนาดย่อม ๆ นั่นเอง แต่ไม่ติดแอร์ มีสินค้าจำเป็น น้ำมัน แชมพู ขายทุกอย่าง และสินค้าของหมู่บ้านซึ่งตอนนี้เน้นที่กระเป๋าสานจากเชือกมัดก้อนฟางสำหรับเลี้ยงโคนมแถวลพบุรี สระบุรีนั่นเอง เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ลักษณะเหมือนเส้นป่าน กำนันวสันต์บอกว่าตอนนี้มีพ่อค้ามาเหมากระเป๋าส่งไปขายถึงไต้หวัน บรรดาลูกบ้านก็จะอาศัยเวลาว่างนั่งถักกันไปที่บ้านของตัวเอง บางคนไกวเปลลูกไปด้วยนั่งถักไปด้วยก็มี เรื่องที่ต้องทึ่งจริง ๆ เป็นเรื่องวิธีการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านท่ามะนาว นี้มากกว่า ต้องขอย้อนความเป็นมาสักนิดหนึ่ง กลุ่มออมทรัพย์นี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มสตรีของหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี 2538 จากการแนะนำของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนประจำตำบลให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้น รู้จักการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าต่าง ๆ เป็นอาชีพเสริม จากการทำนา และช่วยเหลือกันเองในชุมชน กำนันวสันต์เล่าให้ฟังว่า เมื่อแรกตั้งมีสมาชิกแค่ 39 คนเอง ปัจจุบันเพิ่มเป็น 573 คน แถมยังมีคนหมู่บ้านอื่นอยากเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย สมาชิกจะต้องนำเงินมากฝากอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เรียกว่า เงินสัจจะ คือไม่มีเบี้ยวกันนั่นเอง จะคนละเท่าไหร่ก็แล้วแต่กรรมการกลุ่มจะลงบันทึกสมุดประจำตัวไว้ พอครบเดือนก็นำไปฝากที่ธนาคารออมสินสาขาลำนารายณ์ ปัจจุบันยอดเงินฝากตกอยู่ที่เดือนละ 4 แสนบาท มียอดเงินตอนนี้รวมทั้งหมดถึง 1 ล้าน 2 แสนบาท ดอกเบี้ยและเงินในบัญชีส่วนหนึ่งก็จะกันไว้ให้สมาชิกได้กู้กัน แต่กู้ได้ไม่เกิน 2 เท่าของเงินสัจจะแต่ละคน เช่น นาย ก มีเงินสัจจะฝากรวมอยู่ทั้งหมด 5,000 บาท ก็กู้ได้ไม่เกิน 10,000 บาท พอถึงสิ้นปียังมีเงินปันผลคืนให้สมาชิกอีกร้อยละ 6 บาท แล้วอย่างนี้คนหมู่บ้านอื่นจะไม่อยากเข้าเป็นสมาชิกได้ไง จากดอกผลตรงนี้เกิดเป็นกิจกรรมของกลุ่มมากมายตั้งเป็นกองทุนต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา เงินสงเคราะห์ เงินฌาปนกิจฯ ศูนย์สาธิตการตลาดก็ได้เงินจากกลุ่มออมทรัพย์มาลงแรกเริ่มจำนวน 10,000 บาท มีสมาชิกมาลงหุ้น 28 คน เอามาทำร้าน ซื้อของเข้าร้าน ไป ๆ มา ๆ ปัจจุบันมีสมาชิก 147 คน เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 1 แสน 4 หมื่นบาท เฉลี่ยต่อวันประมาณ 5-6 พันบาท เพราะตรงนี้ลูกค้าเยอะ อยู่ปากทางหมู่บ้านพอดี กลุ่มออมทรัพย์ที่อื่นก็ขอมาดูงานเป็นประจำ พร้อมกับอุดหนุนไปคนละหนุบหนับ สิ้นปีมีเงินปันผลคืนให้สมาชิกศูนย์สาธิตอีกถึงร้อยละ 60 บาท และคืนให้อีกร้อยละ 2 บาทตามยอดเงินที่ซื้อไว้ ตอนนี้ศูนย์สาธิตการตลาดยังเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์เครือกระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำกัด (ไทยไชโย) ได้สินค้าคุณภาพดี ราคาถูก มากระจายมากขึ้น เปิดให้ประชาชนทั้งตำบลมาเข้าหุ้น ไม่จำกัดแค่หมู่บ้านแล้ว กำนันวสันต์พาเราเดินลงไปที่ท่าน้ำหลังบ้าน ติดแม่น้ำป่าสัก ชี้ให้ดูกระชังเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริม ทั้งปีจะมีน้ำจากเขื่อนป่าสักมาหล่อเลี้ยงอยู่ จึงน่าทำกระชังเลี้ยงปลา กลุ่มเลยทำเรื่องขอสินเชื่อจาก สพช. มา 5 แสนบาท มาให้สมาชิกที่สนใจเลี้ยงปลาประมาณ 20 ราย เลี้ยงทั้งปลาดุก ปลาทับทิม ปลากด ปลานิล หมดรุ่นหนึ่งก็ขายได้ประมาณ 5 พันบาทต่อรุ่น ข่าวดีคือตอนนี้ใช้เงินกู้ สพช. คืนไปหมดแล้ว กระเป๋าที่ถักจากเชือกมัดกองฟางก็มาจากดอกผลของเงินสัจจะ เอามาซื้อของลงทุนให้บรรดาแม่บ้าน แต่ละคนรับไปทำ พอขายได้ก็จะได้ค่าแรงทำกระเป๋าไป เฉลี่ยแล้วกระเป๋าใบหนึ่งจะใช้เวลาถัก 2 วัน เร่ง ๆ วันเดียวก็ได้ ใบหนึ่งราคา 100-200 บาท นอกจากนี้ยังมีการทอผ้า ทอเสื่อ ทำเปลญวน ปัญหาต่าง ๆ ก็มีบ้าง กำนันวสันต์เล่าให้ฟังถึงปัญหาเล็กน้อย ๆ เช่น ผ่อนชำระช้าบ้าง แต่ก็ไม่เคยมีใครขาดบางทีสมาชิกไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ ซึ่งบางอย่างแตกต่างจากที่อื่น หรือ การให้กู้ต้องเลือกว่าสมาชิกเอาไปทำอะไรอย่างจะไปเปิดโรงเลื้ยงหมูกลางหมู่บ้านก็จะเหม็นไปทำความเดือนร้อนให้คนอื่นได้ โครงการในอนาคตย่อมเกี่ยวข้องกับอาชีพทำนาของคนในหมู่บ้าน เช่น การจัดหารถเกี่ยวข้าว ลานตากข้าว โรงสีชุมชน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ชุมชนพึ่งตัวเองได้อย่างถาวร ความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านท่ามะนาว เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน มีการจัดการบริหารที่ดี สมาชิกกลุ่มมีระเบียบวินัย ทั้งด้านการสะสมเงินและการชำระเงินกู้ รวมทั้งมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของชุมชน สมควรแล้วล่ะครับที่ทางกลุ่มได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากธนาคารออมสิน ก่อนหน้านี้กลุ่มยังได้รับรางวัล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อันดับ 1 ทั้งของ อ.ชัยบาดาล และของ ลพบุรี เมื่อปี 2544 อีก 2 รางวัล อย่างนี้ไม่ปรบมือดัง ๆ ให้เห็นจะไม่ได้แล้ว สำหรับกลุ่มสมาชิก สพช. ดีเด่นอย่างนี้ จันทร์หน้า ผมจะพาไปเยี่ยมกลุ่มสมาชิก สพช. อีกกลุ่มหนึ่ง ทำของหวาน ๆ แต่แบน ๆ อยากรู้ว่าอะไร อย่าลืม ติดตามตอนต่อไปครับ

ข่าวกลุ่มออมทรัพย์+ธนาคารออมสินวันนี้

'วิโรจน์ คงปัญญา' ปราชญ์ฯ ต้นแบบสัมมาชีพ สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วย 'การออม"

ผลงานส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบ จนทำให้ชุมชนสามารถ "แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ" ขยายสู่การ "สร้างอาชีพ" "สร้างสวัสดิการชุมชน" เป็นต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์ที่สร้างประโยชน์หลายด้าน ทำให้ "วิโรจน์ คงปัญญา" ได้รับการเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิสัมมาชีพเป็น "ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ" ประจำปี 2566 ด้วยผลงานด้านการเงินและสวัสดิการชุมชน "การออม" ถือเป็นแนวทางสำคัญตามหลักสัมมาชีพที่ว่าด้วยการประกอบอาชีพสุจริต มีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ ไม่เบียดเบียนตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เหมือนอย่างที่ "วิโรจน์ คงปัญญา"

คุณกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ (ที่ 8 จากขวา) ประ... ภาพข่าว : “GUNKUL ปันน้ำใจให้ชุมชน” — คุณกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ (ที่ 8 จากขวา) ประธานกรรมการบริษัท พร้อมด้วยคุณโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ (ที่ 7 จากขวา ) ประธาน...

การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน ณ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี

นายพรชัย ฐีระเวชที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์...

นางสาวบัณฑรโฉม แก้วสอาด ผู้ตรวจราชการกระท... ภาพข่าว: ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มออมทรัพย์ตลาดสดสามัคคีกันทรารมย์ — นางสาวบัณฑรโฉม แก้วสอาด ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มออมทรัพ...

กอช. เตรียมลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น ชวนฟังเสวน... กอช. จ่อลงพื้นที่ขอนแก่น เร่งสร้างวินัยการออม — กอช. เตรียมลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น ชวนฟังเสวนา "กอช. กับบำนาญภาคประชาชน" วันที่ 14 ก.ค. 60 ณ โรงแรมอวานี โฮ...

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับจัง... กอช. ลงพื้นที่สงขลา ชวนฟังเสวนา “กอช. กับบำนาญภาคประชาชน” — กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับจังหวัดสงขลาและเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน ชวนผู้สนใจเข้...

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับ เค... กอช. เปิดเวทีเสวนาใหญ่ ชวนคนไทยสร้างเสริมวินัยการออม — กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ...

"ความยากจน" ปัญหาระดับชาติที่ต้องเร่งแก้ไ... กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาบอน ต้นแบบ SMART Saving Group — "ความยากจน" ปัญหาระดับชาติที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความยากจน มาจากการขา...

"สภากาแฟ"..คำนี้เป็นที่รู้จักกันดีในสังคม... “จนเงินแต่ไม่จนน้ำใจ” จากสภากาแฟ สู่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา — "สภากาแฟ"..คำนี้เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมท้องถิ่นทั้งหลายที่มักใช้ร้านกาแฟเป็นศู...

สายพิรุณ น้อยศิริ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุม... ภาพข่าว: เพิ่มศักยภาพ — สายพิรุณ น้อยศิริ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิด โครงการประชุมเชิงปฎิบัติการ เพิ่มศักยภาพผู้เชี่ยวชาญสู่ความเป็นเลิศ...