งานวิจัยชิ้นใหม่: แพทย์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการวินิจฉัยว่า จะเชื่อได้อย่างไรว่าผู้ป่วยได้รับยาสำหรับรักษาโรคไชโซฟีเนียร์ (Schizophrenia) หรือโรคจิตเภท

11 Dec 2002

ติตัสวิลล์, เอ็น.เจ., 5 ธ.ค. - พีอาร์นิวส์ไวร์/เอเชียเน็ท


จากการจัดงานประชุมในการประชุมเกี่ยวกับจิตเวชศาสตร์ ของสหรัฐอเมริกา (U.S psychiatry meeting) (1) ได้มีการอ้างอิงถึงข้อมูลการวิจัยครั้งใหม่ว่าแพทย์มีส่วนสำคัญในการวินิฉัยว่า ควรจะให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทรายใดรับการรักษาด้วยยา ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำเสนองานอื่นๆ ในเอกสารการประชุมที่ไปในทิศทางเดียวกันระหว่างการรักษาอาการของโรคและการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ

น.พ.แมทธิว ไบเออร์ลี่ (Matthew Byerly) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เท็กซัส เซาธ์เวสเทิร์น เมดิคัล เซ็นเตอร์ (University of Texas Southwestern Medical Center) ในรัฐดัลลัส สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "เราตระหนักดีว่ากุญแจสำคัญในการรักษาอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นขึ้นอยู่กับการรักษาด้วยยาระยะยาว ซึ่งข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงความต้องการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ละคนให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด"

จากการศึกษาผู้ป่วยจิตเภท (schizophrenia) 21 ราย เป็นเวลา 3 เดือน โดยแบ่งการจ่ายยาให้ผู้ป่วยเพื่อแยกการประเมินผลออกเป็น 2 ทางที่แตกต่างกัน คือ การสังเกตพฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วย โดยให้แพทย์เฝ้าดูผู้ป่วย กับการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิก ในการมอนิเตอร์ ผลปรากฎว่า จากการสังเกตโดยใช้อุปกรณ์ช่วยนั้น ผู้ป่วยถึง 13 รายจากทั้งหมด 20 ราย ที่ไม่ได้หยิบยาไปทานอย่างสม่ำเสมอ แต่การเฝ้าสังเกตโดยแพทย์นั้นมีผู้ป่วยเพียงรายเดียวเท่านั้น จาก 20 ราย ที่ได้ทานยาตามที่กำหนด

ทั้งนี้ ยังมีงานวิจัยเพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรักษา และผลการรักษาของผู้ป่วยด้วย ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี จากการศึกษาผู้ป่วย 565 ราย ที่มีอาการของโรคจิตเภท (schizophrenia) และเคยมีอาการป่วยขั้นรุนแรงมาแล้วก่อนการสมัคร ซึ่งผู้ป่วยจะถูกสุ่มว่าจะได้รับการรักษาแบบที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งเป็นระบบใหม่ ด้วยยา ริสเพอร์ดัล (Risperdal) ซึ่งมีตัวยาริสเพอริโดน อยู่ หรือการรักษาอาการทางจิตแบบเดิม ที่มีแพทย์เป็นผู้พิจารณาผู้ป่วยแต่ละกรณี และเมื่อผ่านการเริ่มแบ่งกลุ่มรักษาแล้ว หลังจากเริ่มรักษาตามที่ไดรับมอบหมาย ผู้ป่วยและแพทย์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการรักษาต่อไปหากเป็นปกติ และหยุดการรักษาหรือเปลี่ยนวิธีรักษาได้หากจำเป็น ทั้งนี้การยึดมั่นวิธีการรักษาผู้ป่วยขึ้นอยู่กับใบสั่งยาจากแพทย์ว่ามียกเว้นหรือไม่

อาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท จะได้รับการประเมินเมื่อเริ่มการวิจัย และเวลาในการใช้ พีเอเอ็นเอสเอส (PANSS; Positive and Negative Syndrome Scale) โดยปกติสเกลนี้จะใช้วัดความรุนแรงทั้ง อาการ"ด้านลบ" เช่น การเก็บตัวไม่เข้าสังคม และ การเฉยเมย และ อาการ"ด้านบวก" ของโรค หรืออาการหลอนทางประสาท

จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วย 94% ที่ไม่ได้รับการบำบัดทางจิตในช่วงหนึ่งของปี และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย


น.พ.จอห์น ดูเชอร์ตี้ (John Docherty, MD) ผู้นำการสำรวจ และ กรรมการผู้อำนวยการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมพรีเฮนซีฟ นิวโรไซแอนส์ (Comprehensive Neurosciences Inc.) องค์กรบริหารจัดการการวิจัยเกี่ยวกับวิทยาการด้านเส้นประสาท ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "จากทั้งสามัญสำนึก และรายงานจากผู้ป่วยของเราทำให้ทราบว่า การหยุดให้ยาแก่ผู้ป่วยได้ผลลัพธ์ที่เลวร้าย แต่การศึกษาครั้งนี้ก็ทำให้พบว่ายังมีวิธีการรักษาทางตรง ซึ่งสามารถประเมินได้จากความเกี่ยวเนื่องกันของอาการความรุนแรง และความล้มเหลวเป็นครั้งคราวจากการรักษา

ประการหนึ่งของการพัฒนาการรักษาโรคจิตเภท คือวิธีการรักษาระยะยาว และแพทย์ไม่ต้องรักษาผู้ป่วยบ่อยถึงวันละครั้ง และยังแน่ใจได้ว่าปริมาณยาในกระแสเลือดจะมีความมั่นคง ซึ่งหนึ่งในยาดังกล่าวคือยาริสเพอร์ดัล คอนสตา (Risperdal Consta) หรือตัวยาริสเพอริโดน ไมโครเฟียร์ (risperidone microspheres) ซึ่งเป็นยาฉีดสำหรับการรักษาระยะยาวของอาการผิดปกติทางจิตชนิดแรก ที่ผู้ป่วยจะรับการรักษาเพียงหนึ่งครั้งต่อ 2 สัปดาห์ และยาริสเพอร์ดัล คอนสตา ได้รับการยอมรับในสหราชอาณาจักร เยอรมันนี เนเธอแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย เม็กซิโก และนิวซีแลนด์

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

1. องค์กรดังกล่าวไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อองค์กร หรือชื่อเมือง เผยแพร่ในข่าวประชาสัมพันธ์

2. นักจิตวิทยาที่ศึกษา คลินิเชียน เรตติ้ง สเกล (Clinician Rating Scale) ซึ่งมีจำนวน 7 สเกล ของพฤติกรรมการรับประทานยาของคนไข้ที่ได้รับตามคำสั่งแพทย์ ซึ่งจัดอันดับจาก การไม่ยอมรับ จำนวน 1 แต้ม กับการให้ความร่วมมือที่ดี จำนวน 7 แต้ม และมีจำนวน 4 แต้มหรือน้อยกว่า ที่พบว่ามีปัญหา สำหรับจุดประสงค์อื่นๆ การใช้อุปกรณ์เอ็มอีเอ็มเอส เพื่อสังเกตการณ์ นั้นเหมาะกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการบันทึกว่าขวดยาถูกเปิดกี่ครั้งต่อวัน และมีการบันทึกจำนวนครั้งของการเปิดขวดอยู่ที่ 70% หรือน้อยกว่า จากคำสั่งในการรับประทานยาของแพทย์

ริสเพอร์ดัล คอนสตา เป็นสินค้าที่จำหน่ายในหลายประเทศโดยบริษัทแจนเซ่น ซีแลก (Janssen-Cilag) เป็นบริษัทในเครือของ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลายชนิด ระดับโลก และเป็นกลุ่มบริษัทที่มีประวัติการพัฒนา และการตลาด ด้านการรักษาอาการผิดปกติทางจิต การรักษาอาการเจ็บปวด การรักษาเชื้อรา และอาการป่วยของระบบทางเดินอาหาร ผลิตภัณฑ์ชั้นนำของบริษัท เช่น เอเพร็กซ์ (Eprex) หรือตัวยาเอโพติน อัลฟา (epoetin alfa) ยาริสเพอร์ดัล ซึ่งมีตัวยาริสเพอริโดน ยาสโปราน็อกซ์ (Sporanox) ที่มีตัวยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) ดูโรเจซิก (Durogesic) หรือตัวยาทรานสเดอร์มัล เฟนทานิล (transdermal fentanyl) โทพาแม็กซ์ (Topamax) ที่มีตัวยา โทพิราเมต (topiramate) พารีเอ็ต (Pariet) หรือตัวยา ราเบพราโซล โซเดียม (rabeprazole zodium) และ เรมินนิล (Reminyl) หรือยากาลันตามีน (galantamine) สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ : www.psychiatry24x7.com หรือ www.janssen-cilag.com


ที่มา แจนเซ่น ซีแลก

ติดต่อ แพม รัสมุสเซ็น (Pam Rasmussen)

บริษัท แจนเซ่น ฟาร์มาคิวติกา (Janssen-Pharmaceutica)

โทรฯ +1-609-730-2986 อี-เมล์ [email protected]

เว็บไซต์ http://www.psychiatry24x7.com

http://www.janssens-cilag.com


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--

-วจ/พธ-