เอไอเอสตอกย้ำงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายอีกครั้งด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพเครือข่ายภายใต้มาตรฐานระดับสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--เอไอเอส เอไอเอสเดินหน้างานพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจัดซื้ออุปกรณ์ติดตาม ตรวจสอบ คุณภาพของชุมสาย และสถานีฐาน มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท ทำให้สามารถตรวจสอบพบสาเหตุของปัญหาการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทันที่แบบ Real Time ทั้งยังสามารถตรวจสอบคุณภาพการโทร.สำเร็จ (Successful Call Rate) ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นายพีรเวท กิจบูรณะ ผู้จัดการสำนักพัฒนาคุณภาพเครือข่าย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า "เครือข่ายที่ดีย่อมเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้นเอไอเอสในฐานะผู้ให้บริการจึงมีการดำเนินการด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงกว้าง หรือการขยายเครือข่ายให้มีความครอบคลุมสูงสุดในทุกพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งาน ส่วนการดำเนินการในเชิงลึกคือ การพัฒนาคุณภาพของเครือข่ายที่จะต้องยึดถือมาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์รวมไปถึงยึดถือความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการขยายศักยภาพในการรับรองการใช้งาน รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัด, มาตรการติดตาม ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพเครือข่ายไปในเวลาเดียวกันอีกด้วย" "ล่าสุดเราได้จัดซื้ออุปกรณ์ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการทำงานของเครือข่ายใน 2 ส่วนหลัก คือ 1. ชุมสาย : เป็นอุปกรณ์ที่จะคอยติดตามและเฝ้าดู (Monitoring) การเชื่อมต่อออกไปยังชุมสายของผู้ให้บริการรายอื่นตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบและทราบสถานภาพของจำนวนช่องสัญญาณว่า ทำงานได้ตามปกติและเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ในแต่ละช่วงเวลา 2. สถานีฐาน : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของสถานีฐานในลักษณะต่างๆ อาทิ ทดสอบภาครับ-ส่งของคลื่นวิทยุที่ใช้งาน, ทดสอบคลื่นรบกวนที่อาจเกิดโดยไม่รู้สาเหตุ (Interference test) รวมไปถึงการทดสอบสายเคเบิลของจานสายอากาศที่ใช้ในสถานีฐาน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดปัญหาจากเหตุที่ผิดปกติไปจากอายุการใช้งาน ทั้งนี้การจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งานของผู้ใช้บริการแต่ละรายได้ทันที โดยเฉพาะปัญหาการโทร.ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันอัตราการโทร.สำเร็จ (Successful Call Rate) โดยเฉลี่ยของผู้ใช้บริการในเครือข่ายของเอไอเอสนั้นจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 96% ซึ่งถือได้ว่าสูงกว่ามาตรฐานทั่วไปที่ตั้งไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเมื่อผู้ใช้บริการโทร.ออกไปยังนอกเครือข่ายของเอไอเอส เมื่อเกิดปัญหาการใช้งานอาจจะต้องใช้เวลาในการค้นหาสาเหตุทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นเมื่อติดตั้งอุปกรณ์นี้แล้วจะทำให้สามารถติดตาม ตรวจสอบคุณภาพของการโทร.สำเร็จของผู้ใช้บริการที่โทร.ออกไปยังเครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น รวมถึงการใช้บริการข้ามแดน (International Roaming) โดยจะสามารถแจ้งสาเหตุของปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ให้บริการรายอื่นๆ ทราบ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขร่วมกันต่อไป" นายพีรเวทกล่าวเพิ่มเติมว่า "ที่ผ่านมาแม้ว่าการบริหารและจัดการด้านเครือข่ายของเอไอเอสจะเป็นไปตามมาตรฐานขั้นสูงแล้วก็ตาม แต่จากปริมาณของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องมีการนำเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้สามารถตรวจสอบการบริหารจัดการเครือข่ายได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการมอบความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้ใช้บริการนั่นเอง ซึ่งการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้องมีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เอไอเอสจึงได้เลือกซื้ออุปกรณ์จากบริษัท ไทร์เนอร์ยี่ อินสทรูเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ Tektronix ที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำในการผลิตอุปกรณ์ตรวจสอบ, ติดตามและพัฒนาคุณภาพในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ที่ได้นำเอามาตรฐานของ International Telecom Union - Telecom : ITU-T และ European Telecommunication Standards Institute : ETSI เข้ามาเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนา Solution เพื่อติดตาม ตรวจสอบคุณภาพเครือข่ายร่วมกับเอไอเอส ดังนั้นขั้นตอนที่ดำเนินการจึงเป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการทุกราย ส่งผลให้เอไอเอสสามารถประสานงานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ในการติดตามและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว" โดยโครงการนี้จะเสร็จสิ้นในราวเดือนมีนาคม 2546 ซึ่งจะทำให้ - การแก้ปัญหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และทันทีก่อนที่ผู้ใช้บริการจะแจ้งเข้ามายังเอไอเอส - รู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดผลกระทบกับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้รวมถึงผู้ใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติ ทั้งในส่วนของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามา หรือ ชาวไทยที่เดินทางออกไปยังต่างประเทศ - สามารถเก็บข้อมูลปัญหาการใช้งานของผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที - ฯลฯ "อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพเครือข่าย ไม่ได้หมายความเพียงการจัดหาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึง ความสามารถในการผนวกงานด้านวิศวกรรมให้สอดประสานกับงานด้านบริการทั้งหมดอย่างกลมกลืน เพื่อมอบความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้ใช้บริการนั่นเอง" นายพีรเวทกล่าวในตอนท้าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักประชาสัมพันธ์ เอไอเอส โทร. 0 2299 5042--จบ-- -ขธ-

ข่าวแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส+แอดวานซ์ อินโฟร์วันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative; RWN) ของอันดับเครดิต บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท...

ฟิทช์ปรับเพิ่มอันดับเครดิต บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค เป็น 'AAA(tha)' แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) และ อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและ...