กทม. เผยผลการศึกษาโครงการฟื้นฟูสภาพน้ำคลองในเขตกทม. และสมุทรปราการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--กทม. เมื่อวานนี้ (26 ก.พ. 46) เวลา 10.30 น. ที่โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส ถ.ศรีนครินทร์ นายนารา เทวคุปต์ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ร่วมกับนายฐานิศร์ เพ็งน้อย นายอำเภอเมืองบางพลี จ.สมุทรปราการ และคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในสหภาพยุโรป แถลงข่าวผลการศึกษา "โครงการฟื้นฟูสภาพน้ำคลองในเขตกทม. และสมุทรปราการ" ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 3 ประเภท ได้แก่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมืองฮอร์เซน ประเทศเดนมาร์ก, เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี และฝ่ายไทย ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ในการนี้ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ กทม. ได้กำหนดคลองลาดพร้าวทั้งสายความยาว 22 ก.ม. ผ่านพื้นที่ 8 เขต ส่วนจังหวัดสมุทรปราการได้กำหนดคลองสำโรงเป็นพื้นที่เป้าหมาย และได้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่เดือน มี.ค. 45 - ก.พ. 46 รวม 12 เดือน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานพิเศษของสหภาพยุโรป คือ Asia Urbs โครงการฟื้นฟูสภาพน้ำคลองในเขตกทม. และสมุทรปราการ มีลักษณะเป็นโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ด้านวิชาการ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านต่างๆ ของพื้นที่เป้าหมาย ตลอดจนจัดสัมมนารวบรวมแนวคิดจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาก่อนจะขยายผลไปใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองและปรับปรุงคุรภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่บริเวณริมคลอง ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18-20 และวันที่ 25 ก.พ. 46 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการสัมมนาผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ดังนี้ วันที่ 18 ก.พ. 46 กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม และกลุ่มเดินเรือ วันที่ 19 ก.พ. 46 กลุ่มเกษตรกรรม และประมง วันที่ 20 ก.พ. 46 ประชาชน และองค์กรเอกชน วันที่ 25 ก.พ. 46 เป็นการประชุมสรุปผลการศึกษา และเผยแพร่ให้กับกลุ่มข้าราชการ และนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย ส.ก., ส.ข., ส.จ. ฯลฯ Mr.Franz Lebeth ผู้ประสานงานโครงการฯ ได้เสนอแนะแนวทางในอนาคตเพื่อการฟื้นฟูสภาพน้ำคลอง ดังนี้ 1. จัดทำสรุปผลการศึกษาจัดอภิปรายและเตรียมแนวคิดในการดำเนินงานต่อไปทั้งของกทม.และสมุทรปราการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารเมือง 2. จัดเตรียมโครงการสาธิตขนาดเล็กในคลองต่างๆ เพื่อให้ชุมชนได้เห็นผลเป็นรูปธรรม และให้ความร่วมมือต่อไป 3. หาแนวทางในการจัดหางบประมาณ ทั้งนี้ทาง Asia Urbs ไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียได้ แต่ทางกทม. และ จ.สมุทราปราการ อาจหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่น เช่น World Bank, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเสนอขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากประเทศออสเตรีย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้จากการสัมมนาผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ เมื่อวันที่ 18-20 และ 25 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น พบว่า ชุมชนริมคลอง เกษตรกร ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการให้ความร่วมมือ ฟื้นฟูสภาพน้ำคลอง รวมทั้งได้มีการริเริ่มโครงการระดับชุมชนไปบ้างแล้ว สิ่งที่ชุมชนต้องการก็คือความสนับสนุนและคำแนะนำจากภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญในโครงการนี้ได้เสนอแนะด้วยว่า การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานั้น ส่วนราชการจำเป็นต้องรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะจากชุมชนมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนา และไม่นำนโยบายของทางราชการไปกำหนดให้ชุมชนทำตาม ด้านนายนารา กล่าวว่า ปัจจุบันคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากกทม. มีโครงการบำบัดน้ำเสีย 5 โครงการในพื้นที่ต่างๆ ทั่วกทม. และกำลังดำเนินการก่อสร้างอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 ที่ดินแดง และโครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 4 ที่จตุจักร ซึ่งเมื่อทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จจะสามารถบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีก 1 เท่า คือ อีก 500,000 ลบ.ม./วัน นอกจากนี้กทม. ยังมีแผนที่จะก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียอีก 3 โครงการ คือ ที่ธนบุรี คลองเตย และหนองบอน ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จหมดทุกโครงการก็จะทำให้คุณภาพน้ำในคลองของกทม.ดีขึ้น นอกจากนี้กทม. ยังจะใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้ความร่วมมือไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่คลอง ในส่วนของการเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียนั้นทางกทม.จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบจ่ายค่าบำบัด น้ำเสีย เพื่อให้กทม. นำงบประมาณไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อไป ซึ่งขณะนี้ทางสำนักการระบายน้ำได้ยกร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ…. เสนอให้สภากทม. พิจารณา และทางสภากทม. ได้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้น พิจารณารายละเอียดก่อนจะรับหลักการ คาดว่าในสมัยประชุมหน้า ราวเดือน เม.ย. 46 จะสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติฯ ให้สภากทม. พิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 ได้--จบ-- -นห-

ข่าวโครงการความร่วมมือ+สำนักการระบายน้ำวันนี้

เมืองฝูโจวคว้าโอกาสทองจากความร่วมมือจีน-อินโดนีเซีย พร้อมเก็บเกี่ยวความสำเร็จผ่านโครงการ "Two Countries, Twin Parks"

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว เมื่อไม่นานมานี้ มะพร้าวสดน้ำหนัก 200 กิโลกรัมล็อตแรกที่จีนนำเข้าจากอินโดนีเซียเดินทางถึงสนามบินฝูโจว และถูกส่งไปยังโรงงานผลิตแปรรูปของจีนในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ " สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" ("Two Countries, Twin Parks") "สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างจีนและอินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในดินแดนของอีกฝ่าย โครงการริเริ่มดังกล่าวกลายเป็นกลไกที่ยอดเยี่ยม

หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิธีล... หัวเว่ย ผนึก ม.ศิลปากร รับแผนดึงเทคโนโลยี หนุนเป้าหมายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล — หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ...